ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การเสนอร่างแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย วาระปี 2566 - 2570 และร่างบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทยวาระปี 2566 - 2570 | รง. | 27/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย
(Decent Work Country Program :
DWCP) (ร่างแผนงาน DWCP) วาระปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ และร่างบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย
วาระปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ และให้ปลัดกระทรวงแรงงานหรือผู้แทน
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย
วาระปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ในฐานะรัฐบาลไทยร่วมกับผู้แทนองค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง
และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยร่างแผน DWCP วาระปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐
เป็นกรอบความร่วมมือที่มีประเด็นสำคัญ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) อนาคต (Future) พัฒนาตลาดแรงงานไทยให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (๒) เข้าถึง (Reach)
รับรองการคุ้มครองทางสังคมและงานที่มีคุณค่าที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน
และ (๓) เชื่อมต่อ (Connect) เสริมความแข็งแกร่งในการจัดการข้อมูล
การสื่อสาร และศักยภาพของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมงานที่มีคุณค่า
และร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อพัฒนาตลาดแรงงานไทยให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมและเพียงพอสำหรับแรงงานทุกคน
รวมทั้งยึดถือประเด็นสำคัญ ๓ ประการ ตามแผนงาน DWCP ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย
วาระปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐
และร่างบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย
วาระปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่เห็นว่าหากมีภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน ในโอกาสแรกก่อนสำหรับปีงบประมาณต่อ ๆ ไป และเห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจความจำเป็นและเหมาะสม
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป และควรเพิ่มเติมในส่วนของ “การพัฒนา”
ที่เน้นการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคมเชิงพื้นที่ ซึ่งจะทำให้แผนงานฯ ฉบับนี้
มีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐) พร้อมทั้งตอบประเด็นสำคัญของแผนงานฯ ฉบับนี้ ในประเด็นความสำคัญที่ ๑
อนาคต (Future) พัฒนาตลาดแรงงานไทยให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และประเด็นความสำคัญที่ ๒ เข้าถึง (Reach) รับรองการคุ้มครองทางสังคมและงานที่มีคุณค่าที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน ควรสร้างแนวทางการแปลงแผนงานฯ ฉบับนี้
ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งควรสร้างแนวทางการแปลงแผนงานฯ เพื่อคุ้มครอง
“แรงงานแพลตฟอร์ม” ซึ่งปัจจุบันยังขาดทั้งกฎหมายและคำนิยามที่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานะของผู้ใช้แรงงานแพลตฟอร์ม
ทำให้ขาดอำนาจในการต่อรอง กฎหมาย และกองทุนให้ความคุ้มครองแรงงานดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
.....