ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอความเห็นชอบและรับรองต่อเอกสารผลลัพธ์ในระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 | พณ. | 02/05/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
และร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต
ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในภูมิภาค
เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการปล่อยคาร์บอน
เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในภูมิภาค
ส่วนร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต
ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เป็นเอกสารที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินการเข้าเป็นภาคีตามความตกลงของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก่อนการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างสมบูรณ์
โดยติมอร์-เลสเต ต้องมีความพร้อมในการดำเนินการตามความตกลงและตราสารสำหรับเสาประชาคมเศรษฐกิจภายในร่างภาคผนวกรวม
๒๒๐ ฉบับ แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ได้แก่ ๑) ต้องมีความพร้อมในการเข้าร่วมทันที จำนวน
๖๖ ฉบับ ๒) ต้องเข้าร่วมภายใน ๒ ปี
หลังเป็นสมาชิกอาเซียน จำนวน ๔๘ ฉบับ และ ๓) ต้องเข้าร่วมภายใน ๕ ปี
หลังเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน จำนวน ๑๐๖ ฉบับ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค
และร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต
ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรประชาสัมพันธ์สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ
รวมถึงแนวทางและมาตรการที่คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะกำหนดขึ้นในอนาคตอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากร่างปฏิญญา และมาตรการต่าง
ๆ ได้อย่างเหมาะสม เร่งศึกษาโอกาส ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
และแนวทางการเตรียมความพร้อมของไทย
เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบความร่วมมือของอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะความตกลงที่ติมอร์-เลสเตจะเข้าร่วมทันทีเมื่อภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนตามร่างภาคผนวกฯ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|