ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับสินเชื่อภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 | กค. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบในหลักการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ดังนี้ ๑.๑ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft
Loan Extra เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ที่ได้รับสินเชื่อภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่จะครบกำหนดเวลาการชำระหนี้คืนให้ยังคงได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้สามารถประคับประคองกิจการและพยุงการจ้างงานภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอน
สำหรับภาระงบประมาณของโครงการ จำนวน ๑๕,๗๕๐ ล้านบาท ประกอบด้วย
การชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยในอัตราไม่เกินร้อยละ ๑๖ ของวงเงินอนุมัติค้ำประกัน
(ร้อยละ ๑๖ ของวงเงิน ๙๐,๐๐๐ ล้านบาท) จำนวน ๑๔,๔๐๐ ล้านบาท
และค่าชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน (ร้อยละ ๑.๕ ของวงเงิน ๙๐,๐๐๐ ล้านบาท) จำนวน
๑,๓๕๐ ล้านบาท ตลอดอายุโครงการไม่เกิน ๘ ปี
เห็นควรให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
โดยในส่วนของการชดเชยค่าประกันชดเชยรายปี ขอให้ บสย.
ใช้เงินรายได้จากค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อของโครงการก่อน
หากไม่เพียงพอจึงขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ๑.๒
การปรับปรุงการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio
Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan พลัสเพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ
SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ Soft Loan พลัส
ให้มีสภาพคล่องเพิ่มเติมในการดำเนินกิจการในช่วงที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง สำหรับภาระงบประมาณของโครงการเป็นการชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน
จำนวน ๑๐๔.๒๗ ล้านบาท (ร้อยละ ๑.๕ ของวงเงิน ๖,๙๕๑ ล้านบาท) เห็นควรให้ บสย.
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
โดยให้ บสย. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบเพื่อควบคุมสัดส่วนของภาระค้ำประกันที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(Non-Performing Guarantee : NPG) โดยพิจารณาสัดส่วนการชดเชยภาระค้ำประกันและอัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่เหมาะสม
และจัดทำประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดอย่างถูกต้องครบถ้วนและเป็นรูปธรรม ๒. ให้กระทรวงการคลัง
โดย บสย. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรการดำเนินมาตรการค้ำประกันสินเชื่อโดยการขอรับการชดเชยจากรัฐบาลภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ และภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๔ ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเห็นควรให้ บสย.
เริ่มดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan Extra ให้ทันกับการทยอยครบกำหนดเวลาชำระคืนหนี้ที่จะเริ่มครบกำหนดในวันที่
๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|