ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ข้อเสนอหลักการกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม | ป.ย.ป. | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอหลักการกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
เป็นการกำหนดให้มีหลักการกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์มซึ่งมีหลักการที่สำคัญ ได้แก่
ให้ผู้ประกอบธุรกิจแฟลตฟอร์มอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเหมาะสมผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิในการใช้บริการแพลตฟอร์ม
ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลมีความร่วมมือและมีแนวทางการกำกับดูแลที่สอดคล้องกัน
มีการกำหนดหน้าที่พื้นฐานของผู้ประกอบธุรกิจทุกกลุ่มที่ต้องปฏิบัติกำหนดให้มีวิธีการหรือระบบที่สามารถรับแจ้งการกระทำความผิดหรือการใช้ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย
มีการกำกับดูแลสัญญาระหว่างผู้ให้บริการสัญญาแพลตฟอร์มและผู้ใช้บริการ
รวมทั้งมีการรักษาความเป็นธรรมในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
เพื่อให้มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม มีการคุ้มครองผู้บริโภค
และกำหนดบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปองดองเสนอ และให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปองดองกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่องร่างกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
และดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายดังกล่าว
ตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.
๒๕๖๒ ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ที่เห็นว่าในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องปฏิบัติ
ควรพิจารณากำหนดการปฏิบัติที่สอดคล้องและไม่ซ้ำซ้อนกับหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจที่มีการกำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมายอื่นด้วย
ควรพิจารณาถึงความเชื่อมโยงกับกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
กำหนดมาตรการและกลไกการบังคับใช้ที่เหมาะสม
และเมื่อมีการจัดทำร่างกฎหมายหรือมีการออกกฎหมายอนุบัญญัติเพื่อขยายความในกฎหมายดังกล่าวแล้ว
ควรมีการหารือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ
และเกิดความเข้าใจร่วมกัน ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเพื่อจัดทำร่างกฎหมายต่อไป
|