ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 10 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 191 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน สำหรับปี 2567 ถึงปี 2569 พ.ศ. .... | พณ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี ๒๕๖๗
ถึงปี ๒๕๖๙ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำเข้าข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี
พ.ศ. ๒๕๖๗ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๙ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้แก้ไขชื่อร่างประกาศและกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับของร่างประกาศดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของคณะรัฐมนตรี
และให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าคณะรัฐมนตรีสามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ตามที่เห็นสมควร
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การพิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดเวลาจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสนับสนุนการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ | นร. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้เปิดสถานบริการที่ตั้งอยู่ในโรงแรมและสถานบริการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ และท้องที่อำเภอเกาะสมุย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยให้เปิดบริการได้ถึง ๑๔.๐๐ นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๖๖ มีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ นั้น ทราบว่า
ผลการดำเนินการในเรื่องนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเป็นอย่างดี ดังนั้น
เพื่อเป็นการสนับสนุนการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
ผู้ประกอบธุรกิจ และประชาชนในพื้นที่ จึงขอมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการขยายกำหนดเวลาจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารทั่วไป ให้สอดคล้องกับเวลาเปิดปิดของสถานบริการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่นำร่องดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก (ฉบับที่ ..) | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร
ลด และเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก
(ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงบัญชีอัตราอากรท้ายประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การยกเว้นอากรลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลกลงวันที่
๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๔
โดยขยายระยะเวลาการลดอัตราอากรศุลกากรในโควตาสำหรับสินค้ากากถั่วเหลือง
พิกัดอัตราศุลกากร ๒๓๐๔.๐๐.๒๙ รหัสย่อย ๐๑ เฉพาะที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์
ในอัตราร้อยละ ๒ ออกไปอีก ๓ ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗
ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้แก้ไขระยะเวลาที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรท้ายร่างประกาศกระทรวงการคลังให้เป็นไปตามความเห็นของคณะรัฐมนตรี
ที่เห็นควรให้ลดอัตราอากรศุลกากรในโควตาสำหรับสินค้ากากถั่วเหลืองเฉพาะที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์
ในอัตราร้อยละ ๒ เป็นระยะเวลา ๑ ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์
ความจำเป็น และประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๓ ต่อไป และควรพิจารณาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตถั่วเหลือง
เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนเกินภายในประเทศภายใต้บริบทการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทยควบคู่ไปกับการส่งเสริมการผลิตและการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ทางเลือกเพื่อทดแทนและลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับประเทศไทยได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่าจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใด
ๆ ไว้ด้วยก็ได้ กรณีจึงเป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้
และอยู่ในอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาให้ความเห็นชอบได้ตามที่เห็นสมควร อนึ่ง
โดยที่การเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลังในครั้งนี้เป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราอากรในโควตาออกไปอีก
๓ ปี จึงเป็นกรณีที่กระทรวงการคลังจะต้องดำเนินการจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้จากการลดอัตราอากรดังกล่าวตามมาตรา
๓๒ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน | กค. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างกฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ พ.ศ. .... | พณ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราค่าธรรมเนียมลงกึ่งหนึ่ง
สำหรับค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร
การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรองและค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
(ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และ ๔
อำเภอในจังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย)
ต่อไปอีก ๓ ปี (ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
ที่เห็นควรสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนในพื้นที่
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... | สธ. | 26/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท
๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า
หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นว่าการกำหนดระยะเวลาการแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตตามร่างกฎกระทรวงฯ
ข้อ ๑๖ วรรคสอง ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นว่าร่างกฎกระทรวงข้อ
๑๖ วรรคหนึ่ง
ซึ่งกำหนดให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
เห็นว่าระยะเวลาสามสิบวันเป็นระยะเวลาที่พอสมควรที่ผู้อนุญาตจะได้พิจารณาคำขอและอนุญาตให้แล้วเสร็จ
แต่ก็มีข้อสังเกตว่าหากผู้อนุญาตไม่สามารถพิจารณาคำขอให้เสร็จสิ้นได้ภายในกำหนดสามสิบวันจะมีมาตรการอย่างไรในระหว่างที่พิจารณาคำขอ
จึงสมควรที่จะกำหนดมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าวด้วย และร่างกฎกระทรวงข้อ ๑๖
วรรคสอง
ที่กำหนดให้ผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
เห็นว่ากำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิด
ซึ่งในการอุทธรณ์คำสั่งผู้อุทธรณ์จะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการเตรียมข้อมูลในการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
จึงสมควรที่จะเพิ่มกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จากสิบห้าวันเป็นสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ขออนุญาตได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมมากกว่าตามร่างซึ่งกำหนดให้อุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538)ฯ] | มท. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ.๒๕๓๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารประเภท
ง และอาคารพักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หรือบ้านแฝด เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขออนุมัติก่อหนี้ผูกผันข้ามปีงบประมาณเพื่อเช่าอาคารสำหรับสถานเอกอัครราชทูต คณะผู้แทนไทยถาวรประจำอาเซียน และสถานกงสุลใหญ่ จำนวน 7 แห่ง และเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่ง จำนวน 2 คัน | กต. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๗๒
เพื่อเป็นค่าเช่าอาคารสถานเอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน
และสถานกงสุลใหญ่ และค่าเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่ง รวมทั้งสิ้น ๙ รายการ
วงเงินรวมทั้งสิ้น ๑๙๗,๖๗๙,๑๐๐ บาท
หรือไม่เกินวงเงินตามสกุลเงินท้องถิ่นสำหรับกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนตามนัยมาตรา
๔๒ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับค่าใช้จ่ายในการเช่าสำนักงานในต่างประเทศและการเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๒๘,๘๗๔,๑๐๐ บาท
ให้กระทรวงการต่างประเทศใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
รวมถึงพิจารณาดำเนินการตามมติคระรัฐมนตรีเมื่อวัยที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๖ เรื่อง
การสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ตามความจำเป็นและเหมาะสมในโอกาสแรก ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ | ปช. | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตในการดำเนินแผนงาน/โครงการในภาครัฐ
ประกอบด้วย ขั้นการวางแผนก่อนดำเนินโครงการ ขั้นการดำเนินโครงการ
และขั้นการสรุปผลหลังการดำเนินโครงการ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ๒. รับทราบผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย
ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตามที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน
ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงาน
และแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ | นร 05 | 19/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.)
ของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ รวมทั้งหมด ๓๗ ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายชนินทร์
รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๒. นางสาวอรณี
รัตนประเสริฐ นักทัณฑวิทยาชำนาญการ ๓. นายศึกษิษฏ์
ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๔. นายชื่นชอบ
คงอุดม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๕. พลเอก
ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๖. นางสาวพินทุ์สุดา
ชัยนาม เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง ๗. นายมนตรี
เดชาสกุลสม รองปลัดกระทรวงคมนาคม ๘. นายเวทางศ์
พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๙. นางโสรดา
เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๑๐. นายสมคิด
จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ๑๑. นายสมาสภ์
ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ๑๒. นางโชติกา
อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๑๓.
นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๑๔. นายพงศธร พอกเพิ่มดี นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๑๕. นายเอกภัทร
วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ๑๖. นายมงคลชัย
สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๑๗. นางนิชา
หิรัญบูรณะ ธุวธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ๑๘. นางอุดมพร
เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๑๙.
นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๐. นายวีรศักดิ์
ทิพย์มณเฑียร รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๒๑. นายยุทธนา
สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๒๒. นายฉัตรชัย
บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งซาติ ๒๓. นายกิตติศักดิ์ จุลสำรวล กรรมการร่างกฎหมายประจำ
(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) ๒๔. นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ รองเลขาธิการ
ก.พ. ๒๕. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ
ก.พ.ร. ๒๖. นายนฤชา ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ๒๗. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๒๘. นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ๒๙. นายประเสริฐ ศิรินภาพร รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๓๐. นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ ๓๑. นายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
รักษาราชการแทนเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา ๓๒. นายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ๓๓. นายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๓๔. พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ๓๕. พลเรือตรี จุมพล นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทาง ทะเล ๓๖. นายทศพร แย้มวงษ์ รองเลขาธิการวุฒิสภา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางขนิษฐา วงศ์วัฒนารัตน์) | กษ. | 12/12/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง นางขนิษฐา วงศ์วัฒนารัตน์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์พันธุกรรม (นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญ) สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
กรมวิชาการเกษตร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านอารักขาพืช (นักวิชาการเกษตรทรงคุณวุฒิ)
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
และได้เข้าปฏิบัติหน้าที่รักษาการในตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อให้ความช่วยเหลือและอพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล | กต. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน ๓๕๒,๑๕๙,๔๓๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือและอพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐอิสราเอล
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... | ทส. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกในการบริหารจัดการและควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศในทุกมิติ
กำหนดมาตรการการลดและควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด
กำหนดเขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษทางอากาศ และศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ
เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเชิงพื้นที่
ตลอดจนการมีเครื่องมือหรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการส่งเสริมอื่น ๆ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น กรณีการสนับสนุนงบประมาณให้แผนปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพอากาศตามร่างของพระราชบัญญัติฯ
มาตรา ๓๙ วรรคท้าย นั้น
เห็นสมควรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลังของรัฐและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
การกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติไว้ในร่างกฎหมายดังกล่าว
อาจจะไม่รองรับกับสถานการณ์ หรือเทคโนโลยีที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
และทำให้เป็นอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายจึงเห็นว่าควรนำรายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติดังกล่าว
นำมาจัดทำเป็นกฎหมายลูกบทแทน นอกจากนี้ การกำหนดให้มีระบบคณะกรรมการหลายระดับอาจส่งผลให้การขับเคลื่อนการดำเนินการไม่มีความคล่องตัวและไม่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
จึงเห็นควรพิจารณาปรับปรุงระบบคณะกรรมการให้มีเท่าที่จำเป็น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และเมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามแผนดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วด้วย ๓. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ปัจจุบันมีกฎหมายที่กำหนดกลไกและมาตรการที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางอากาศไว้ในลักษระเดียวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้อยู่แล้ว
ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศจึงไม่ใช่ปัญหาว่าไม่มีกฎหมายบังคับในเรื่องนี้
แต่เป็นกรณีที่การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น
หากทางนโยบายเห็นว่าสมควรมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ก็สมควรที่จะแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ไปพร้อมกันด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ข้อเสนอแนะกรณีการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด | สม. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบข้อเสนอแนะกรณีการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด เพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นสิทธิอนามัยอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิเด็กและอุปสรรคที่ทำให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อประเด็นภาวะความพิการแต่กำเนิดยังไม่อาจบรรลุผลได้ตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายอย่างแท้จริง
จึงมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอันเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๔๗ (๓) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖ (๓) ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.07 | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
ดังนี้ ๑. การปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ๒.
การขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ (เรื่อง
การปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้อง) ที่กำหนดให้รายการรายจ่ายลงทุนที่จะขอผูกพันข้ามปีงบประมาณทุกรายการต้องได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีแรกเป็นจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๒๐ ของวงเงินรายจ่ายส่วนที่เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้นของรายจ่ายลงทุนนั้น ๆ
โดยไม่รวมวงเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด ๓.
ให้สำนักงบประมาณนำข้อเสนอการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗
ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปรับฟังความคิดเห็นให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๗ วรรคสอง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ขอความเห็นชอบการร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืน ระบบอาหารที่ยืดหยุ่น และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Declaration on Sustainable Agriculture, Resilient Food Systems, and Climate Action) ในการประชุม COP28 UNFCCC สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | กษ. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ระบบอาหารที่ยืดหยุ่น และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Declaration on Sustainable Agriculture, Resilient Food
Systems, and Climate Action) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างปฏิญญาฯ
โดยร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารที่จะมีการร่วมลงนามรับรองในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ
ครั้งที่ ๒๘ (COP28 UNFCCC) ในวาระ World Climate
Action วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศสมาชิกองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติที่ตระหนักถึงความสำคัญของระบบเกษตรและอาหาร
การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน และการแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นของระบบนิเวศและสนับสนุนความพยายามต่าง
ๆ ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่เห็นควรพิจารณาปรับแก้ไขถ้อยคำในร่างปฏิญญาฯ
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒. หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การเข้าร่วม Climate Club ของประเทศไทย | ทส. | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Club ในนามของประเทศไทย
โดยมีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยดำเนินการ และมอบหมายให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้แทนประเทศไทย ลงนามในหนังสือแสดงความสนใจเข้าร่วม (Letter of
Interest) เป็นสมาชิก Climate Club โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขหนังสือแสดงความสนใจเข้าร่วมหรือการดำเนินการใดในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate
Club หากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
เห็นควรให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ แล้วแต่กรณี
ส่วนค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป เห็นควรให้จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่าย
รวมทั้งแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (นักบริหาร ระดับสูง และนักบริหารการทูต ระดับสูง) (1. นายสุวัฒน์ แก้วสุข ฯลฯ จำนวน 6 ราย) | กต. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ จำนวน ๖ ราย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ดังนี้ ๑. นายสุวัฒน์ แก้วสุข ตำแหน่งเอกอัครราชทูต
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบกำหนดการต่อเวลา
๑ ปี (ครั้งที่ ๑) ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖
และขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไปอีก ๑ ปี (ครั้งที่ ๒) ตั้งแต่วันที่ ๒๕
กรกฎาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ๒. นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ ตำแหน่งอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ ๔ ปี ในวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๖
และขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไปอีก ๑ ปี (ครั้งที่ ๑) ตั้งแต่วันที่ ๒๖
กันยายน ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๗ ๓. นางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ ตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ
รัฐอิสราเอล ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ ๔ ปี ในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ และขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไปอีก
๑ ปี (ครั้งที่ ๑) ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗ ๔. นางสาววิมลพัชระ รักษาเกียรติ ตำแหน่งเอกอัครราชทูต
สถานเอกอัครราชทูตณ กรุงออสโลราชอาณาจักรนอร์เวย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ ๔ ปี
ในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ และขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไปอีก ๑ ปี
(ครั้งที่ ๑) ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ๕. นางครองขนิษฐ รักษ์เจริญ ตำแหน่งเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ
กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ ๔ ปี ในวันที่ ๑๕
ธันวาคม ๒๕๖๖ และขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไปอีก ๑ ปี (ครั้งที่ ๑)
ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๗
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา ครั้งที่ 12 | กต. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-คงคา
ครั้งที่ ๑๒ (12th Mekong-Ganga Cooperation
Foreign Ministers’ Meeting: 12th MGC FMM) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล
กรุงเทพฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินเดีย
และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เป็นประธานร่วมในรูปแบบการประชุมผสมผสาน (hybrid) และมีนายดอน
ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐบาลในฐานะผู้แทนรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา (เทียบเท่ารัฐมนตรี)
เข้าร่วมด้วยตนเองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเข้าร่วมผ่านระบบการประชุมทางไกล
โดยผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือฯ
ในการติดตามความคืบหน้าความร่วมมือ
และกำหนดแนวทางการดำเนินความร่วมมือร่วมกันในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม
ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการและติดตามความคืบหน้าในส่วนของภารกิจที่เกี่ยวข้อง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าประเด็นการเร่งรัดขยายเส้นทางต่อไปยังกัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม
ภายใต้โครงการพัฒนาถนนสามฝ่าย อินเดีย-เมียนมา-ไทย นั้น
กระทรวงคมนาคมขอเรียนว่าที่ประชุมคณะทำงานย่อยด้านทางหลวงอาเซียน (ASEAN
Highways Sub-Working Group : AHSWG) มีมติให้รอความชัดเจนอย่างเป็นทางการจากอินเดีย
ก่อนนำประเด็นดังกล่าวหารือแนวทางการดำเนินการต่อไป และควรวิเคราะห์และติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์ให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | คค. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน
ครั้งที่ ๒๙ และการประชุมอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๙-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ เมืองหลวงพระบาง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ต่อคณะรัฐมนตรี รวม ๑๘ ฉบับ
โดยแบ่งเป็นเอกสารที่รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนจะร่วมกันรับรอง (adopt) จำนวน ๑๗ ฉบับ
และเอกสารที่รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนจะลงนาม จำนวน ๑ ฉบับ และให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมอบหมาย
สำหรับการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงอาเซียน โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศในภูมิภาครวมถึงประเทศคู่เจรจาที่สำคัญ
และเป็นการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์และแผนงานฉบับต่าง ๆ ของอาเซียน รวมทั้งสอดคล้องกับแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
(ASEAN Connectivity) เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน
และการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน
ให้มีประสิทธิภาพอย่างครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
อันจะนำไปสู่การสร้างประชาคมอาเซียนให้มีความเข้มแข็ง
และเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน
ครั้งที่ ๒๙ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๘ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|