ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ |
---|---|---|---|
1 | รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2565) | ยธ. | 21/11/2566 |
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕) แผนสิทธิมนุษยชนฯ เป็นเครื่องมือ กลไก และมาตรการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการส่งเสริม
ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำและขับเคลื่อนแผนดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง
โดยแผนสิทธิมนุษยชนฯ ประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม จำนวน ๒,๔๐๙ โครงการ มีโครงการที่ทำเสร็จ
จำนวน ๑,๘๓๗ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๒๖
และมีผลการดำเนินการในภาพรวม โดยมอบหมายกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ)
รับผิดชอบกำหนดแนวทาง วิธีการ รายงานผล และแบบรายงาน ทั้งนี้
เมื่อสิ้นสุดวาระการบังคับใช้แผนฯ กระทรวงยุติธรรมจึงได้รวบรวมข้อมูล
และจัดทำรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนฯ
เพื่อแสดงถึงพัฒนาการความก้าวหน้า ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม
ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์และสร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ดำเนินการผลักดัน
(ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
โดยอีกหลายกลุ่มไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิบางประการ เช่น การกำหนดสถานะของบุคคล
การมีสิทธิอาศัยและใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งมีการทับซ้อนกับพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของทางราชการที่ไม่สามารถอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมาย
และการขาดโอกาสการเข้าถึงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน เป็นต้น ควรพิจารณากำหนดตัวชี้วัดในภาพรวม
อาทิ ดัชนีเสรีภาพ (Freedom in the world) พร้อมทั้งกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดแต่ละด้านให้ชัดเจน
เพื่อให้การติดตามประเมินผลสามารถสะท้อนความก้าวหน้าและผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศอย่างแท้จริง
วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับสนธิสัญญา/อนุสัญญาระหว่างประเทศ
ปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน และมีกลไกติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า
(Early warning) ในกรณีที่พบความเสี่ยงหรือปัญหาจากการดำเนินงาน
และหาแนวทางลดความเสี่ยงหรือแก้ไขได้ทันสถานการณ์
เพื่อให้การพัฒนางานด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |