ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ |
---|---|---|---|
1 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น และกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. .... | ยธ. | 08/08/2566 |
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น
และกำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพื้นที่ทดลองเพราะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่นและเห็ดขี้ควายเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
รวมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูกและสาระสำคัญจากพืชดังกล่าว
โดยอาศัยอำนาจในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๕ วรรคสอง
แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ส. เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด และการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด จะกำหนดพื้นที่เพื่อดำเนินการศึกษาทดลองเพาะปลูกพืชที่เป็นยาเสพติด
ผลิตและทดสอบเกี่ยวกับยาเสพติดได้ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในส่วนพื้นที่เพาะปลูกและสกัดสารสำคัญ
จากพืชเห็ดขี้ควายในมาตรา ๖ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมการดำเนินการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญ
ต้องตรวจสอบการทดลองเพาะปลูกและสกัดสาระสำคัญ
ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมพืชดังกล่าว ควรให้มีการรวบรวมข้อมูล สถิติ
ปริมาณการเพาะปลูก การผลิต โดยให้สอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการวิจัยงบประมาณที่ใช้
สรุปผลการวิจัย ความคุ้มค่า ประโยชน์ที่ได้รับ ความคืบหน้า ทางการวิจัย
ปริมาณที่นำไปใช้ในการศึกษา วิจัย รวมถึงส่วนที่คงเหลือหรือทำลาย
โดยให้รายงานข้อมูลไปยังเลขาธิการ ป.ป.ส. เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ปริมาณการผลิต
การนำไปใช้และประโยชน์ในภาพรวมของทุกพื้นที่ เพื่อกำหนดมาตรการ ควบคุม
การตรวจสอบรวมถึงแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และควรพิจารณาเพิ่มเติมการจัดทำบัญชีรับจ่ายพืชเสพติดและระยะเวลาในการรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้อนุญาต
การตรวจสอบวิเคราะห์ ปริมาณสารสำคัญ โดยเฉพาะสารปนเปื้อน
การมีฉลากและเอกสารกำกับบรรจุภัณฑ์ผลผลิตที่เกิดขึ้น และการจัดให้มีระบบติดตามและตรวจสอบย้อนกลับ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการควบคุมกำกับการทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจาดฝิ่นและเห็ดขี้ควาย
ก่อให้เกิดบรรทัดฐานเดียวกันกับการควบคุมกำกับ ดูแล การใช้ประโยชน์พืชเสพติดอื่น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ |