ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 11 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 204 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 | พน. | 12/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า
(Transmission System Improvement
Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่
ระยะที่ ๓ (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) และอนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ และปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๑๘๙๓๙ ลงวันที่๑๕ กันยายน ๒๕๖๔)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่
สกพ ๕๕๐๑/๐๐๓๖ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔) เช่น
ควรศึกษาและพิจารณาแนวทางการดำเนินการไม่ให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศ
ควรกำหนดมาตรการบริหารจัดการเงินและการลงทุนให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็วเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ตามแผนงานที่วางไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานกำกับการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า
และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ระยะที่ ๓
ให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการเพิ่มเติม
ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนของทั้งสองโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 10 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 มกราคม 2565) | นร.04 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๑๐ (ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔-๓๑ มกราคม ๒๕๖๕)
ซึ่งสรุปรายงานดังกล่าวเป็นการรายงานผลการดำเนินงานตาม (๑) นโยบายหลัก ๑๒ ด้าน
เช่น การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ
การทะนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก
การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
เป็นต้น และ (๒) นโยบายเร่งด่วน ๑๐ เรื่อง เช่น
การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน
การปรับปรุงระบบสวัสดิการคุณภาพชีวิตของประชาชน
มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม การยกระดับศักยภาพของแรงงาน
การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต
การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
ตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ) | กค. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(การขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ) โดยมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากผู้ผลิตออกไปอีกเป็นระยะเวลา
๓ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่า เพื่อเป็นการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ควรพิจารณามาตรการอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย ทั้งที่เป็นมาตรการแบบบังคับและแบบสมัครใจ
เช่น การดำเนินมาตรการภาษีภาคบังคับในช่วงเวลาที่เหมาะสม
หรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกเปลี่ยนมาใช้เม็ดพลาสติกชีวภาพเพื่อการผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม
และดำเนินมาตรการตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.
๒๕๖๑ ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ
จัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการที่ได้จัดทำตามวรรคหนึ่งเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกสิ้นปีงบประมาณ
จนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2565 | คค. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | การขอความเห็นชอบการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนายวันชัย รุจนวงศ์ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเด็ก | พม. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนายวันชัย
รุจนวงศ์
ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเด็ก ต่อไปอีก ๓ ปี (วาระตั้งแต่ ๗ เมษายน ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๘)
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของประเทศไทย (ASEAN Minister in Charge of Social Welfare and
Development of Thailand) มีหนังสือแจ้งเรื่องการต่อวาระการดำรงตำแหน่งของนายวันชัย
รุจนวงศ์ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเด็ก ต่อไปอีก ๓ ปี ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน ในโอกาสแรก
ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รายการค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ
ที่เสนอตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณต่อ ๆ
ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวเพื่อให้รับสารภาพ | สม. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวเพื่อให้รับสารภาพ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยมีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้งในเรื่องการผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓
เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว และอยู่ในชั้นการพิจารณาของวุฒิสภา
การให้มีการบันทึกภาพและเสียงเหตุการณ์ในขณะควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้
ซึ่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค ๔ ส่วนหน้า
ได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว รวมทั้งการให้คณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญนำข้อมูลตามรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
147 | ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. .... | นร.05 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่งสำหรับปี
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
148 | ผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในปีงบประมาณ 2564 นโยบายของคณะกรรมการ และโครงการและแผนงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในอนาคต | คค. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
(รฟม.) ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ นโยบายของคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
และโครงการและแผนงานของ รฟม. ในอนาคต สรุปได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินงาน เช่น
ด้านการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ด้านการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ด้านการเงิน
ด้านการพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล ด้านการกำกับดูแลที่ดี (๒)
นโยบายของคณะกรรมการฯ เช่น ให้บริการรถไฟฟ้าด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตรงเวลา
ประหยัด โดยคำนึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่ม เร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง
ๆ ให้แล้วเสร็จและเปิดบริการได้ตามแผนงาน และ (๓) โครงการและแผนงานของ รฟม.
ในอนาคต เช่น การเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ระบบตั๋วร่วม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
149 | ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง | กษ. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) ดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง ภายในกรอบวงเงิน
๓,๕๖๑,๖๒๐,๐๐๐ บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ ๔ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕-พ.ศ. ๒๕๖๘)
สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่ดินและการแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ใช้จ่ายจากรายการค่าซื้อที่ดิน ค่าทดแทน ค่ารื้อย้ายในการจัดหาที่ดิน
จำนวน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และรายการค่าใช้จ่ายตามแผนการป้องกัน แก้ไข
และพัฒนาสิ่งแวดล้อม จำนวน ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท ที่ได้จัดสรรงบประมาณรองรับไว้แล้ว
ส่วนที่เหลือขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความสามารถในการใช้จ่ายและการก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเคร่งครัด
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความพร้อม ความจำเป็นและเหมาะสม
ตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น (๑)
กรมชลประทานควรวางแผนการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบน้ำที่มีอยู่เดิมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC) กับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง (๒)
กรมชลประทานควรดำเนินการตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ เช่น เร่งรัดออกแบบระบบส่งน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ชลประทานเต็มศักยภาพ
ศึกษาความเป็นไปได้การเชื่อมโยงกับโครงข่ายน้ำกับพื้นที่ EEC เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) เร่งรัดการดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑
ให้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการอ่างก็บน้ำคลองโพล้
จังหวัดระยอง ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
150 | ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ยธ. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อกำหนดให้มีเครื่องแบบปฏิบัติงานปราบปราม
และแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะและเครื่องประกอบของหมวก
เครื่องหมายแสดงสังกัดประดับปกคอเสื้อของเครื่องแบบปฏิบัติงานตามปกติ และอินทรธนู
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
151 | การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล | รง. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา
๑๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
สำหรับลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินวันละ ๑,๕๐๐ บาท
และสำหรับบุคคลในครอบครัวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินวันละ ๑,๑๐๐ บาท ซึ่งสิทธิสำหรับบุคคลในครอบครัวจะต้องเป็นสิทธิที่อยู่เดิม
ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการดำเนินการดังกล่าวแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงิน
ผลการดำเนินงานของกิจการ ขีดความสามารถในการหารายได้
และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อมิให้กระทบต่อการใช้จ่ายเงินทุนสำหรับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
152 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ปัญหาข้อขัดข้องในกระบวนการสรรหาขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา | สว. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง ปัญหาข้อขัดข้องในกระบวนการสรรหาขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
วุฒิสภา โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า (๑)
การบันทึกเหตุผลในการเลือกบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
ควรบัญญัติไว้ในกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการใช้ประกอบการพิจารณาของวุฒิสภาในการให้ความเห็นชอบและเพื่อประโยชน์ให้สาธารณชนได้รับทราบ
(๒) การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์กรอิสระ
รวมทั้งการกำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งกำหนดไว้ค่อนข้างสูง
ควรที่จะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ (๓)
การกำหนดองค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการสรรหาในระดับเดียวกับกรรมการในองค์กรอิสระที่ก่อให้เกิดความยากลำบากในการเลือกบุคคลเข้ามาเป็นกรรมการสรรหา
ควรที่จะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ตามที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
153 | ร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ. 2565 - 2570 | นร.10 | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบและกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการรักษาจริยธรรมและส่งเสริมพัฒนาจริยธรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการจัดทำแผนงาน
มาตรการ เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรักษาจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม ซึ่งร่างยุทธศาสตร์ฯ
ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว
ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
154 | แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566 - 2570 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และข้อเสนอแผนงานโครงการของส่วนราชการที่สอดคล้องกับร่างกรอบแผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566 - 2570 ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.11 สศช | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการบูรณาการนโยบายการพัฒนาภาค
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบูรณาการนโยบายการพัฒนาภาคเสนอ
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ จำนวน ๗๖ จังหวัด และ ๑๘
กลุ่มจังหวัด ๒.
เห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
จำนวน ๗๖ จังหวัด และ ๑๘ กลุ่มจังหวัด รวมทั้งสิ้น ๑,๘๕๔ โครงการ งบประมาณรวม
๔๐,๘๒๒.๖๐ ล้านบาท
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
155 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ของรัฐสภา | สผ. | 05/04/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด
พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ของรัฐสภา โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาและปรับลดอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทน
รวมถึงการยกเลิกการจ่ายเงินค่าตอบแทนในหลายกรณี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่
และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓
โดยยังคงให้มีการจ่ายค่าตอบแทนเฉพาะในส่วนที่มีความจำเป็นเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสืบสวนปราบปรามเท่านั้น
ประกอบกับอัตราการจ่ายและเพดานการจ่ายในปัจจุบันมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
156 | การขอขยายระยะเวลาการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลตามพันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา ครั้งที่ 3 | กห. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
157 | ร่างพระราชกฤษฎีกาขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 พ.ศ. .... | ยธ. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๑)
พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๑) ออกไปอีก
๕ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๐
เพื่อให้แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภาตามมาตรา
๑๕๐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ผ่านการอบรมทางนิติเวชศาสตร์ไปร่วมตรวจชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุในเบื้องต้นแทนแพทย์
ในกรณีที่ต้องชันสูตรพลิกศพตามมาตรา ๑๔๘ (๓) (๔) และ (๕) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งผลิตแพทย์นิติเวชศาสตร์ให้เพียงพอแก่การดำเนินการชันสูตรพลิกศพตามมาตรา
๑๕๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและเร่งจัดให้มีการอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์ให้แก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้สามารถออกชันสูตรพลิกศพแทนแพทย์ตามมาตรา
๑๔๘ (๓) (๔) และ (๕) ได้ต่อไป
และรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุด
ที่เห็นว่าจำเป็นต้องต้องมีการดำเนินงานที่เห็นเป็นรูปธรรมและมีความเป็นไปได้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ความรู้ทางนิติเวชศาสตร์กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้มีความเชี่ยวชาญและสามารถออกชันสูตรพลิกศพแทนนายแพทย์ให้มากขึ้นทุกพื้นที่ในจำนวนที่เพียงพอต่อปริมาณคดีและจำนวนผู้สียชีวิต
และควรเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ให้เพียงพอต่อความต้องการต่อไป
ไปประกอบการพิจารณาด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
158 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายสมพร อารยชาติสกุล) | กษ. | 29/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายสมพร อารยชาติสกุล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งวิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ
กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านควบคุมการก่อสร้าง)
(วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๖
สิงหาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
159 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พ.ศ. .... | นร.01 | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา
๑๕ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา
๑๕ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
ให้สอดคล้องกับระดับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น
ควรกำหนดขอบเขตประเภทหรือระดับตำแหน่งของผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้มีความชัดเจน
และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีควรเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุมประเภทและระดับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น
ๆ ด้วย เช่น กองทุนที่เป็นนิติบุคคล หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ สถาบันภายใต้มูลนิธิ
อันจะช่วยให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นว่ากรณีของรัฐที่มีการจัดตั้งใหม่ เช่น
องค์การมหาชนที่มีการจัดตั้งขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ
มีผลใช้บังคับอาจต้องพิจารณากำหนดหรือปรับปรุงรายชื่อหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นไว้ในร่างกฎกระทรวงฯ
ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
160 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาอนุมัติร่างระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ พ.ศ. ....
และเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๔,๐๐๐ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าพัฒนาโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บริเวณตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวนประมาณ ๑๔,๖๑๙ ไร่
เพื่อการพัฒนาโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะได้ตามนัยมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓.
รับทราบว่า
ปัจจุบันมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในบริเวณตำบลห้วยใหญ่
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ยังไม่ยินยอมให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจง
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว
เพื่อให้สามารถเข้าใช้ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในความครอบครองของเกษตรกรกลุ่มดังกล่าว
เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะได้ต่อไป |