ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้ท่อน ไม้แปรรูป และไม้ล้อมบางชนิด เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง ในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. .... | พณ. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้ไม้พะยูงเป็นสินค้าที่ต้องห้าม ให้ไม้ท่อน ไม้แปรรูป
และไม้ล้อมบางชนิด เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต และให้สิ่งประดิษฐ์ของไม้และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง
ในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงมาตรการการส่งออกโดยกำหนดให้
๑) ไม้ท่อน (ไม้ฟืน ไม้เสาเข็ม และไม่เสารั้ว) ไม้แปรรูป (ไม้ซีก ไม้หมอนรถไฟหรือรถราง
และไม้ปาร์เกต์) และไม้ล้อมบางชนิด (ต้นจำปีป่า ต้นประดู่ และต้นจันทร์หอม)
เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต ๒) สิ่งประดิษฐ์ของไม้ (ตู้ เตียง เก้าอี้)
และถ่านไม้เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรอง ๓) ให้ไม้พะยูง (ไม้พะยูงท่อน
ไม้พะยูงแปรรูป ไม้พะยูงล้อม และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้พะยูง)
เป็นสินค้าห้ามส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และ ๔) ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ รวม ๒
ฉบับ ได้แก่ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งถ่านไม้ออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ.
๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙ และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ไม้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นควรขอความอนุเคราะห์กรมการค้าต่างประเทศจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมป่าไม้ และกรมศุลกากร เพื่อพิจารณากำหนดรหัสสถิติใหม่
โดยหลักเกณฑ์การกำหนดรหัสสถิติต้องมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของสินค้านั้น ๆ
ว่ายังคงมีการค้าอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ มากน้อยเพียงใด และควรอ้างถึงมาตรา ๕ (๑)
(๒) และ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าฯ
และตัดการอ้างถึงมาตรา ๕ (๖) ออก
เนื่องจากมิได้เป็นการกำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบในการส่งออก
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงการต่างประเทศ ที่เห็นควรขอความอนุเคราะห์กรมการค้าต่างประเทศจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมป่าไม้ และกรมศุลกากร เพื่อพิจารณากำหนดรหัสสถิติใหม่
โดยหลักเกณฑ์การกำหนดรหัสสถิติต้องมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของสินค้านั้น ๆ
ว่ายังคงมีการค้าอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ มากน้อยเพียงใด และพิจารณาซักซ้อมความเข้าใจล่วงหน้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศเพื่อนบ้านที่รับผิดชอบเรื่องการนำเข้าและส่งออก
ก่อนประกาศมีผลบังคับใช้ เพื่อให้มีการปรับตัว
และสามารถปฏิบัติตามมาตรการใหม่อย่างถูกต้อง ไปพิจารณาต่อไปด้วย
|