ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาไทย-ตุรกี ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งราชอาณาจักรไทยและสภาอุดมศึกษาแห่งสาธารณรัฐตุรกี | อว. | 24/01/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาไทย-ตุรกี
ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (Draft Memorandum of Understanding of Cooperation in the
Field of Higher Education between Ministry of Higher Education, Science,
Research and Innovation of the Government of the Kingdom of Thailand and The
Council of Higher Education of the Republic of Turkiye) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมจะใช้บันทึกความเข้าใจฯ
เป็นหัวข้อในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-ตุรกี
ครั้งที่ ๔ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ มกราคม ๒๕๖๖ ณ กรุงอังการา
สาธารณรัฐตุรกี และเมื่อมีการดำเนินการตามกระบวนการและมีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ
แล้ว บันทึกความเข้าใจฯ จะเป็นหนึ่งในผลลัพธ์สำคัญของการประชุมร่วมฯ ไทย-ตุรกี
ดังกล่าวด้วย ซึ่งร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือในระดับสถาบันสำหรับคู่ภาคีเพื่อจัดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศ
โดยมีสาระสำคัญ เช่น (๑) ขอบเขตความร่วมมือ
(คู่ภาคีจะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและการฝึกงานของนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศภายใต้โครงการที่กำหนด)
(๒) หลักสูตร
(คู่ภาคีจะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งการดำเนินการและการพัฒนาหลักสูตรร่วมในระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอกระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศ
ตามกฎหมายและระเบียบของประเทศของตน) (๓) การรับนักเรียนทุน (คู่ภาคีอาจส่งและรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของตนภายใต้กรอบของกฎหมายของประเทศของตนและวิธีการที่ภาคีเห็นชอบร่วมกัน)
(๔) ระยะเวลา (มีผลบังคับใช้วันที่ลงนามครั้งสุดท้าย และมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา
๔ ปี) (๕) การแก้ไข (สามารถแก้ไขได้ทุกเมื่อโดยความยินยอมร่วมกันของคู่ภาคี) (๖)
การยกเลิก
(ต้องได้รับความยินยอมร่วมกันของคู่ภาคีโดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า
๖๐ วัน) (๗) การระงับข้อพิพาท
(ให้ได้รับการแก้ไขอย่างฉันมิตรโดยการปรึกษาหารือและการเจรจาระหว่างคู่ภาคี)
เป็นต้น และอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|