ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิทธิในการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบให้มีสิทธิได้รับการตรวจสุขภาพโดยหน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียน
๓ กรณี ได้แก่ การตรวจสุขภาพแรกเข้าทำงานภายในสามสิบวันและตรวจสุขภาพเป็นระยะ
การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงานหลังจากเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
และการตรวจสุขภาพกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ เช่น กระทรวงแรงงาน เห็นควรกำหนดให้กฎกระทรวงฯ
มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และควรมีการระบุลักษณะการประกอบอาชีพอื่นที่ควรเฝ้าระวังด้วย เช่น
โรคที่เกิดจากรังสีแตกตัว โรคหูเสื่อมจากเสียงดัง และโรคติดเชื้อจากสัตว์ เป็นต้น สำนักงาน ก.พ.ร.
เห็นควรพิจารณาให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้เร็วกว่าที่กำหนด
และกระทรวงสาธารณสุขต้องมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมได้ทราบถึงบทบาทของหน่วยบริการที่จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขภายหลังจากกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับโดยเร็ว
รวมถึงควรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการตรวจสุขภาพของแรงงานนอกระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขอาจพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมที่จะให้แรงงานต่างด้าวซึ่งมีจำนวนมากและเป็นสัดส่วนที่สูงของแรงงานทั้งหมดในประเทศไทย
สามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงมากขึ้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นควรมีการสื่อสารสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนผู้เป็นแรงงานนอกระบบ
เพื่อให้รับรู้ถึงสิทธิการตรวจสุขภาพ รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้อง
|