ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. .... | รง. | 03/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการเป็นผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาต คุณสมบัติของผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ได้รับใบอนุญาต
การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การสั่งพักใช้การเพิกถอนใบอนุญาต
และการกำหนดและยกเว้นค่าธรรมเนียม ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย ไปประกอบการพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เห็นควรพิจารณาขอบเขตงานในกฎกระทรวง
หรือระเบียบ ข้อบังคับ ที่ผู้ชำนาญการจะสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ให้ทับซ้อนกับผู้ปฏิบัติการในระดับชำนาญการของหน่วยงาน
ควรมีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานอื่นและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ
เพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนที่จะบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป สภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย เห็นควรเสนอให้ปรับ
หมวด ๑ การขออนุญาตและการอนุญาต ข้อ ๕ ข้อ (๗) (๘) และ (๙) ของร่างกฎกระทรวงฯ นี้
ให้ปรับเป็น ข้อ ๕ (๗) ข้อเดียว คือ มีคุณสมบัติเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระดับชำนาญการ
โดยให้อ้างผู้ชำนาญการตามข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หมวด ๒ ข้อ ๙ ระดับชำนาญการ และข้อ ๑๑
|