ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 27 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สินค้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ 1) | กค. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยขยายระยะเวลาการใช้บังคับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน
๑๐ คน (ประเภทที่ ๐๖.๐๑ และ ๐๖.๐๒) แบบประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล รุ่นที่ ๑ (ECO Car Phase ๑) ในอัตราร้อยละ ๑๔ ออกไปอีก ๒ ปี
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๘ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) | ศอบต. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๗
ให้แก่ประชาชน (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) ดังนี้ (๑)
แก้ไขปัญหาความยากจน (๒)
ยกระดับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้กับรัฐติดชายแดนไทยของมาเลเซียสู่การเป็นเมืองคู่แฝด
(Twin cities) (๓) จัดตั้งโรงพยาบาลจิตเวชครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยเป็นโรงพยาบาลขนาด ๒๐๐ เตียง ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส (๔) ยกระดับการศึกษาระดับสามัญผ่านโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
(๕) สนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมร่วมสร้างพื้นที่สันติสุขขนาดเล็กและแก้ไขปัญหาตามความต้องการของชุมชน
จำนวน ๗๐ องค์กร/พื้นที่ (๖) ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ทั่วถึง
โดยออก “ระเบียบการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้”
และ (๗) จัดกิจกรรมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์ Southern of Thailand
Tournament Cup ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้นเป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว | กต. | 12/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการในการกำหนดให้ญี่ปุ่นอยู่ในรายชื่อประเทศในประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้น
ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ
โดยมีผลบังคับใช้ ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙
เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการค้า
การลงทุน และการดำเนินธุรกิจระหว่างทั้งสองประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒.
เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการติดต่อธุรกิจระยะสั้น ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน
เป็นกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขรูปแบบการร่างกฎหมายให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา
๖๑ แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๔.
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย ที่เห็นควรเร่งรัดการจัดทำความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับการเดินทางประเภทธุรกิจในระยะสั้นระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
เพื่อให้ฝ่ายไทยได้รับประโยชน์ตามหลักต่างตอบแทนเช่นเดียวกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | ดศ. | 21/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โดยมีข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
ประกอบด้วย (๑) ระยะเร่งด่วน ๓๐ วัน เช่น ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตรวจสอบข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
(PDPC Eagle Eye) และเร่งตรวจสอบค้นหาเฝ้าระวัง
การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลว่าเกิดขึ้นจากหน่วยงานใด หรือช่องทางใด
และเมื่อพบข้อบกพร่องของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ
เร่งประสานแจ้งเดือนการรั่วไหลของ/ข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานนั้น
เพื่อระงับยับยั้งไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยเร็ว ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเร่งรัดมาตรการปิดกั้นกรณีการซื้อ-ขายข้อมูลส่วนบุคคลที่ผิดกฎหมายและสืบสวนดำเนินคดี
ตลอดจนจับกุมผู้กระทำความผิดโดยเร็ว เป็นต้น (๒) ระยะ ๖ เดือน เพื่อป้องกันและลดปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลจากการที่หน่วยงานภาครัฐส่งข้อมูลแก่หน่วยงานภายนอก
หรือขาดบุคลากรในการกำกับดูแลงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงาน
เห็นควรส่งเสริมการใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัยตามหลักวิชาการสากล
สามารถรองรับการใช้งานของบุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยไม่เกิดการโจรกรรมหรือการรั่วไหลของข้อมูล
และ (๓) ระยะ ๑๒ เดือน ประเมินและปรับปรุง
พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สามารถบังคับใช้กฎหมายให้ทันสมัยต่อบริบทของสังคมและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนไป
เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบและป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ดียิ่งขึ้น
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | มาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลัง ปี 2566/67 | พณ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง ปี
๒๕๖๖/๖๗ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการ นบมส.
และช่วยเหลือสภาพคล่องของสถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการรับซื้อมันสำปะหลังโดยไม่เร่งระบายผลผลิตรวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและสร้างศักยภาพการแปรรูปของเกษตรกร
ในการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคามันสำปะหลังโดยเฉพาะในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ซึ่งจะส่งผลให้ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ๒.
อนุมัติในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคามันสำะหลัง ปี ๒๕๖๖/๖๗
และโครงการภายใต้มาตรการดังกล่าวของกรมการค้าภายในและของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและให้ดำเนินการ
ดังนี้ ๒.๑ โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลังปี
๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทรวงพาณิชย์
โดยกรมการค้าภายในใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในโอกาสแรกก่อน หากไม่เพียงพอให้กระทรวงพาณิชย์เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.๒
โครงการยกระดับศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง
ให้กรมการค้าภายในพิจารณาถึงหน้าที่และอำนาจและภารกิจของหน่วยดำเนินการ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจและภารกิจหลักให้เป็นผู้ดำเนินการ
เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิต
ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ลดภาระค่าใช้จ่ายและความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.๓
โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี
๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๑๙,๒๕๐,๐๐๐ บาท
และ ๒.๔ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลังปี
๒๕๖๖/๖๗ วงเงิน ๔๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณร่ายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริง
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
โครงการในส่วนที่ใช้เงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและรัฐบาลได้มีการชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการดำเนินโครงการดังกล่าวให้กระทรวงพาณิชย์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรร่วมกันพิจารณาอัตราการชดเชยให้สอดคล้องกับภาระต้นทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างแท้จริง
โดยอยู่ในอัตราที่เท่ากันกับอัตราการชดเชยของมาตรการที่มีการดำเนินการในลักษณะเดียวกันในสินค้าเกษตรอื่นและไม่ควรมากกว่าอัตราการชดเชยในอดีตที่ผ่านมาของโครงการในลักษณะเดียวกันเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐในภาพรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ๓.
ให้กำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินโครงการของโครงการต่าง ๆ
ดังกล่าวข้างต้นเป็นตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖) เป็นต้นไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ
และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า
“เงินเดือน” และปรับเงื่อนไขการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการโดยสามารถแบ่งจ่ายเป็น ๒
รอบ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่ข้าราชการ
รวมทั้งเป็นการเพิ่มอัตราเงินหมุนเวียนซึ่งจะช่วยเศรษฐกิจของประเทศ
อีกทั้งเพื่อให้เป็นการเบิกจ่ายเงินเดือนของข้าราชการมีความคล่องตัว รวดเร็ว
และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานศาลปกครอง ที่เห็นว่าข้อสังเกตตามร่างมาตรา
๓ ที่แก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่า “เงินเดือน” หมายความว่า
เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือน
หรือที่มีกำหนดจ่ายเป็นอย่างอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ... คำว่า “หรือที่มีกำหนดจ่ายเป็นอย่างอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด”
อาจทำให้เกิดการตีความได้ว่าให้สามารถจ่ายเป็นอย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงินได้
เพื่อให้เกิดความชัดเจนอาจปรับปรุงถ้อยคำดังกล่าวเป็น “หรือที่กำหนดจ่ายตามรอบระยะเวลาอื่นภายในแต่ละเดือนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด”
การใช้ถ้อยคำในมาตรา ๒๐ ที่บัญญัติให้ “การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน... ทั้งนี้
กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้” ควรมีการ
การปรับถ้อยคำเป็น “การจ่ายเงินเดือนข้าราชการประจำเดือน... ทั้งนี้
กรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายและหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้” เพื่อให้ครอบคลุมทั้งกรณีที่จะมีการปรับเปลี่ยนกำหนดวันจ่ายและวิธีการจ่ายอย่างอื่นในอนาคตด้วย
และการแก้ไขมาตรา ๒๐ ควรจะเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับระยะเวลาการจ่ายเงินเดือนก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือน
ซึ่งอาจกำหนดให้มากหรือน้อยกว่าสามวันทำการก็ได้
และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและเหตุผลในการแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ ..) พ.ศ .... และนิยามในมาตรา ๔ การกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นโดยกรมบัญชีกลางจึงควรได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เช่น การแบ่งจ่ายเงินเดือนของข้าราชการเป็น ๒ รอบ
ควรเป็นไปด้วยความสมัครใจของข้าราชการแต่ละราย
เนื่องจากภาระหนี้สินของข้าราชการแต่ละรายมีบริบทที่แตกต่างกัน ควรพิจารณาวิธีการดำเนินการจ่ายเงินเดือนที่เหมาะสมและรอบคอบ
และมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับข้าราชการ
รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้วย ในกรณีคณะรัฐมนตรีจะกำหนดจ่ายเงินเดือนเป็นอย่างอื่นที่มิใช่กำหนดจ่ายเป็นรายเดือน
หรือในกรณีกรมบัญชีกลางจะกำหนดวันจ่ายหรือวิธีการจ่ายเป็นอย่างอื่นที่มิใช่กำหนดจ่ายเป็นรายเดือนในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ
เห็นควรขอให้คณะรัฐมนตรีหรือกรมบัญชีกลางพิจารณาในประเด็นว่า
ข้าราชการจะขอแจ้งความประสงค์ต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้มีการจ่ายเงินเดือน ๑
รอบ หรือ ๒ รอบ ให้แก่ตน ได้หรือไม่ อย่างไร ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าการแบ่งจ่ายเงินเดือน
๒ รอบนั้น ควรเป็นภาคสมัครใจ
และวิธีการจะต้องไม่เป็นการสร้างภาระเกินควรให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการหักชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของข้าราชการ
เป็นต้นไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | มาตรการในการกำกับดูแลควบคุมการใช้อาวุธปืนเพื่อความปลอดภัยของประชาชน | มท. | 10/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลตามมาตรการในการกำกับดูแลควบคุมการใช้อาวุธปืนเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
ซึ่งได้ดำเนินการในการควบคุมกำกับดูแลการออกใบอนุญาตของนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน
เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2567 | นร.11 สศช | 26/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๗ วงเงินดำเนินการ จำนวน ๑,๓๘๐,๖๒๔ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน ๒๕๘,๙๘๕
ล้านบาท ประกอบด้วย (๑) กรอบการลงทุนสำหรับงานตามภารกิจปกติและโครงการต่อเนื่อง วงเงินดำเนินการ
จำนวน ๑,๑๘๐,๖๒๔ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน
จำนวน ๒๐๘,๙๘๕ ล้านบาท และ (๒)
กรอบการลงทุนสำหรับการเพิ่มเติมระหว่างปี วงเงินดำเนินการ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน ๕๐,๐๐๐
ล้านบาท สำหรับโครงการที่ยังไม่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
และการลงทุนที่ใช้เงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้ดำเนินการได้เมื่อได้รับอนุมัติตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้
กำหนดเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕
ของกรอบวงเงินอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน เห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ปรับวงเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
ให้สอดคล้องกับผลการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบกลาง
หรืองบประมาณที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการงบประมาณหรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณแล้ว
และปรับเพิ่มกรอบวงเงินดำเนินการและกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ทันทีภายในปีงบประมาณ เห็นชอบให้ สศช.
โดยประธาน สศช. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีในส่วนงบลงทุน
เพื่อการดำเนินงานปกติและโครงการต่อเนื่องที่การเปลี่ยนแปลงไม่มีผลกระทบต่อสาระสำคัญและกรอบวงเงินโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว
รวมทั้งเห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระดับกระทรวง และระดับรัฐวิสาหกิจ
โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจรับข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการ
และเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนปี ๒๕๖๗
ให้ สศช. ทราบภายในทุกวันที่ ๕ ของเดือนอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะและความก้าวหน้าการดำเนินโครงการลงทุนทุกไตรมาส
เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างต่อเนื่อง
และรับทราบประมาณการงบทำการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ ๗๖,๗๕๖ ล้านบาท และประมาณการแนวโน้มการดำเนินงานช่วงปี ๒๕๖๘-๒๕๗๐
ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้นที่คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ ๓๗๖,๓๖๗ ล้านบาท และผลประกอบการจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณปีละ ๘๓,๔๔๓ ล้านบาท ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้กระทรวงเจ้าสังกัดที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงพลังงาน สำนักงบประมาณ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด พิจารณาแนวทางการบรรเทาปัญหาด้านสภาพคล่องให้แก่การไฟฟ้าทั้ง
๓ แห่ง
และกำกับดูแลการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงพลังงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
เพื่อนำไปปรับใช้ในการจัดทำกรอบและงบลงทุนฯ ในระยะต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเจ้าสังกัดที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการดำเนินการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งในช่วงไตรมาสที่หนึ่งและไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจในช่วงระหว่างการจัดทำ
(ร่าง) พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
รวมทั้งให้กระทรวงการคลังประสานกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจที่อยู่ในแผนฟื้นฟูให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) | ยธ. | 25/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ
ระยะที่ ๒ ดังกล่าวต่อไป โดยแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เป็นการนำพื้นฐานของหลักการ UN Guiding
Principles on Business and Human Rights (UNGPs) ของคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
ประกอบด้วยหลักการพื้นฐาน ๓ เสาหลัก ได้แก่ การคุ้มครอง การเคารพ และการเยียวยา
มีสาระสำคัญประกอบด้วย ๔ ด้าน ได้แก่ แผนปฏิบัติการด้านแรงงาน
แผนปฏิบัติการด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แผนปฏิบัติการด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และแผนปฏิบัติการด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ
ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนร่วมกันจัดทำขึ้น
เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน
รวมถึงป้องกัน บรรเทา แก้ไข และเยียวยาปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ
ซึ่งเป็นการดำเนินการบนพื้นฐานของความสมัครใจ โดยไม่ได้มีพันธกรณีหรือกฎหมายระหว่างประเทศบังคับให้ต้องปฏิบัติ
โดยแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) มีหลักการพื้นฐาน ๓ เสาหลัก
และมีสาระสำคัญประกอบด้วย ๔ ด้าน เช่นเดียวกับแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ ๑ (พ.ศ.
๒๕๖๒-๒๕๖๕) แต่มีโครงการ/กิจกรรมที่เป็นตัวชี้วัดภายใต้แผนแตกต่างกัน
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อเสนอแนะ
และข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ได้แก่ (๑)
เป้าหมายและตัวชี้วัดโครงการ/กิจกรรม หากสามารถกำหนดค่าเป้าหมายทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
และแนวทางในการติดตามความกาวหน้าแบบทุกช่วงเวลา
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนงานตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ได้ (๒) การประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
หากสามารถประเมินผลเป็นรายปี จะช่วยให้สามารถกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
ส่งผลต่อการขับเคลื่อนโครงการอย่างเป็นรูปธรรม (๓)
การกำหนดตัวชี้วัดควรมีการพิจารณาเพิ่มตัวชี้วัดด้านชุมชน ที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
และด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ และ (๔) แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ ๒
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ไม่ถือว่าเป็นแผนระดับที่ ๓
ที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ/พิจารณาก่อนการประกาศใช้
เนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนด และมิใช่พันธกรณีหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. .... | นร 05 | 11/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
พ.ศ. .... ของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒
ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการลงทุนหรือร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ทำขึ้นไปใช้ประโยชน์
เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์ด้านการวิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติประกาศกำหนด
สามารถร่วมลงทุนกับภาคเอกชนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยเรื่องการเร่งรัดการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 2 | นร.11 สศช | 05/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยเรื่องการเร่งรัดการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ กรุงเทพมหานคร
โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย)
เข้าร่วมการประชุมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานร่วมในการประชุมฯ
กับรัฐมนตรีว่าการสำนักงานด้านการพัฒนาและเศรษฐกิจแห่งชาติ
แห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สรุปได้ ดังนี้ (๑)
รายงานของที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยเรื่อง SDGs โดยหน่วยงานด้านการวางแผนพัฒนาระดับประเทศ ครั้งที่ ๓
ได้เน้นย้ำความเพียงพอของข้อมูลและการรายงานข้อมูลเพื่อใช้ตรวจสอบความก้าวหน้าในการขับเคลื่อน
SDGs
ส่งเสริมความสอดคล้องระหว่างนโยบาย/โครงการและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชาติ
ระดับภูมิภาค และระดับโลก เสนอให้มีความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เข้มแข็งเพื่อส่งเสริมการตระหนักถึงความสำคัญของ
SDGs และ (๒) ร่างขอบเขตการดำเนินงานของการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยเรื่องการเร่งรัดการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุ
SDGs ครั้งที่ ๒
โดยมีการปรับปรุงรายละเอียดเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นแต่ยังคงไว้ซึ่งสาระสำคัญตามที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อวันที่
๔ เมษายน ๒๕๖๖ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขออนุมัติงบประมาณ งบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเบิกจ่ายโครงการติดตั้งเครื่องมือวัดปริมาณน้ำมันปาล์ม เพื่อบริหารจัดการและควบคุมสต๊อกน้ำมันปาล์ม งวดที่ 3 และงวดสุดท้าย | พณ. | 05/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณ งบกลาง
รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเบิกจ่ายงวดที่ ๓
ตามพื้นที่จำนวน ๑๓ พื้นที่ และงวดสุดท้าย โครงการติดตั้งเครื่องมือวัดปริมาณน้ำมันปาล์ม
เพื่อบริหารจัดการและควบคุมสต๊อกน้ำมันปาล์ม เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๑๐๗.๒๔
ล้านาท ก่อนสำนักงบประมาณเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนอนุมัติจัดสรรงบประมาณดังกล่าวต่อไป
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๖๙ (๓) แล้ว ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างกฎกระทรวงสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่างการเกษตร พ.ศ. .... | ดศ. | 05/07/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่างการเกษตร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจตัวอย่างการเกษตร
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำการเกษตรจากผู้ถือครองทำการเกษตรทั่วประเทศ
เพื่อให้มีชุดข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเพียงพอ
สำหรับการวางแผน เฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาประเทศด้านการเกษตร
พัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรในภาคการเกษตร และใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการกำหนดนโยบาย
มาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกร ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เห็นควรปรับปรุงนิยาม “การเกษตร” และปรับถ้อยคำในร่างกฎกระทรวงฯ
บางประการ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาทบทวนความจำเป็นเหมาะสมของการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสถิติ
พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้เหมาะสม ทันสมัย และสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ด้วย เช่น การดำเนินการสำรวจข้อมูลต่าง ๆ
ควรนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
ครบถ้วน รวดเร็ว
และสามารถประมวลผลข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายเรื่องต่าง ๆ
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติควรเชื่อมโยงกับข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)
เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกัน และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ว่าควรประสานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับนำข้อมูลมาใช้ร่วมกับสำมะโนเกษตรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาตใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2566 | นร.52 | 09/05/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาตใต้
(กพต.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑. เรื่องเพื่อทราบ จำนวน ๔
เรื่อง เช่น (๑) การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ภายใต้แผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
มิติงานด้านการพัฒนาและการขับเคลื่อนภารกิจของส่วนราชการตามมติ กพต. และ (๒)
การแก้ไขปัญหาแรงงานคนไทยที่เดินทางไปประกอบอาชีพในสถานประกอบการร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซีย ๒. เรื่องการติดตามความก้าวหน้าตามมติ กพต. จำนวน ๖ เรื่อง เช่น (๑) รายงานความก้าวหน้ากิจกรรมโคบาลชายแดนใต้ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์ตามกรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระยะ ๗ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๑) (๒)
รายงานความก้าวหน้าโครงการนำเรือออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
(๓)
รายงานความก้าวหน้าแก้ไขปัญหาสุขภาวะและภาวะโภชนาการต่ำของเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และ (๔)
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟูการท่องเที่ยวหาดใหญ่-สงขลา
ระยะที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐) ๓. เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน ๑๐ เรื่อง เช่น (๑) ขอความเห็นชอบหลักการโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสตูล
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๒ (ระยะเวลา ๗ ปี) (๒)
ขอความเห็นชอบหลักการกรอบแนวทางการยกระดับและพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสตูลให้เป็น
World Class Southern
Border, Thailand. The Rivera of South East Asia และ (๓)
ขอทบทวนมติ กพต. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ เรื่อง
ขออนุมัติหลักการโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่กับด่านบูกิตกายูฮิตัมของมาเลเซียเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอสะเดา
จังหวัดสงขลา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 | นร.11 สศช | 28/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ
เช่น (๑) ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ (๒)
การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ :
ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(๓) การติดตาม การตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (๔)
ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ และ (๕) นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและการปฏิรูปประเทศของรัฐบาลรวมถึงสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศให้ประชาชนทราบต่อไป ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ขออนุมัติดำเนินโครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ - ถนนลำลูกกา) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย | คค. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา) ระยะทาง ๑๖.๒๑ กิโลเมตร
มูลค่าการลงทุนโครงการ ๒๔,๐๖๐.๐๔ ล้านบาท ประกอบด้วย
ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงาน ๒๐,๓๓๓.๒๓ ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
๓,๗๒๖.๘๑ ล้านบาท และอนุมัติแหล่งเงินทุนสำหรับดำเนินโครงการค่าจัดทำกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดในวงเงิน
๓,๗๒๖.๘๑ ล้านบาท
โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขอรับการสนับสนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดจากรัฐบาล
ค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงานให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยใช้เงินทีได้จากการระดมทุนผ่านกองทุน
TFF ที่มีอยู่เป็นจำนวนเงิน ๑๔,๓๗๔ ล้านบาท และออกพันธบัตรเพิ่มเติมในกรอบวงเงินประมาณ
๕,๙๖๐ ล้านบาท โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อจัดหาแหล่งเงินลงทุนโครงการที่เหมาะสมต่อไป ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
ยกเว้นในส่วนของการดำเนินโครงการส่วนต่อขยายไปเชื่อมต่อกับถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร
รอบที่ ๓ ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้กระทรวงคมนาคม (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
(หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๙๐๗/๒๒๓๑ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงบประมาณ รวมทั้งมติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยหารือร่วมกับกรมทางหลวงให้ได้ข้อยุติเรื่องรูปแบบการก่อสร้างส่วนต่อขยายทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี
ไปเชื่อมกับวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ ๓ (ส่วนต่อขยายทางพิเศษฯ) และการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
(MR-MAP)
ให้เรียบร้อยโดยเร็ว
การทบทวนการออกแบบโครงสร้างทางยกระดับของโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี
ให้มีความสอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน
ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
พ.ศ. ๒๕๖๔ รวมทั้งแก้กฎกระทรวงให้ถูกต้อง
ควรเร่งเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อก่อสร้างโครงการฯ
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว เพื่อให้ก่อสร้างโครงการได้ตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้
กำกับการดำเนินโครงการฯ
ในช่วงก่อสร้างโดยให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยและการดำเนินการตามมาตรการผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | แผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 | ทส. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน
ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกต่อไป
โดยร่างแผนจัดการระดับชาติฯ ฉบับที่ ๒
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแผนหลักของประเทศในการจัดการสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการจัดการสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานให้ครอบคลุมสาร
POPs (ชนิดเดิม ๑๒ รายการ
และชนิดใหม่ ๑๙ รายการ รวม ๓๑ รายการ) ประเภทสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (POPs
Pesticides) ประเภทสารเคมีอุตสาหกรรม (POPs Industrial
Chemicals) และประเภทสารเคมีที่ปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (Unintentional
Production POPs) (เช่น สารเคมีที่เกิดจากการเผาขยะ การเผาในที่โล่ง
กระบวนการผลิตโลหะ เป็นต้น)
ให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ และมีเป้าหมายที่จะลด
และ/หรือ เลิกการผลิต การใช้ และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน
เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนปฏิบัติการ (Action
Plans) ประกอบด้วย ๑๖ แผนกิจกรรม ที่จะดำเนินการในช่วงปี พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐ รวมทั้งได้กำหนดเป้าหมาย กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยงานดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณและแหล่งเงิน ซึ่งมีหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุน
จำนวน ๓๗ หน่วยงานร่วมดำเนินการ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ขอให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำเข้าสาระของแผนจัดการระดับชาติฯ ฉบับที่
๒ ในระบบ eMENSCR ต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2566-2570) | นร.10 | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบข้อเสนอมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เพื่อให้ส่วนราชการและองค์กรกลางบริหารทรัพยากรบุคคลนำไปปฏิบัติต่อไป และรับทราบผลการดำเนินการตามมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ
(พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕) พร้อมปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ (เมื่อสิ้นสุดมาตรการ)
ตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๖
เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ โดยมาตรการที่เสนอมาในครั้งนี้ต่อเนื่องจากมาตรการฉบับเดิม
ประกอบด้วย ๒ มาตรการ ได้แก่ (๑) มาตรการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ และ (๒)
มาตรการบริหารอัตรากำลังปกติ
โดยมาตรการฉบับใหม่แตกต่างไปจากมาตรการฉบับเดิมในเรื่องของหลักการที่มุ่งเน้นการควบคุมขนาดกำลังคนและงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐให้สมดุลกับบทบาทภารกิจของภาครัฐ
โดยในส่วนของมาตรการบริหารอัตรากำลังปกติกรณีการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือนได้ปรับแนวทางการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุ
เป็น ๒ ช่วง ได้แก่ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗ ให้ตรึงอัตรากำลัง
ไม่เพิ่มกรอบอัตรากำลังตั้งใหม่ในภาพรวม และปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘–๒๕๗๐
ให้จัดสรรอัตราว่างตามขนาดของส่วนราชการ ซึ่งเป็นไปตามมาตรการฉบับเดิม
สำหรับการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการฉบับเดิมครอบคลุมผลการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุข้าราชการพลเรือน
โดย อ.ก.พ. กระทรวงได้จัดสรรคืนให้ส่วนราชการทันที ๑๙,๑๒๑ อัตรา (ร้อยละ ๗๑.๔๐)
จากอัตราว่างทั้งหมด ๒๖,๗๘๑ อัตรา ๒. ให้ฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ
สำนักงาน ก.พ.ร.
รวมทั้งส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงาน ก.พ.ร.
ที่เห็นควรพิจารณารายละเอียดจำนวนบุคลากรแต่ละประเภทที่ได้รับอนุมัติตามกรอบ
จำนวนที่มีอยู่ในปัจจุบัน จำนวนอัตราเกษียณ จำนวนอัตราว่าง หรือองค์ประกอบอื่น ๆ
ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์
การทบทวนหรือการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับภารกิจตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน
ตามสถานการณ์ด้านกำลังคนและงบประมาณในแต่ละปี
รวมถึงติดตามประเมินผลระดับความสำเร็จตามตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
เพื่อที่จะนำไปทบทวนแนวทางการกำหนดเป้าหมายของมาตรการบริหารกำลังคนภาครัฐในรอบถัดไป
และควรพิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เพื่อจูงใจในการทำงาน
รวมถึงการสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ในการจัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ส่วนราชการและองค์กรกลางบริหารทรัพยากรบุคคลนำไปปฏิบัติ
ควรมุ่งเน้นความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาระบบราชการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) หมุดหมายที่ ๑๓
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ 1 พ.ศ. (2566-2570) | สธ. | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ระยะที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
พร้อมทั้งนำแผนเข้าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic
Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform :
eMENSCR) เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการสำคัญต่าง ๆ
ตามแผนต่อไป โดยร่างแผนปฏิบัติการด้านอาหาร ระยะที่ ๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแผนชี้นำการขับเคลื่อนการดำเนินงานและเป็นกรอบในการบริหารจัดการจัดสรรทรัพยากร
และกำกับติดตามประเมินผลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพื่อบูรณาการนโยบายและแผนแต่ละระดับที่เกี่ยวข้อง
มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย ๖ เป้าหมาย เช่น
จำนวนคนขาดแคลนอาหารลดลง และมีกลไกประสานงานกลางและบูรณาการการดำเนินงาน ๑๘
ตัวชี้วัด เช่น ภายในปี ๒๕๗๐ ทุกจังหวัดจะมีรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษสูง
และจะมีโครงการสำคัญภายใต้แผนเข้าสู่ระบบ eMENSCR จำนวน
๑๐โครงการ และ ๔ ยุทธศาสตร์ เช่น ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ด้านความมั่นคงอาหาร
และยุทธศาสตร์ที่ ๒ ด้านคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร โดยมีตัวอย่างโครงการ เช่น
โครงการจัดสรรที่ดินทำกินให้เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาส
และโครงการขยายผลโครงการ Green Industry (GI) เพื่อยกระดับผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ตามที่คณะกรรมการอาหารแห่งชาติเสนอ
และให้คณะกรรมการอาหารแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เช่น
ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว
เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร
หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
ในโอกาสแรกก่อน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566-2570 ฉบับทบทวน แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และข้อเสนอโครงการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570 | นร.11 สศช | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการเสนอ
ดังนี้ ๑.๑ อนุมัติแผนพัฒนาจังหวัด ๗๖ จังหวัด
และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ๑๘ กลุ่มจังหวัด พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ฉบับทบทวน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนำความเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในระยะต่อไป ๑.๒ อนุมัติแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ของจังหวัด ๗๖ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ๑๘ กลุ่มจังหวัด ประกอบด้วย (๑)
เห็นควรสนับสนุนในกรอบวงเงิน (Y๑)
จำนวน ๑,๓๔๖ โครงการ งบประมาณ ๒๙,๓๑๔,๕๑๐,๙๐๐ บาท (๒)
เห็นควรสนับสนุนเกินกรอบวงเงิน (Y๒) จำนวน
๔๐๑ โครงการ งบประมาณ ๑๒,๕๘๘,๙๕๐,๗๕๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๑,๗๔๗ โครงการ งบประมาณรวม
๔๑,๙๐๓,๔๖๑,๖๕๐ บาท ๑.๓ อนุมัติข้อเสนอโครงการของส่วนราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐ รวมจำนวน ๓๖๔ โครงการ ทั้งนี้ ขอให้สำนักงบประมาณให้ความสำคัญและพิจารณาสนับสนุนงบประมาณโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคเป็นลำดับแรก
เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม
สอดคล้องตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
และมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปดำเนินการประสานสำนักงบประมาณ
เพื่อดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณ รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่เห็นว่า ในการขับเคลื่อนแผนงานโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน และพิจารณาตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน อีกทั้งควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดสรรงบประมาณ สำหรับข้อเสนอโครงการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ควรให้ความสำคัญและสนับสนุนงบประมาณโครงการที่มีผลกระทบต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคสูงอย่างมีระบบและครอบคลุม สอดคล้องกับศักยภาพและพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |