ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แนวทางการประชุมคณะรัฐมนตรีและการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี | นร.05 | 07/09/2567 | ||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบการกำหนดวิธีการประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑.๑ วัน
เวลา และสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๑.๑
จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการกรณีปกติในทุกวันอังคาร ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐
น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุม ๕๐๑ ตึกบัญชาการ ๑ ทำเนียบรัฐบาล ๑.๑.๒
การประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีปกติอาจเปลี่ยนแปลงวัน เวลา
และสถานที่ได้ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ๑.๑.๓
การประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีปกติจะดำเนินการโดยเชิญรัฐมนตรีมาเข้าร่วมประชุม ณ
สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๑.๑.๑ หรือข้อ ๑.๑.๒ ๑.๒
องค์ประกอบของการประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๒.๑
องค์ประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๒.๑.๑
การประชุมคณะรัฐมนตรีในกรณีปกติให้ดำเนินการได้เมื่อมีรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนคณะรัฐมนตรีทั้งหมดที่มีอยู่โดยจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมให้รวมถึงผู้เข้าร่วมประชุมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสามารถปรึกษาหารือกันได้แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน
๑.๒.๑.๒
ในกรณีจำเป็นเพื่อเป็นการรักษาประโยชน์สำคัญของประเทศหรือมีกรณีฉุกเฉินหรือเพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับ
นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาเรื่องใดกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตามที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อมีมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นได้
และเมื่อมีการประชุมเป็นกรณีปกติให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวด้วย ๑.๒.๒
ผู้เข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย
๑.๒.๒.๑ ข้าราชการการเมืองได้แก่ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
๑ ๒.๒.๒ ข้าราชการประจำระดับสูง ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ดำรงตำแหน่งตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ๑.๒.๓
ฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วย
๑.๒.๓.๑ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
๑.๒.๓.๒ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย) ปฏิบัติหน้าที่ในการนำเสนอระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
๑.๒.๓.๓ เจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย)
ปฏิบัติหน้าที่ในห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๓ ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี
ประกอบด้วย ๑.๓.๑
เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุม ๑.๓.๒
เรื่องวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ถ้ามี) ๑.๓.๓
เรื่องเพื่อพิจารณา ๑.๓.๔
เรื่องเพื่อทราบ (หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ) ๑.๓.๕
เรื่องเพื่อทราบ ๑.๓.๖
เรื่องอื่น ๆ ๑.๔
ประเภทแฟ้มระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย ๑.๔.๑
เรื่องเพื่อพิจารณา แฟ้มสีชมพู ๑.๔.๒
เรื่องเพื่อทราบ (หากไม่มีข้อทักท้วงฯ) แฟ้มสีส้ม ๑.๔.๓
เรื่องเพื่อทราบ แฟ้มสีฟ้า ๑.๕
การจัดส่งระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ
พร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คณะรัฐมนตรีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑ วัน ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี
โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ ให้คณะรัฐมนตรี ดังนี้ ๑.๕.๑
การประชุมคณะรัฐมนตรีในกรณีปกติทุกวันอังคาร จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ (ปกติ) ให้คณะรัฐมนตรีภายในวันศุกร์
และจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ (เพิ่มเติม) ภายในวันจันทร์ ส่วนระเบียบวาระการประชุมฯ
(วาระจร)
จะจัดส่งในวันประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบเรียกดูระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยเครื่องแท็บเล็ต
(M-VARA) เท่านั้น ๑.๕.๒
กรณีที่มีการเลื่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมให้คณะรัฐมนตรีล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
๑ วันก่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ ในระบบ M-VARA อีกช่องทางหนึ่งด้วย ๑.๖
คณะกรรมการรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจะแต่งตั้งคณะบุคคลประกอบด้วย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและบุคคลอื่นที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่จะพิจารณาเพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องใดก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีก็ได้
เพื่อให้เรื่องที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ และประหยัดเวลาการประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๗
การลาประชุมคณะรัฐมนตรี
ให้รัฐมนตรีแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อแจ้งให้นายกรัฐมนตรีและที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบ
ซึ่งรวมถึงกรณีการลาประชุมเป็นช่วงเวลาหรือกรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมจนการประชุมสิ้นสุดได้ ๑.๘
สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเปิดเผย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดทำสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกครั้งที่มีการประชุม
โดยจะจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และถ่ายโอนข้อมูลไปยังระบบ M-VARA แล้วแจ้งให้รัฐมนตรีทราบ กรณีมีข้อทักท้วงหรือแก้ไขประการใด
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว ๒.
เห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการรักษาความลับของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
และการให้ข่าวสารแก่สื่อมวลชน ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ โดยให้รัฐมนตรี
เจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรีถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด
ดังนี้ ๒.๑
ให้รักษาความลับหรือเอกสารของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรีตามประเภทชั้นความลับที่ได้กำหนดไว้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ลับที่สุด ลับมาก และลับ
ซึ่งหากความลับดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนรั่วไหลไปถึงบุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ได้ทราบจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งรัฐ
ดังนั้น กรณีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรีหรือรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตามเงื่อนไขที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนดตามนัยมาตรา
๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ๒.๒
การพิจารณาหารือหรืออภิปรายของคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีให้ถือเป็นความลับของทางราชการ
ดังนั้น รัฐมนตรีทุกท่าน ผู้เข้าร่วมการประชุม
และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
พึงระมัดระวังและไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ
เกี่ยวกับเรื่องที่พิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ๒.๓
ในการจัดทำระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี
หากหน่วยงานเจ้าของเรื่องเห็นว่าเรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่มีชั้นความลับ
มีความอ่อนไหวและมีผลกระทบสูงเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ
ความมั่นคง ประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์ของประเทศชาติ หากถูกนำไปเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์ของชาติอย่างร้ายแรงให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องระบุไว้ในหนังสือนำส่งเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ชัดเจนว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีชั้นความลับ
มีความอ่อนไหว และมีผลกระทบสูงอย่างไร หรือหากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า
เป็นเรื่องที่เข้าลักษณะดังกล่าว
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดทำระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยจะแจกเอกสารระหว่างการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในระบบ
M-VARA และหลังจากพิจารณาแล้วเสร็จจะถอนเรื่องดังกล่าวออกจากระบบ
M-VARA ทันที ๒.๔ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดูแลและระมัดระวังมิให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารการประชุมคณะรัฐมนตรีเปิดเผยเอกสารดังกล่าวก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ๒.๕
กรณีมีผู้นำเอกสารหรือข้อความซึ่งเป็นความลับของทางราชการไปเผยแพร่จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
หรือเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่ได้รับความเสียหายพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
(เช่น
กรณีข้าราชการพลเรือนฝ่าฝืนข้อปฏิบัติและถือเป็นผู้กระทำผิดวินัยหรือกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง)
อนึ่ง ตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๔
ได้วางหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมในเรื่องการรักษาความลับของทางราชการไว้เช่นเดียวกัน
กล่าวคือ ตามข้อ ๗ (๓)
กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ
โดยอย่างน้อยต้องไม่นำข้อมูลข่าวสาวอันเป็นความลับของทางราชการซึ่งตนได้มาในระหว่างอยู่ในตำแหน่งไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เอกชนทั้งในระหว่างการดำรงตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่ง
และข้อ ๘ (๕) กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องรักษาความลับของราชการ
เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย ๒.๖ เรื่องใดที่มีผลกระทบต่อประชาชนหรือประเทศชาติโดยส่วนรวม
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติแล้ว ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่รับผิดชอบเป็นหน่วยงานหลักชี้แจงต่อสาธารณชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงเพิ่มเติมให้เป็นใปในทิศทางเดียวกัน
กรณีเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหรืออนุมัติตามมติของคณะกรรมการต่าง ๆ
แล้ว
ให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการชี้แจงในทำนองเดียวกันด้วย ๒.๗
ให้โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่และอำนาจในการให้ข่าวสารเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
มติคณะรัฐมนตรี การดำเนินงานของคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือกระทรวง กรม ตลอดจนชี้แจงเมื่อปรากฏว่ามีการเสนอข่าวคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง
หรือไม่ถูกต้อง ครบถ้วน อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคลากรหรือรัฐบาล
หรือการปฏิบัติผิดพลาดได้ ทั้งนี้ อาจขอให้โฆษกกระทรวงเป็นผู้แถลงข่าวหรือออกคำชี้แจงเอง
หรือร่วมกันแถลงข่าว หรือชี้แจงด้วยก็ได้ ๓.
เห็นชอบแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
ดังนี้ ๓.๑
การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๘ และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ.
๒๕๔๘ อย่างเคร่งครัด ดังนี้ ๓.๑.๑
ผู้ลงนามในหนังสือนำส่งเรื่อง ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องดำเนินการให้เป็นไปตามนัยมาตรา
๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘
ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้ลงนามเสนอเรื่อง ๓.๑.๒
กรณีเรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นก่อน
(ตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๙)
ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องขอความเห็นชอบหรือขออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้เสร็จสิ้นก่อน
แล้วจึงส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพร้อมกับความเห็นชอบหรือคำอนุมัตินั้น ๓.๒
กรณีเป็นเรื่องที่มีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการอย่างชัดเจน
ซึ่งหน่วยงานเจ้าของเรื่องทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว เช่น
เรื่องเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติ ให้เสนอเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก่อนถึงระยะเวลาที่กำหนดของเรื่องนั้น
ๆ อย่างน้อย ๑๕ วัน สำหรับกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วน
ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอย่างน้อย ๗
วัน ก่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี
|