ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. .... | รง. | 09/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน
และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเลเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างเจ้าของเรือกับคนประจำเรือ
กำหนดแนวทางกรณีเจ้าของเรืออาจปิดงานหรือคนประจำเรืออาจนัดหยุดงาน กำหนดกรณีเจ้าของเรือมีการฝ่าฝืนตามมาตรา
๙๔ อาทิ ห้ามเจ้าของเรือเลิกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ
อันเป็นผลให้คนประจำเรือไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้เพราะเหตุคนประจำเรือมีการรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์
หรือรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรของตน คนประจำเรืออาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานทางทะเลเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานศาลยุติธรรมเกี่ยวกับกรณีบทนิยามคำว่า
“พนักงานเจ้าหน้าที่” ตามข้อ ๓ (๑) และข้อ ๕ วรรคท้าย ที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย
และรับแจ้งการปิดงาน หรือนัดหยุดงาน
เห็นควรนิยามให้ชัดเจนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน
กรณีร่างกฎกระทรวงข้อ ๓ (๒) กำหนดว่า
“ตกลงกันนำข้อพิพาทแรงงานทางทะเลที่ตกลงกันไม่ได้นั้น ไปเจรจาตกลงกันเอง”
อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นได้ และกรณีร่างกฎกระทรวงข้อ ๕
ห้ามมิให้เจ้าของเรือปิดงาน
หรือคนประจำเรือนัดหยุดงานในระหว่างที่มีการเดินเรือทางทะเล
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตามมาตรา ๗๗ จะนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๙๒ วรรค ๓
ได้หรือไม่ และในกรณีตามข้อ ๓ (๒) ถ้าไม่สามารถที่จะตกลงกันได้กลายเป็นข้อพิพาทแรงงานทางทะเลที่ตกลงกันไม่ได้จะสามารถปิดงานหรือนัดหยุดงานได้หรือไม่
เพราะกรณีตามข้อ ๓ (๒) ไม่อยู่ในเงื่อนไข หลักเกณฑ์ของข้อ ๕ (๒)
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรเร่งรัดสร้างการรับรู้ให้กับคนประจำเรือและเจ้าของเรือ
รวมทั้งติดตามและประเมินผลภายหลังการบังคับใช้ เพื่อให้การนำร่างกฎกระทรวงดังกล่าวสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|