ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน | กค. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาการขอจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
ตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังที่เห็นว่า ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับเงื่อนไขของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปดำเนินการต่อไป
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า การกำหนดระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล
งบประมาณ การพัสดุ รวมถึงค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘
หรือกฎหมายอื่นใดที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกองทุนฯ
มีความคุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ และข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ๑) กรณีจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและส่งเสริมการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ
จะต้องเป็นไปตามความจำเป็นในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
ก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของกองทุนดังกล่าวจะต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกับภารกิจในลักษณะเดียวกับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒) สำหรับแหล่งเงินจากภาครัฐที่จะนำมาใช้จ่ายจะต้องเป็นไปเท่าที่จำเป็น
โดยสถาบันอุดมศึกษาพึงจัดสรรงบประมาณเงินรายได้ทั้งภาครัฐและเอกชน
เพื่อการบริหารจัดการกองทุนเป็นลำดับแรก รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเป็นสำคัญ
ตลอดจนจะต้องไม่กำหนดวงเงินทุนประเดิมไว้เป็นการเฉพาะในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว
ทั้งนี้ ควรใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษี
และกำหนดให้บุคคลผู้บริจาคทรัพย์ส่งเข้ากองทุนได้รับประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี
อันจะนำไปสู่การแบ่งเบาภาระของภาครัฐในภาพรวมยิ่งขึ้น และ ๓)
ควรจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของกองทุน
โดยกำหนดรอบการประเมินอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์สูงสุดที่ภาครัฐและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|