ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 11 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 204 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคม แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam | ดศ. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call
Center และ Hybrid Scam (Memorandum of Understanding
between the Ministry of Digital Economy and Society of the Kingdom of Thailand
and the Ministry of Post and Telecommunications of the Kingdom of Cambodia on
Cooperation for Suppressing Call Center Gang and Hybrid Scam) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ (จะมีการลงนามในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕) โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามแก๊ง Call
Center และ Hybrid Scam โดยกำหนดกิจกรรมความร่วมมือในเรื่องต่าง
ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิค
และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid
Scam การแต่งตั้งผู้ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสืบหาหลักฐานในประเทศไทยและกัมพูชา
และการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่จะมุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จึงไม่ใช่สนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเห็นควรเร่งดำเนินการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
(Digital Literacy) รวมทั้งการรู้เท่าทันภัยที่มากับสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับประชาชน
เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมอันเกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับประเทศ
และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนทุกภาคส่วนในการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล
ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | หนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฮังการีเพื่อการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ ในการได้มาซึ่งที่ดิน อาคาร และห้องชุด สำหรับใช้เป็นที่พำนักและที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลในดินแดนของแต่ละฝ่าย | กต. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนที่เกี่ยวข้องในการซื้อขายที่ดิน
อาคาร และห้องชุด
เพื่อใช้เป็นที่พำนักและที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลในดินแดนของแต่ละฝ่าย
ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฮังการีบนหลักประติบัติต่างตอบแทน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
โดยร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ระบุเกี่ยวกับ (๑)
ให้รัฐบาลแต่ละฝ่ายมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาคาร
และห้องชุดในดินแดนของอีกฝ่าย และ (๒) แต่ละฝ่ายจะได้รับการยกเว้นภาษี ค่าบำรุง
และค่าธรรมเนียมการโอนทั้งปวง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมึความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณที่เห็นว่า
หากการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคตก็ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย และหากมีค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 7 | กต. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
ครั้งที่ ๗ จำนวน ๕ ฉบับ ซึ่งเป็นเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมฯ
ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ที่เมืองพุกาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์ฯ
ตามที่ประเทศสมาชิกมีฉันทามติ โดยร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ทั้ง ๕ ฉบับ ประกอบด้วย (๑) แถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
ครั้งที่ ๗ (๒) แถลงการณ์ณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ
ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (๓) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร
ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (๔) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านศุลกากรเพื่อการส่งเสริมการค้าและการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร
ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และ (๕)
แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างอารยธรรม
ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในระดับรัฐมนตรีระหว่างประเทศสมาชิก
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การบริหารจัดการภัยพิบัติ
การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาระบบศุลกากร
และการร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | รายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญ รอบ 12 เดือน ปี 2564 | กค. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญ
รอบ ๑๒ เดือน ปี ๒๕๖๔ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(สำนักงาน คปภ.) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ภาพรวมธุรกิจประกันภัยของไทย รอบ ๑๒ เดือน
ปี ๒๕๖๔ ขยายตัวร้อยละ ๓.๒๙ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและคาดการณ์ว่า
ในปี ๒๕๖๕ ธุรกิจประกันภัยจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ ๐.๘๔ ถึง ๒.๘๔ (๒) การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน
คปภ. ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๖) และตามนโยบายของรัฐบาล เช่น
พัฒนาเครื่องมือและเพิ่มมิติการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย
ยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านการประกันภัย (๓) มาตรการการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
ต่อผู้เอาประกันภัย ประชาชน ภาคธุรกิจประกันภัย และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เช่น
มาตรการให้บริษัทสามารถให้ส่วนลดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโควิด-๑๙
และขยายสิทธิให้ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนามและหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ
(๔) การประเมินผลการดำเนินงานปี ๒๕๖๔ มีค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักรวมอยู่ที่ ๔.๗๐
จากคะแนนเต็ม ๕ คะแนน และ (๕) ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการปี ๒๕๖๔
มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดที่ร้อยละ ๙๓.๒๐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกิจการศูนย์ข้อมูล (Data Centre)] | กค. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
[มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกิจการศูนย์ข้อมูล (Data Centre)]
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบกิจการศูนย์ข้อมูล (Data
Centre)
เพื่อการให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงความจำเป็น
และประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
และพิจารณากำหนดระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกิจการศูนย์ข้อมูล(Data Centre)
รวมทั้งมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบติดตามประเมินผลการดำเนินมาตรการและพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขของมาตรการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขความจำเป็นในแต่ละช่วงเวลา
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) | กค. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา
๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นอากรสำหรับที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก
(Car seat) ตามประเภทย่อย ๙๔๐๑.๘๐.๐๐ รหัสย่อย ๐๑ เฉพาะที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กนำเข้ามา
ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ร่างประกาศฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติ ที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรเพิ่มเหตุผลการยกเว้นอากรไว้ในร่างประกาศกระทรวงการคลังเพื่อให้เห็นความจำเป็นในการออกประกาศในครั้งนี้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติของมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็น
และประโยชน์ที่จะได้รับให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | โครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี | อก. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียโครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงสาธารณสุข ที่เห็นว่าในอนาคตเหมืองแร่ใต้ดินควรมีการสำรวจทดสอบชั้นหินและชั้นแร่ต่าง
ๆ ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม
การค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิศวกรรมและพฤติกรรมของวัสดุ
ควรต้องกำหนดการบริหารจัดการ
รวมทั้งมาตรการป้องกันการปนเปื้อนหรือแพร่กระจายของสารเคมีหรือวัตถุอื่นใดโดยเฉพาะเกลือและน้ำเค็ม
และคำนึงถึงทุกภาคส่วนอย่างรอบด้านทั้งด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สังคม
และเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๗
(เรื่อง รายงานข้อมูลข้อเท็จจริงกรณีโครงการทำเหมืองแร่โพแทชในประเทศไทย)
เฉพาะในส่วนของข้อ ๒ ๓.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่โพแทชให้ถูกต้อง
เหมาะสม คุ้มค่า มีความโปร่งใส เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
และกำกับดูแลผู้ประกอบการให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามรายงานผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการให้ครบถ้วน
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง
และกำหนดมาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint
Trade Committee : JTC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๐
เมษายน ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพมหานคร และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เป็นประธานร่วม
โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ (๑) เป้าหมายการค้า (๒)
ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าทวิภาคี เช่น ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า
ด้านการเกษตร และด้านการขนส่ง และ (๓)
ความร่วมมือด้านการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น การลงทุน การธนาคาร
และพลังงาน ๒.
มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุม JTC ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ ๔ เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-เวียดนาม
เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ตามตารางติดตามการดำเนินการ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ครั้งที่ 2 วงเงิน 2,039.21 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ (จำนวน 23 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท | คค. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ครั้งที่ ๒ วงเงิน
๒,๐๓๙.๒๑ ล้านบาท
ประกอบด้วย กรมทางหลวง จำนวน ๑,๕๓๖.๓๐ ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท
จำนวน ๕๐๒.๙๑ ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยพิบัติ
(จำนวน ๒๓ จังหวัด) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
รวมทั้งความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับรายการในส่วนที่เหลือ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๐/๖๖๔๘ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๕)
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และตรวจสอบรายละเอียดพื้นที่ดำเนินการให้สอดคล้องกับพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
และพื้นที่อยู่นอกเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ พ.ศ. .... | นร.01 | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการทั้งในกรณีจำเป็น
ฉุกเฉิน และในกรณีปกติ
เพื่อให้การดำเนินการของส่วนราชการเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกิดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ
เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของส่วนราชการและการให้บริการประชาชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรกำหนดรูปแบบหนังสือสั่งการตามข้อ ๗
ของระเบียบดังกล่าว เพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการได้อย่างถูกต้อง อาทิ
เป็นหนังสือภายใน คำสั่ง ระเบียบ ประกาศ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะรัฐมนตรีและสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานเป็นสำคัญ
ควรให้มีการติดตามและประเมินผลภายหลังร่างระเบียบนี้มีผลใช้บังคับเป็นระยะ
โดยครั้งแรกควรดำเนินการเมื่อครบ ๑ ปี นับแต่ระเบียบดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
และครั้งต่อไปควรดำเนินการทุก ๆ ๕ ปี ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย | กก. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) อาทิ (๑)
ควรจัดเก็บข้อมูลนักแสดงชาวต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย
และจัดส่งให้กรมสรรพากรเป็นระยะ และ (๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจด้านอื่น ๆ
ให้มากขึ้นควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการลดข้อจำกัดและกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายทำภาพยนตร์
การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนดำเนินการผลักดันมาตรการสร้างแรงจูงใจในด้านอื่น
ๆ
ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติในครั้งนี้ให้เหมาะสมและครอบคลุม
รวมทั้งให้พิจารณาแนวทางการดำเนินการส่งเสริมและยกระดับจังหวัดเมืองรองต่าง ๆ
ให้สามารถใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้นด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
112 | ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... | ยธ. | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.
๒๕๓๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น
และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนและพึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง
ตามบทบัญญัติมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อ ๑๑
ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่กำหนดให้บุคคลจะถูกจำคุกเพียงเพราะเหตุว่าไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญามิได้
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นว่าการออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
พ.ศ. ๒๕๓๔ ต้องเข้าองค์ประกอบตามมาตรา ๔
ซึ่งต้องพิจารณาองค์ประกอบในส่วนของผู้กระทำด้วย และคำนึงถึงมาตรการที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในการใช้เช็ค
เพื่อมิให้กระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจด้วย ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และสมาคมธนาคารไทย เช่น
สมควรที่ภาครัฐจะมีมาตรการหรือกฎหมายที่จะสามารถสร้างความเชื่อถือในการใช้เช็ค
อันเป็นตราสารที่มีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจการค้าของประเทศ
ควรมีการพิจารณาศึกษาการกำหนดมาตรการอื่นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการรับชำระหนี้โดยเช็คด้วย
ควรที่จะมีกฎหมายกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้มีเจตนาออกเช็คโดยไม่สุจริต เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
113 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายนันทิวัฒน์ สามารถ) | กต. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายนันทิวัฒน์ สามารถ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
114 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องนวดร่างกายต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องนวดร่างกายต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องนวดร่างกาย
เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศที่ใช้ในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
115 | ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 | กค. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
116 | ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และคณะในศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 | อว. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินของแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและคณะในศูนย์สุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ จำนวน ๓๕๒,๔๙๘,๘๐๐ บาท
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พิจารณาทบทวนการกำหนดจำนวนอัตรากำลังภายใต้แผนฯ
ให้เหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจเท่าที่จำเป็นและประหยัด
โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้
โดยเฉพาะรายได้หรือเงินนอกงบประมาณอื่นใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่หรือที่สามารถนำมาใช้จ่ายเป็นลำดับแรก
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกำกับเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ข้อสังเกตของสำนักงาน
ก.พ. รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น คณะในศูนย์สุขศาสตร์ควรพิจารณาทบทวนกรอบอัตรากำลังที่ขอรับการสนับสนุนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
พิจารณารูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ควรบูรณาการการทำงาน
และเชื่อมโยงฐานข้อมูลกำลังคนด้านสุขภาพและข้อมูลผู้ป่วยในพื้นที่
ทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
117 | การปรับลดพื้นที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ออกจากพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 19 กันยายน 2565) | นร.08 | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ปรับลดพื้นที่อำเภอยะหริ่ง
จังหวัดปัตตานี ออกจากพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อนำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
มาบังคับใช้แทน ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ๒.
เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
ยกเว้นอำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี
ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอไม้แก่น และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง
และอำเภอกาบัง ออกไปอีก ๓ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๑๙
กันยายน ๒๕๖๕ ๓. เห็นชอบและรับทราบร่างประกาศ ดังนี้ ๓.๑ เห็นชอบร่างประกาศ
เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส
ยกเว้นอำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี
ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอไม้แก่น และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง
และอำเภอกาบัง และร่างประกาศ เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ ๓.๒
รับทราบร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ
และร่างประกาศ เรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี รวม ๔ ฉบับ
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๔. ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
118 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.01 | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ในไตรมาสที่ ๑ ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
เพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน
และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑)
สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ ๑ ของปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์หมายเลขสายด่วน ๑๑๑๑
รวมทั้งสิ้น ๑๗,๖๘๗ เรื่อง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด
๙๓๐ เรื่อง สำหรับเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด คือ
การรักษาพยาบาล ๑,๗๓๖ เรื่อง ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
เช่น ขาดการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับโรคโควิค-๑๙ (๒) แนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ประสานแจ้งและขอความร่วมมือให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
เช่น ขอให้หน่วยงานเจ้าของข้อมูลจัดทำเนื้อหาข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง
โดยครอบคลุมประชาชนทุกภาคส่วนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
119 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. .... | อก. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน
พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๒ และผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๓
ทุกขนาด เป็นเวลา ๑ ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว
ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ตลอดจนรายงาน ติดตาม
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
120 | แต่งตั้งอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ) ประจำปี พ.ศ. 2565 (ฮ.ศ. 1443) | มท. | 07/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้
นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล เป็นอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์
อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (ฮ.ศ. ๑๔๔๓)
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมติ (๗ มิถุนายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
|