ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1 | กค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ครั้งที่ ๑
ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ตามมติที่ประชุม
ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เช่น การปรับปรุงแผนการก่อหนี้ใหม่
การบรรจุโครงการพัฒนา โครงการ
และรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕
ครั้งที่ ๑ จำนวน ๘ โครงการ/รายการ เป็นต้น
และการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ
การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ
ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๘ และตามมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
รวมทั้งอนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา
และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๕ ปรับปรุงครั้งที่ ๑ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน
เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะเสนอ และให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
(การรถไฟแห่งประเทศไทย) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นว่าควรกำกับ ติดตาม
และเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินกู้ของหน่วยงานในสังกัดให้สอดคล้องและบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนดไว้
การรถไฟแห่งประเทศไทยควรเร่งดำเนินการหารายได้จากแหล่งอื่นเพิ่มเติม
การกู้เงินควรพิจารณาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพคล่องทางการเงินในแต่ละช่วงเวลา
ควรติดตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด
รวมถึงพิจารณาประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการตรึงราคาพลังงาน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|