ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 11 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 204 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ จังหวัดสุรินทร์ | กษ. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในการให้ความช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ
จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๖๔ แปลง เนื้อที่ ๕๑๒-๑-๕๖ ไร่
เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยา
และบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเป็นธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการชลประทานของรัฐ
สำหรับอัตราค่าชดเชยที่จะต้องจ่ายนั้น
เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาตามหลักการที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นชอบไว้ในการประชุมคณะทำงานตรวจสอบพิสูจน์สิทธิย้อนหลังและแสวงหาราคาค่าทดแทน
โดยกรณีการจ่ายเงินทดแทนค่าขนย้าย (ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์)
เป็นการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาความเสียหายตามหลักมนุษยธรรม
ไม่ใช่การจ่ายเงินทดแทนค่าที่ดิน
จึงไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยโดยใช้ราคาซื้อขายที่ดินมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา
โดยเห็นควรใช้แนวทางการพิจารณากำหนดจำนวนเงินตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๒
เพื่อมิให้มีค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าที่รัฐได้เคยจ่ายชดเชยสำหรับที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์
อันจะนำไปสู่กรณีกลุ่มราษฎรจะมาเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินชดเชยในลักษณะเดียวกันตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ดังกล่าว
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม .ถูกต้อง เป็นธรรม
และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ครอบคลุมในทุกมิติอย่างรอบคอบตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
เร่งดำเนินการจ่ายค่าทดแทนให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยเร็วและเป็นธรรม การขออนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนค่าชดเชย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
122 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร | กษ. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) จ่ายเงินชดเชยเป็นกรณีพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการเขื่อนน้ำอูน
จังหวัดสกลนคร เฉพาะในส่วนราษฎรที่ตกค้างยังไม่เคยได้รับเงิน จำนวน ๒๙๕ ราย รายละ
๑๕ ไร่ ในอัตราไร่ละ ๑๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่เคยจ่ายให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการนี้ไปแล้วจำนวน
๒,๒๘๕ ราย
สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินตามข้อ
๑ ให้รอบคอบ ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม
๒๕๖๔ (เรื่อง
แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล)
โดยไม่ควรกำหนดให้คณะกรรมการที่จัดตั้งตามคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นทำงานปกติประจำ ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
การอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามระเบียบกฎหมายให้ถูกต้องต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
123 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
124 | การดำเนินโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์”บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ โดยบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด | กค. | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมธนารักษ์ และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ดำเนินโครงการ
“ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์” บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ
โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล
(คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) กรอบงบลงทุนของโครงการฯ ประมาณ ๑,๓๔๕.๙๓๔ ล้านบาท และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ
บนเงื่อนไขที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดเท่านั้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามมติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่
๑ กันยายน ๒๕๖๔ (ตามหนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/ว ๕๕๙๘ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔) รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรเพิ่มกิจกรรมการจ้างงานผู้สูงอายุให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อการสร้างรายได้และพึ่งตนเอง
ควรกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้สามารถนำไปปรับแผนการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและทันต่อบริบทของสังคมผู้สูงอายุ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
125 | การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศและคำมั่นโดยสมัครใจของไทย | กต. | 17/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาความคืบหน้าของการดำเนินการตามการรับรองข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย
เป็นระเบียบ และปกติ (Global Compact for
Safe, Orderly and Regular Migration : GCM)
และเห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยร่วมรับรองร่างปฏิญญาความคืบหน้าฯ ในเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ
รวมทั้งให้ความเห็นชอบต่อร่างคำมั่นโดยสมัครใจของไทยเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย
เป็นระเบียบ และปกติ เพื่อให้คณะผู้แทนไทยประกาศในเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับข้อสังเกตของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เห็นว่าอาจไม่มีความจำเป็นในการตั้งเป้าหมายตัวเลขค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างประเทศ
เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการและเป็นไปตามระดับความพร้อมของแต่ละประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาความคืบหน้าของเวทีทบทวนการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
126 | (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2580) | นร.11 สศช | 17/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
รับทราบข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรตาม (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว
(พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐) มีประเด็นสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการไปพร้อมกันด้วย
ดังนี้ ๑.๑.
ปรับปรุงโครงสร้างระบบภาษีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่แรงงานในระบบจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะภาษีเงินได้ ๑.๒.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กองทุนสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
ที่มีอยู่และที่อาจจะตั้งขึ้นในอนาคตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่มีเงินกองทุนเท่าเดิมหรือน้อยลงซึ่งจะส่งผลต่อภาระด้านการเงินการคลังของรัฐในระยะยาว
จึงต้องปรับปรุงระบบสวัสดิการให้เหมาะสม ๑.๓.
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงของชาติในภาพรวมเนื่องจากจำนวนกำลังพลจะน้อยลง
หน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพจึงต้องพัฒนาให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย ๒
เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ
และพัฒนาระบบที่เอื้อต่อการมีและเลี้ยงดูบุตร (๒) การพัฒนายกระดับผลิตภาพประชากร
(๓) การยกระดับความมั่นคงทางการเงิน (๔) การสร้างเสริมสุขภาวะ
เพื่อลดการตายก่อนวัยอันควรและมีระบบดูแลระยะยาวและช่วงท้ายของชีวิต (๕)
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพกับทุกกลุ่มวัย และ (๖)
การบริหารจัดการด้านการย้ายถิ่นฐาน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดของการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่ ๗
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ในประเด็นการปรับลดกำลังคนภาครัฐ
สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนางานให้มากขึ้น
ควรมุ่งเน้นประเด็นความเหมาะสมและสมดุลของโครงสร้างประชากรทุกกลุ่มวัยให้ชัดเจน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
127 | ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคม
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาและคณะกรรมการการแพทย์
แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการประกันสังคมมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารพนักงานและลูกจ้าง
รวมทั้งการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๙
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกันตนเกี่ยวกับสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
การให้ผู้รับบำนาญสามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเป็นการเหมาจ่าย รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราการได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ หลักเกณฑ์การรับเงินบำนาญชราภาพ
และหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน ก.พ. เช่น
มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ให้ความสำคัญกับประเด็นกลุ่มแรงงานนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครองของระบบประกันสังคมเพิ่มมากขึ้น
กำหนดอายุทดแทนกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนที่มีอายุห้าสิบปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึงหกสิบห้าปีบริบูรณ์ให้สอดคล้องกับการจ้างงาน
และควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณา
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเงินการคลังของกองทุนประกันสังคมต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงบประมาณ
และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงหลักประกันชราภาพในรูปแบบที่หลากหลาย
รองรับสภาวการณ์ที่มีความเป็นพลวัตรมากขึ้น
เพื่อความมั่นคงทางรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ผู้ประกันจะได้รับ
โดยเฉพาะการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน
รวมทั้งการวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว ควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางรายได้ยามชราภาพของผู้ประกันตน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
128 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กบส. ครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๕ และรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอ กบส. ตามขั้นตอนต่อไป
สรุปได้ ดังนี้ (๑) ความก้าวหน้าระบบโลจิสติกส์ของไทย เช่น การพัฒนาระบบ National Single Window ซึ่งสามารถเชื่อมโยงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์กับสมาชิกอาเซียนได้ทุกประเทศ
(๒) ความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีนและ
สปป.ลาว เช่น การบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
การก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ (๓)
แนวทางการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในการขนส่งสินค้า ซึ่ง กบส.
เห็นชอบในหลักการข้อเสนอการเปิดให้เอกชนดำเนินการขนส่งซึ่งไม่ใช่สินค้าของตนเองทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ
เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรถไฟมากขึ้น (๔) การชะลอการบังคับให้เรือชายฝั่งที่รับตู้สินค้าขาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังดำเนินการบรรทุกตู้สินค้าลงเรือที่ท่าเทียบเรือชายฝั่ง
(ท่าเทียบเรือ A) กบส. มีมติมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ทบทวนการขออนุญาตตามประกาศการท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้มีความชัดเจนและเหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ที่ประชุมร่วมไตรภาคี
ไทย-ลาว-จีน เร่งรัดเจรจาให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม
๒๕๔๒ เรื่อง ผลกระทบจากการก่อสร้างถนนเลียบแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย บริเวณอำเภอเบตง
จังหวัดยะลา และวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เรื่อง
การระงับการก่อสร้างถนนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์
อย่างเคร่งครัด
เร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
รองรับประมาณการนำเข้า ส่งออกสินค้าและการเดินทางจากการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน
และ สปป. ลาว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
129 | ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (13th IMT-GT Summit) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
130 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว | ทส. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
เพื่อดำเนินการสร้างสวนรุกขชาติ และอนุมัติให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ รวมทั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช
ควรประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศให้พิจารณาข้อกำหนดการดำเนินงานต่าง ๆ
ไม่ขัดต่อกฎระเบียบและกฎหมายด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
ทั้งในด้านการดำเนินโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว และการใช้งบประมาณ
เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสองประเทศต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
131 | ขอความเห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565 | กษ. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๓-๒๕๖๕ ตามความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการประมงทะเลต่อเนื่องจากแผนฉบับเดิม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน
กระทรวงอุตสาหกรรมสำนักงบประมาณ และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เช่น
ควรเพิ่มประเด็นการปรับปรุงห่วงโซ่มูลค่าสู่การประมงพื้นบ้าน
และพิจารณาการแก้ไขปรับปรุงพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ควรมีแผนป้องกันกรณีมีการปนเปื้อนมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
ควรเพิ่มกิจกรรมการตรวจหาสารเสพติดในแรงงานประมงผ่านศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงในแผนการบริหารจัดการฯ
ระยะต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งจัดทำแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของไทยในระยะต่อไปเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันในปี
๒๕๖๖ โดยให้นำข้อสังเกตของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ไปพิจารณาประกอบการจัดทำแผนดังกล่าวด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
132 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นายสัญญา มิตรเอม) | สพร. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายสัญญา มิตรเอม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล) ในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากได้ถึงแก่กรรม ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๒๖ เมษายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
133 | ผลการเยือนกรุงโตเกียวและจังหวัดคานากาวะ ประเทศญี่ปุ่น ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ระหว่างวันที่ 19 - 23 เมษายน 2565 | นร.13 | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
134 | ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 4 | พณ. | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑.๑
เห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint
Trade Committee : JTC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ ๔
ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว ในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ เมษายน ๒๕๖๕
ณ กรุงเทพมหานคร
โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาและเสนอประเด็นที่ประสงค์จะผลักดันในการประชุมดังกล่าว
โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น
การหารือแนวทางการเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกันเพื่อให้การค้าสองฝ่ายบรรลุเป้าหมาย
๒๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ๒๕๖๘
แนวทางการอำนวยความสะดวกนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตร
การพัฒนาความร่วมมือในสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพร่วมกัน แนวทางการพัฒนาความเชื่อมโยงของการขนส่งระหว่างสองประเทศ
และแนวทางการขยายความร่วมมือด้านแรงงาน ๑.๒ หากในการประชุมดังกล่าว
มีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น ๆ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับเวียดนาม
โดยไม่มีการจัดทำเป็นความตกลงหรือหนังสือสัญญาขึ้นมา
ขอให้กระทรวงพาณิชย์และผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
135 | รายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 | นร.12 | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ โดยเป็นการสรุปบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบจากโควิด-๑๙
ในภาพรวมของส่วนราชการและจังหวัด
ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและให้บริการประชาชนได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพหากเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ เช่น
การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลเพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐในการให้บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มบริการแบบเบ็ดเสร็จ
และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการทำธุรกรรมกับภาครัฐ
การจัดทำและทบทวนแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบ การให้บริการผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ๒.
เห็นชอบข้อเสนอแนะการบริหารงานและการให้บริการประชาชนกรณีเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้สำนักงาน
ก.พ.ร. ติดตามความคืบหน้าและรายงานต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
136 | ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าภายใต้แผนงาน The Programme for COVID-19 Crisis Response Emergency Support จากรัฐบาลญี่ปุ่น | กต. | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
137 | ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | ดศ. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล
ครั้งที่ ๒ (The 2nd ASEAN Digital Ministers Meeting : The 2nd
ADGMIN) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ มกราคม ๒๕๖๕ โดยมีผลการประชุมที่สำคัญ เช่น
การร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความก้าวหน้าการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีในภูมิภาค
รับทราบผลการดำเนินงานสำคัญ ปี ๒๕๖๔ แผนการดำเนินงานในปี ๒๕๖๕
และการรับรองเอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุมฯ ๓ ฉบับ ได้แก่
แผนปฏิบัติการว่าด้วยการดำเนินงานหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน
ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ปี ค.ศ. ๒๐๒๑-๒๐๒๕ แถลงข่าวร่วมของการประชุม ADGMIN และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง และร่างปฏิญญาเนปิดอว์
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
138 | การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 | กค. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
139 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย | กต. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
140 | ขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนระหว่างกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | อว. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ
กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้ลงนามในกรอบความร่วมมือฯ
ร่วมกับผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ (นายหม่า เจี้ยนเฟย)
(คาดว่าจะจัดให้มีพิธีลงนามในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๕ และกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะได้เรียนเชิญสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี
ประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ลงนามเป็นพยาน) โดยร่างกรอบความร่วมมือฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความร่วมมือในด้านการแลกเปลี่ยนภาษาวัฒนธรรม
การพัฒนาหลักสูตรภาษาจีนและการสอนภาษาจีนและอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างกรอบความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|