ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 16 จากข้อมูลทั้งหมด 16 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และขอเสนอโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2567/68 | กษ. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยกเลิกโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ (เรื่อง โครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต ๒๕๖๗/๖๘) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ๒.
เห็นชอบโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต
๒๕๖๗/๖๘ ภายในกรอบวงเงิน ๓๘,๕๗๘.๒๒ ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้น
ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ รวมทั้งให้นำข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ
(นบข.) ไปประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้
การชดเชยต้นทุนเงินให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ให้คงหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการชดเชยอัตราต้นทุนทางการเงินที่ต้องขอรับชดเชยจากภาครัฐในอัตราต้นทุนทางการเงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ประจำไตรมาส บวก ๑ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา และหากจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราการชดเชยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง
กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการดำเนินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลกข้าว
ปีการผลิต ๒๕๖๗/๖๘ ดังกล่าว ตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นควรจัดทำระบบหรือกลไกในการตรวจสอบที่มีมาตรฐาน
เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้องและทันสถานการณ์ รวมทั้งบูรณาการข้อมูลการลงทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
จำนวนเกษตรกร จำนวนพื้นที่เพาะปลูก ราคาซื้อขายในตลาด ปริมาณผลผลิตต่อไร่
ต้นทุนการผลิตต่อไร่ เพื่อจัดทำอัตราการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีความเหมาะสมตามความจำเป็น
ข้อมูลเกษตรกรไม่ตกหล่นและไม่ซ้ำซ้อนในทุกมิติ
โดยดำเนินการในพื้นที่ที่อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๖
รวมทั้งการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดทำระบบการรายงาน การติดตาม
และการประเมินผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากการดำเนินโครงการ
เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหารงานอย่างถูกต้องครบถ้วน และการกำหนดนโยบายภาครัฐที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไป ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นควรติดตามการปฏิบัติตามเงื่อนไขของเกษตรกรผู้รับเงินสนับสนุนอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และในระยะต่อไป
ควรกำหนดแผนในการยกระดับผลิตภาพเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้งการลดต้นทุนการผลิต
และเพิ่มผลิตภาพผ่านการใช้เทคโนโลยีให้มีความต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
รวมถึงจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรของภาครัฐ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2566 เรื่อง การพัฒนาเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ | สกพอ. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาและส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567/68 | พณ. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 40 วรรคสาม และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | กก. | 24/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๖๕๖๘ - พ.ศ. ๒๕๗๐
เพื่อเป็นค่าเช่าอาคารสำนักงาน ค่าเช่ารถยนต์ ค่าเช่า ที่จอดรถยนต์
และค่าเช่าคลังเก็บวัสดุ รวมทั้งสิ้น ๒๐ รายการ วงเงินงบประมาณ ๒๑๔,๖๒๖,๙๐๐ บาท หรือไม่เกินวงเงินตามสกุลเงินท้องถิ่น
สำหรับกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนได้
โดยให้ดำเนินการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายก่อนได้รับการจัดสรรงบประมาณ
เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ตามนัยมาตรา ๔๐ วรรคสาม และมาตรา ๔๒ ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๑ สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘
สำนักงบประมาณได้เสนอตั้งบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับไว้แล้วในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ สำหรับรายการค่าเช่าอาคารสำนักงาน ๑๑ แห่ง รายการค่าเช่ารถยนต์ ๖ คัน รายการค่าเช่าที่จอดรถยนต์
๒ แห่ง และรายการค่าเช่าคลังเก็บวัสดุ ๑ แห่ง ดังกล่าวข้างต้น ขอให้ ททท.
ใช้จ่ายตามรายการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายของ ททท.
เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ ประกาศใช้บังคับ
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
แล้วแต่กรณี ส่วนค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้ ททท.
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สอดคล้องกับค่าเช่าที่จะต้องจ่ายจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรกำกับ ดูแล ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานของ ททท. สำนักงานสาขาต่างประเทศอย่างเป็นระยะ
เพื่อประโยชน์ด้านความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณสำหรับการยกระดับการท่องเที่ยวไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการเดินทางในระดับสากล
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 | รง. | 24/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ๒. อนุมัติในหลักการ ๒.๑
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... ๒.๒
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. เห็นชอบในหลักการ ๓.๑
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... ๓.๒
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... ๓.๓
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การขยายระยะเวลาการเปลี่ยนนายจ้างและระยะเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่
สำหรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ๓.๔
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การยกเว้นการแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๖๔/๒ รวม
๔ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข
ที่เห็นว่าการทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยจะต้องมีสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าการทำประกันสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และอายุความคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตทำงาน
รวมทั้งในกรณีที่นายจ้างได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้าประกันสังคม
คนต่างด้าวต้องทำประกันสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๔.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการต่างประเทศ เห็นควรสนับสนุนการบริหารจัดการให้แรงงานต่างด้าวในไทยมีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
และเพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิที่พึงได้ตามกฎหมาย และอาจพิจารณาแจ้งแนวทางดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของราชอาณาจักรกัมพูชา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามทราบและปฏิบัติให้สอดคล้องกันด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) | นร.04 | 07/09/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๗ กันยายน ๒๕๖๗) เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. .... | คค. | 06/08/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ
หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ
และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ
หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ
และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. ๒๕๕๖
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ และสภาพการณ์ในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เช่น ร่างข้อ ๗ (๑) “ประตูรถ” เห็นควรใช้คำว่า “ประตูยานพาหนะ” เนื่องจากต้องคำนึงถึงประตูยานพาหนะประเภทอื่นด้วย ควรตัดคำว่า “อย่างหนึ่งอย่างใด”
ออก ในร่างข้อ ๗(๑) - (๘) ร่างข้อ ๘ (๑) - (๓) ร่างข้อ ๙ (๑) - (๑๒) ฯลฯ
เนื่องจากควรกำหนดให้มีอุปกรณ์ครบทุกรายการ ร่างข้อ ๙ ควรกำหนดให้ทางลาดสำหรับจุดจอดรถประจำทางต้องไม่ชัน
ร่างข้อ ๑๑ ควรเพิ่มอุปกรณ์แจ้งเตือนภัยสำหรับคนหูหนวกและควรมีอุปกรณ์นำพาคนพิการขึ้นและลงขนส่งท่าเทียบเรือ
และควรมีประกาศกำหนดจำนวนรถวีลแชร์ในเรือโดยสาร
รวมถึงประกาศเตือนทางเสียงและตัวอักษร
และวิธีการที่จะทำให้คนพิการเข้าถึงได้โดยสะดวก เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดดำเนินการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก
หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง
เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในบริการขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายในกรอบระยะเวลาของแผนการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับบริการขนส่งสาธารณะ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงคมนาคมประสานการดำเนินการในเรื่องนี้กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของของมนุษย์
(กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) อย่างใกล้ชิดด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายงานผลการดำเนินการสถาบันการเงินประชาชนประจำปี 2566 | กค. | 23/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการของสถาบันการเงินประชาชนประจำปี
๒๕๖๖ ของคณะกรรมการพัฒนาระบบสถาบันการเงินประชาชน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๙ (๑๓)
แห่ง พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑)
ในปี ๒๕๖๖ คณะกรรมการฯ ได้ออกประกาศคณะกรรมการฯ เพิ่มเติมจำนวน ๑ ฉบับ (จากเดิม ๑๙
ฉบับ) เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบสถาบันการเงินประชาชน
ส่งผลให้มีประกาศคณะกรรมการ ภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๒
รวมทั้งสิ้น ๒๐ ฉบับ ๒) ณ สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๖๖
มีสถาบันการเงินประชาชนที่ได้รับจดทะเบียนจัดตั้ง สะสมรวมทั้งสิ้น ๑๘ แห่ง
มีสมาชิกรวม ๕,๐๗๑ คน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ
๑๑๐.๓๓) ยอดเงินค่าหุ้นรวม ๖๓.๓๖ ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ ๙๖.๒๑)
ยอดเงินรับฝากรวม ๒๒๕.๘๓ ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ ๑๘.๑๔) ยอดเงินกู้รวม
๑๘๓.๒๘ ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ ๖๓.๓๐) และผลกำไรสุทธิรวม ๗.๒๑ ล้านบาท
(เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ ๒๒.๗๗) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | แนวทางในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติเพื่อรองรับการเกษียณผ่านโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ | กค. | 16/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการตามแนวทางในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ
(กอช.) เพื่อรองรับการเกษียณผ่านโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว
กอช. จะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายได้เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๔ ในส่วนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน และมอบหมาย กอช.
ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
ในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการดำเนินโครงการสลากสะสมทรัพย์ฯ ข้างต้นต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเงินรางวัลที่จะขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำทุกปีนั้น
ให้กระทรวงการคลังพิจารณาถึงความคุ้มค่า ต้นทุน ความจำเป็นเร่งด่วน
ความเหมาะสมกับสภาวการณ์ และประโยชน์สูงสุดของทางราชการและที่ประชาชนจะได้รับ โดยให้คำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน
และพิจารณาแนวทางในการบริหารเงินสะสมที่สมาชิกซื้อสลากเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม
รวมทั้งความเป็นไปได้ในการนำผลตอบแทนดังกล่าว หรือรายได้อื่นใดมาสมทบกับเงินรางวัลที่ภาครัฐจะต้องสนับสนุน
เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับการดำเนินโครงการและลดภาระงบประมาณในระยะยาวของภาครัฐ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังและกองทุนการออมแห่งชาติดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นควรพิจารณาขยายผู้มีสิทธิซื้อสลากฯ
ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ ข้าราชการ พนักงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
กลุ่มแรงงานในระบบ กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตราต่าง ๆ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ ฯลฯ เพื่อให้มีเงินออมที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตยามเกษียณได้อีกช่องทางหนึ่ง
ควรพิจารณามาตรการสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมการออมหรือแนวทางการเพิ่มมูลค่าและสวัสดิการอื่น
ๆ เพิ่มเติม เช่น การออมเงินที่คุ้มครองชีวิตและสุขภาพในรูปแบบของประกัน เป็นต้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เห็นควรพัฒนาแพลตฟอร์มโดยเน้นการสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบเพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลกับการฉ้อโกงและการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อสร้างความมั่นใจและความสะดวกสำหรับการซื้อสลากแบบออนไลน์
และควรคำนึงถึงการเชื่อมโยงแอปพลิเคชันภาพรวมและฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในด้านความสะดวกในการใช้งานและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านอื่น
ๆ ที่อาจมีความเกี่ยวข้องเชิงนโยบายภาครัฐ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ขอขยายระยะเวลาการดำเนินงานของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ | กษ. | 16/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินงานของกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศออกไปเป็นเวลา
๒๐ ปี (ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ - ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๘๗)
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ สกช. ๐๔๐๔/๑๐๒๒ ลงวันที่ ๒๔
พฤษภาคม ๒๕๖๗) และคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดตั้งกองทุนโดยตราเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา
๖๓ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกอบกับมาตรา ๑๔
แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๒ ปี |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | โครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 | กษ. | 02/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประมูลสิทธิ์จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. ๒๕๗๒ อนุมัติองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. ๒๕๗๒ ตามที่เสนอ และเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณารายละเอียดเอกสารสัญญา ให้มีความรอบคอบ รัดกุม
และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย เช่น กระทรวงการคลัง เห็นควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการควบคุม และกำกับดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่าการดำเนินการใด ๆ
ในเขตพื้นที่ป่า ขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | มท. | 11/06/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ. ๒๕๖๒ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบด้วย ๑) สถานการณ์ด้านการผังเมืองของประเทศไทยในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ๒) ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๖๒ ๓)
ผลการดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ของการวางและจัดทำผังเมือง ๔) การดำเนินการอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ. ๒๕๖๒ ๕) การพัฒนาเมือง และ ๖)
การดำเนินงานเพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการผังเมืองและการพัฒนาเมือง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขออนุมัติเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันงบประมาณการก่อสร้างระบบระบายน้ำถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ระยะที่ 1 เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี | มท. | 23/04/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายการการก่อสร้างระบบระบายน้ำถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก
ระยะที่ ๑ เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จากเดิม ๖๕๕,๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็น
๖๘๐,๒๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งเกินกว่าวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณไว้เดิม
(รวมเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด) จำนวน ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งขออนุมัติขยายระยะเวลาการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายการดังกล่าว
จาก ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕ เป็น
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย
(เมืองพัทยา) การรถไฟแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม และกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
หากโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้รับผลกระทบและต้องมีการปรับรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้รับความเห็นชอบเดิม
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเสนอรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามขั้นตอนการพิจารณารายงานต่อไป
และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยเมืองพัทยา
ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลการก่อสร้างโครงการฯ ให้เป็นไปตามแผนงาน
เพื่อให้โครงการฯ สามารถดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้
รวมถึงให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาโครงข่ายลำคลองระบายน้ำตามธรรมชาติให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
โดยเฉพาะคลองนาเกลือ ซึ่งเป็นคลองที่รับการระบายน้ำจากโครงการฯ ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
พร้อมทั้งจัดทำแผนการจัดการขยะตามแหล่งชุมชนใกล้แหล่งน้ำควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อป้องกันมิให้มีการทิ้งขยะมูลฝอย
สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย หรือของเสียลงสู่แหล่งน้ำและทางระบายน้ำสาธารณะ
ซึ่งจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเน่าเสียและปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่บริเวณโดยรอบได้อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบางส่วนแก่นายจ้าง ซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย พ.ศ. .... | รง. | 09/04/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบางส่วนแก่นายจ้าง
ซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการไม่ให้นำบทบัญญัติบางส่วนในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑
มาใช้บังคับกับนายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
เพื่อให้ลูกจ้างดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเพิ่มขึ้น
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่เห็นควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบถึงสิทธิประโยชน์ตามร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2023 | กต. | 06/02/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมระดับสูงในห้วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๓ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่
๑๑-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้หัวข้อหลัก
คือ “การสร้างอนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับทุกคน” (Creating a Resilient and Sustainable Future for
All) และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าตามตารางติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคและการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค
ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๓ โดยผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญในการส่งเสริมความเชื่อมโยง
ผ่านการสร้างสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เอื้ออำนวย การปรับใช้นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในการรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
ภัยพิบัติและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการเสริมสร้างความครอบคลุม
โดยมุ่งเน้นการผลักดันความเท่าเทียมทางเพศ
ส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่มต่าง ๆ
ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ประเด็นการต่างประเทศ มุ่งเน้นการสนับสนุนให้ไทยสามารถเชื่อมโยงกับภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ
ส่งเสริมความร่วมมือกับมิตรประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสและลดอุปสรรคทางเศรษฐกิจของไทย ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ ในหมุดหมายที่ ๕ ที่มุ่งเน้นให้ไทยเป็นประตูการค้า การลงทุน
และยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยกระทรวงการต่างประเทศจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานตามที่มอบหมายดังกล่าว
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์และประโยชน์ที่มีต่อประเทศไทยให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบ
ทั้งนี้ สำนักงานฯ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักในคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค
จะดำเนินการตามข้อเสนอแนะของรายการงานทบทวนระยะกลาง
การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค
โดยจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามความก้าวหน้า
ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การบังคับใช้มาตรฐานระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 และยูโร 6 | นร. | 09/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่ประเทศไทยได้เริ่มใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานยูโร
๕ ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา นั้น
ถือเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายในที่สำคัญของประเทศ
รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองที่เกิดจากรถยนต์ด้วย อย่างไรก็ตาม
การดำเนินการเพื่อยกระดับมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ในระยะต่อไปจากมาตรฐานยูโร
๕ เป็นมาตรฐานยูโร ๖
โดยเฉพาะกรณีรถยนต์ดีเซลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นหลักจะส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจและเศรษฐกิจในวงกว้าง
เช่น ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนส่ง การขนส่งข้ามแดน
ความพร้อมของผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ นอกจากนี้
ในปัจจุบันประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่บังคับใช้มาตรฐานยูโร
๖ แล้ว ดังนั้น จึงขอมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการบังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ตามมาตรฐานยูโร
๖ ผ่านกลไกคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามขั้นตอน ให้รอบคอบ เหมาะสม
โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|