ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ |
---|---|---|---|
1 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... | ดศ. | 01/02/2565 |
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ในการดำเนินการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกันของหน่วยงานของรัฐ
เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำหนดให้มีแพลตฟอร์มกลางเป็นช่องทางรับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าวปลอมเพียงระบบเดียว
ให้มีการกำหนดกระบวนการ รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมายกับข่าวปลอมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ชัดเจน
ควรแก้ไข ร่างข้อ ๗ เป็น “มท.
จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์ประจำจังหวัดขึ้น
โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด
...” ให้มีการกำหนดรายละเอียดของนิยามตามร่างระเบียบฯ
ของขั้นตอนการปฏิบัติให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ คำว่า “เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม”
เพื่อลดปัญหาการตีความ และเป็นการสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติตามร่างระเบียบฯ
ดังกล่าวต่อไป และคำว่า “ข่าวปลอม” ตามข้อม ๓ ควรเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า
ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลปลอมหมายความว่าอย่างไร และอาจพิจารณาเพิ่มเติมว่า “ข้อมูลที่บิดเบือน”
เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๔ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่เห็นว่าการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบและดำเนินคดีผู้เผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมควรดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวังมิให้เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
ร่างข้อ ๖
ควรเพิ่มข้อความให้สามารถใช้กลไกของหน่วยงานด้านสื่อประชาสัมพันธ์เดิมที่กระทรวงมีอยู่มาดำเนินการได้
ระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงความเหมาะสมแก่กรณี เร่งสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้สื่อทุกคน
ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยาม ขอบเขต
และกระบวนการดำเนินงานให้เกิดความชัดเจน
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |