ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ |
---|---|---|---|
1 | (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2567-2570) | นร.12 | 09/07/2567 |
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
(พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๗๐) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบราชการของไทย
โดยมุ่งเน้นการเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีความทันสมัย
พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ และยกระดับการให้บริการประชาชน
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑) วิสัยทัศน์ “ภาครัฐที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ
มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน” และมีเป้าหมายสู่การเป็น “รัฐที่ล้ำหน้าและรัฐที่เปิดกว้าง”
๒) ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ จำนวน ๓ ยุทธศาสตร์
ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์การยกระดับบริการภาครัฐโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
(๒) ยุทธศาสตร์การลดบทบาทภาครัฐและเปิดการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่น และ (๓)
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนผลิตภาพภาครัฐด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการาชการเสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการรับความเห็น ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) ไปพิจารณาประกอบการปรับปรุงแก้ไข (ร่าง)
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
ก่อนให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินภารกิจของหน่วยงานต่อไป
เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เห็นควรมีการวางระบบติดตามและประเมินผล เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานตามกลยุทธ์และแผนยุทธศาสตร์อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ (Skill) และการปรับกระบวนการทางความคิด (Mindset) ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีความพร้อม
สามารถรองรับกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย
กฎ และระเบียบ ให้มีความทันสมัย
และไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานและการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กระทรวงพลังงาน เห็นควรมีการกำหนดบทบาทและขอบเขตการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่ชัดเจน
เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน
เกิดการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริงต่อไป |