ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ |
---|---|---|---|
1 | การแก้ปัญหาส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน) | สกพอ. | 27/09/2565 |
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมที่ดิน
และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการแก้ไข ทบทวน
หรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา
๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการขอใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน อนุญาตให้ใช้ไม่เกิน ๕ ปี
นับแต่วันออกใบอนุญาต และการห้ามไม่ให้ขุดพื้นดินลึกจากพื้นดินทั่วไปเกินกว่า ๕
เมตร
เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสามารถดำเนินการขออนุญาตการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
[Environmental Impact Assessment
(EIA)] และขออนุญาตก่อสร้างได้ในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการขอถอนสภาพตามมาตรา
๘ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งนี้
สำหรับการขอใช้และการขอถอนสภาพลำรางสาธารณประโยชน์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติปัจจุบันนั้น
เมื่อได้มีการปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ
และมีผลใช้บังคับแล้วให้สามารถใช้แนวทางปฏิบัติตามระเบียบใหม่ไปดำเนินการต่อเนื่องได้
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
การรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด
เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าของการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ
และกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในภาพรวม
และควรมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประสานกับกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้สามารถมอบที่ดินได้ตามสัญญา
โดยการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวควรให้ความสำคัญกับการดำเนินการภายใต้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน
เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ภายใตแนวคิดดังกล่าวของประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |