ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง การจ่ายเงินทดแทน | รง. | 07/01/2568 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง
การจ่ายเงินทดแทน มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินค่าทดแทนที่รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
เพื่อให้ลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจได้รับสวัสดิการที่เท่าเทียมกับลูกจ้างภาคเอกชน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมาย และร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นว่าการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นใดของพนักงานรัฐวิสาหกิจในภาพรวมควรคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสม
รวมทั้งกำหนดมาตรการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นว่าปัจจุบันมีการออกกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๗ จึงอาจมีการพิจารณาปรับอัตราตามร่างประกาศฉบับนี้ให้มีความสอดคล้องกันในระยะต่อไป ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง
การจ่ายเงินทดแทน มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินค่าทดแทนที่รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
เพื่อให้ลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจได้รับสวัสดิการที่เท่าเทียมกับลูกจ้างภาคเอกชน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมาย และร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นว่าการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นใดของพนักงานรัฐวิสาหกิจในภาพรวมควรคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสม
รวมทั้งกำหนดมาตรการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นว่าปัจจุบันมีการออกกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๗ จึงอาจมีการพิจารณาปรับอัตราตามร่างประกาศฉบับนี้ให้มีความสอดคล้องกันในระยะต่อไป
|