ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 11 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 205 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 | อก. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น
PM 2.5 ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเป็นกรณีเฉพาะเป็นการชั่วคราว
ภายในกรอบวงเงินโครงการ ๘,๓๑๙,๒๓๙,๐๑๐.๐๙ บาท
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงาน
และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
และเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเห็นควรให้มีระบบกลไกในการตรวจสอบให้มีมาตรฐาน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี
และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๗๖๒ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ให้เร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยให้ได้รับเงินโดยด่วน
และขอให้มีการกำกับดูแลการตรวจสอบการจ่ายเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ถูกต้อง ครบถ้วน โดยเคร่งครัด ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการลดพื้นที่เผาอ้อย
หาแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) อย่างยั่งยืน
เพื่อลดการใช้เงินงบประมาณจากภาครัฐ
บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
รวมถึงส่งเสริมและหนุนเสริมให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัด
“อ้อยสดคุณภาพดี” ส่งโรงงาน เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๓/๑๓๘ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕)
ที่เห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังภาครัฐ
ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความจำเป็นของโครงการ
ประกอบด้วย โครงการประกันรายได้ของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา
มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย
โครงการที่เกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โครงการประกันภัยพืชผล เป็นต้น
และพิจารณาถึงความสามารถของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะต้องตั้งงบประมาณรองรับ
รวมถึงภาระทางการคลัง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนพิจารณาถึงความคุ้มค่า
ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายลัทธจิตร มีรักษ์) | นร.04 | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายลัทธจิตร มีรักษ์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี
(พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. .... | มท. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการวางแผนและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนศาลเจ้าไก่ต่อให้ชุมชนเกษตรกรรมที่น่าอยู่
มีความเป็นระเบียบ เป็นศูนย์กลางการผลิต การซื้อขายและบริการทางการเกษตร
ศูนย์บริการท่องเที่ยวเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติด้านตะวันตกของจังหวัด
ศูนย์การค้าและบริการระดับท้องถิ่นที่มีความพร้อมทางสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
และบริการสาธารณะได้มาตรฐานทางผังเมือง โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น
๑๐ ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรให้ที่ดินประเภทที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและการพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม มีความเห็นว่าการปรับเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๗๒ ที่อยู่ติดกับพื้นที่ดังกล่าว
ทั้งในประเด็นประสิทธิภาพการให้บริการของทางหลวง และความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ
จึงต้องมีมาตรการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้
ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ คำนึงถึง กฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
มาตรการการใช้ที่ดินในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ เป็นต้น และควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศดังกล่าวอย่างเข้มงวดต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | ขอความเห็นชอบร่างตารางข้อผูกพันด้านบริการ ภายใต้องค์การการค้าโลกของไทย ที่จะผูกพันวินัยในการใช้กฎระเบียบภายใน | พณ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | แถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence (PREZODE) | สธ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence
(PREZODE) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม PREZODE
มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตจำนงที่จะทำงานร่วมกันของประเทศผู้เข้าร่วมริเริม PREZODE เพื่อป้องกันการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากสัตว์
ตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ เช่น
การพัฒนาและส่งเสริมการประยุกต์ใช้ที่สอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐
การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียว
การส่งเสริมการเปิดตัวโครงการวิจัย นวัตกรรม การศึกษา และการพัฒนา
และการใช้ประโยชน์จากข้อเสนอแนะจากการบริหารจัดการเหตุการณ์ระบาดของโรคก่อนหน้านี้
เพื่อเสริมสร้างเกณฑ์และวิธีการในการเตรียมความพร้อมใหม่ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence
(PREZODE)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นภายใต้แถลงการณ์แสดงเจตจำนงดังกล่าวให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก
โดยพิจารณาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามภารกิจเท่าที่จำเป็น คำนึงถึงความประหยัด
และประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | ร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง | มท. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับไปแก้ไขปรับปรุงที่มาของรัฐธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น ควรกำหนดนิยามศัพท์คำว่า “เขตพัฒนา” และ
“พื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสมบูรณ์” ให้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย
คำว่า “การใช้ประโยชน์ที่ดิน”
โดยกิจกรรมทุกชนิดที่มีการกระทำในลักษณะเป็นประจำไม่ว่ากิจกรรมนั้นประกอบอยู่บน
เหนือ หรือใต้พื้นน้ำ ไม่ว่าจะมีอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นหรือไม่ก็ตาม
ซึ่งในกิจกรรมจะต้องไม่กระทบต่อการไหลของน้ำในระบบน้ำ ควรเพิ่มข้อความ
“จะต้องไม่ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำ
หรือกีดขวางการไหลของน้ำในระบบน้ำ
และควรแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติให้ครบถ้วน
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติเพื่อพิจารณา
และให้ดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้นกชนหิน (Rhinoplax
vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
ที่เห็นว่าการอนุรักษ์นกชนหิน (Rhinoplax vigil) ให้คำนึงถึงการวางแผนด้านพื้นที่ป่าและธรรมชาติ
ให้มีความเหมาะสมต่อจำนวนนกชนหิน (Rhinoplax vigil) ในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | ขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง | สสว. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม : เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) | วธ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม
: เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) ในนามรัฐบาล โดยวงเงินงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบฯ
ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ เป็นจำนวน ๖๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงวัฒนธรรม
(กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงวัฒนธรรม (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม)
รับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการควรบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น
ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมวัฒนธรรมในพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ประกอบกับโครงการเป็นการใช้งบประมาณผูกพันระยะยาว ๕ ปี
เห็นควรให้มีการติดตามประเมินผลและทบทวนถึงปัญหาอุปสรรคอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
และให้มีการจัดทำบทเรียนกลไกความสำเร็จในการพัฒนาให้เกิดเป็นเมืองต้นแบบ
เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนของประเทศในภาพรวมด้านการพัฒนาพื้นที่เชิงวัฒนธรรมที่เชื่อมกับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
บนฐานการเชื่อมต่อการทำงานกับกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อีกทั้ง
ในส่วนของการผลักดันประเด็นเรื่อง soft power ของกระทรวงวัฒนธรรมควรมีการจัดทำแผนในลักษณะบูรณาการทุกมิติร่วมกันเป็นภาพใหญ่ของประเทศ
โดยกำหนดบทบาทของแต่ละหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
บนพื้นฐานของการสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงความหมายและขอบเขตของการใช้ soft
power ในมิติการพัฒนาประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ มกราคม ๒๕๓๗ เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
และไม้ตาล จากเดิม “เห็นควรให้ความเห็นชอบในหลักการอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย)
เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส
สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม
มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยให้ทดลองดำเนินการในบางพื้นที่ก่อน
เช่นเดียวกับการแปรรูปไม้ยางพาราตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒
พฤษภาคม ๒๕๒๔ ทั้งนี้ ในการอนุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตและมาตรการตรวจสอบควบคุมเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ มกราคม ๒๕๓๒” เป็น “อนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้
(โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
ไม้ตาล และไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรการตรวจสอบควบคุมตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้กำหนด”
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการเพิ่มไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ต้องมีกฎหมาย ระเบียบ มาตรการ หรือเงื่อนไขกำชับไว้ชัดเจน
ในการนำวัตถุดิบป้อนโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับของโรงงาน
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และควรมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ได้จากอุตสาหกรรมไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
ให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มีที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
และเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้อย่างคุ้มค่า
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการตรวจสอบที่มาของไม้ที่จะนำมาแปรรูปให้ชัดเจนและรัดกุม
เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติ หรือการนำไม้ที่ได้จากที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิมาแปรรูปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 | ตช. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน
๑๔๑.๔๒ ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม
ระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการอย่างสุจริต โปร่งใส มีประสิทธิภาพ
ตรวจสอบได้
รวมทั้งให้พิจารณาจัดอัตรากำลังพลในการปฏิบัติภารกิจดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุมให้มีความเหมาะสม
ประหยัด และสอดคล้องกับสถานการณ์การชุมนุมสาธารณะที่มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและศูนย์ปฏิบัติการ
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่เห็นว่าหากมีการพิจารณาตรวจสอบรายการ
กลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด จะทำให้การสนับสนุนงบประมาณเกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องอยู่บนพื้นฐานการกระทำที่ได้สัดส่วนและการกระทำเท่าที่จำเป็น
โดยคำนึงถึงความสมดุลในการรักษาความมั่นคงของประเทศควบคู่กับการรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้เหมาะสมตามหลักนิติรัฐ
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | การให้การยอมรับในข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (Ban Amendment) | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการให้การยอมรับในข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด
(Ban Amendment)
และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำตราสารการยอมรับ (Instrument of
Acceptance) และส่งมอบให้เลขาธิการสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป โดยการแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑)
ห้ามประเทศตามภาคผนวก VII ได้แก่ ประเทศสมาชิกในกลุ่ม OECD,
EC และลิกเตนสไตน์ ส่งของเสียอันตราย (เช่น
ของเสียจากการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ ของเสียจากการผลิต การผสม หรือการใช้สารเคมี
หมึก เรซิน และของเสียจากการกำจัดของเสียอุตสาหกรรม)
ไปยังประเทศอื่นที่ไม่อยู่ในภาคผนวก VII และเพิ่มเติมภาคผนวก
๒,๘ และ ๙ เกี่ยวกับขยะพลาสติก เช่น โพลีเอทิลีน (PE)
โพลีโพรพีลีน (PP) โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ให้เป็นของเสียอันตรายในอนุสัญญาบาเซลฯ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตราย
และการกำจัด (Ban Amendment)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นว่าข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ
เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่หากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยืนยันว่าสามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญาและไม่เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก็ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
ขยะที่นำเข้ามาต้องสะอาดและไม่มีของเสียอันตรายปนเปื้อน
ควรพิจารณาด้วยความรอบคอบเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งขยะหรือของเสียอันตรายกับขยะพลาสติก
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) กระทรวงอุตสาหกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการขยะพลาสติกในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพื่อให้สามารถนำขยะพลาสติกในประเทศไปใช้เป็นวัตถุดิบรีไซเคิลทดแทนการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูประบบด้านทันตสาธารณสุขไทยตามแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา | สว. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การพิจารณาศึกษา ติดตาม เสนอแนะ
และเร่งรัดการปฏิรูประบบด้านทันตสาธารณสุขไทยตามแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข
ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานผลการศึกษาดังกล่าว
สรุปได้ว่า การจัดตั้งกรมทันตสุขภาพเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์ด้านทันตสาธารณสุขของประเทศอาจกระทบกับงบประมาณและรายจ่ายบุคลากรภาครัฐในระยะยาว
ประกอบกับการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒
มกราคม๒๕๖๒ ในการณีที่มีความจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ควรระบุข้อเสนอให้ยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานที่มีอยู่เดิม
เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนทั้งในด้านภารกิจและงบประมาณ ทั้งนี้
กระทรวงสาธารณสุขจะรับไปพิจารณาเพื่อให้มีกลไกในการขับเคลื่อน จัดแผน
หรือแนวทางการพัฒนาระบบทันตสาธารณสุขที่มีความชัดเจนและมีส่วนร่วมตลอดจนการดำเนินการตามรายงานผลการพิจารณาศึกษานี้
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และร่างคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน และปฏิบัติราชการแทนกัน ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง | นร.04 | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
และร่างคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน
และปฏิบัติราชการแทนกัน
ในกรณีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ ฯลฯ จำนวน 7 ราย) | สธ. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๗ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง สับเปลี่ยนหมุนเวียน
และผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ๑. นายธเรศ
กรัษนัยรวิวงค์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมควบคุมโรค ๒. นายสุระ วิเศษศักดิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ๓. นายพงศ์เกษม ไข่มุกด์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๔. นายธงชัย กีรติหัตถยากร ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์ ๕. นายทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๖. นายยงยุศ ธรรมวุฒิ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๗. นายธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง หลักการและเงื่อนไขการให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ร่วมลงทุน (State Participation) ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา | สว. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง หลักการและเงื่อนไขการให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ร่วมลงทุน (State
Participation) ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงพลังงานได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า การดำเนินการให้มีหน่วยงานของรัฐเข้าร่วมลงทุน (State
Participation) ตามที่กระทรวงพลังงานสงวนสิทธิที่จะมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ร่วมลงทุนนั้น
เห็นว่า
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานของรัฐที่มีความเหมาะสมและมีคุณสมบัติที่จะสามารถเข้าร่วมลงทุนได้
และเนื่องจากบริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด
ซึ่งเป็นผู้รับสัญญาและผู้ดำเนินงานตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต โดยมีบริษัท ปตท.
สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ ๙๙.๙๙
มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของรัฐเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานตามข้อกำหนดในเอกสารเชิญชวนแล้ว
จึงยังไม่มีเหตุที่จะต้องสรรหาหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ร่วมลงทุนในสัญญาแบ่งปันผลผลิต
และการให้หน่วยงานเข้าไปดำเนินการในฐานะหน่วยงานของรัฐถือหุ้น ๑๐๐%
เห็นควรที่จะต้องมีสถานะเป็นบริษัทจำกัด เพื่อสามารถจำกัดความร่วมรับผิดที่เกิดขึ้นจากการเข้าไปดำเนินการ
รวมถึงมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดไว้ สำหรับกรอบการเจรจาตกลงในสัญญาร่วมประกอบกิจการ
ในอนาคตหากมีหน่วยงานของรัฐที่มีรูปแบบและคุณสมบัติเหมาะสมก็ไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอแนะในประเด็นดังกล่าว
ทั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และลดความเสี่ยงต่อภาครัฐให้มากที่สุด
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | ร่างประกาศกำหนดการยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 39/2559 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 แก่สถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง | อว. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง
กำหนดการยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๙/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ แก่สถาบันอุดมศึกษา
๓ แห่ง มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่
๓๙/๒๕๕๙ เรื่อง
การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม
พุทธศักราช ๒๕๕๙ แก่สถาบันอุดมศึกษา ๓ แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | การขอความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์เพิ่มเติมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบกรอบงานการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เรื่องกระบวนการที่ครอบคลุมสำหรับวาระสตรี สันติภาพและความมั่นคง และเยาวชน
สันติภาพและความมั่นคงในมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ การทูตเชิงป้องกัน
และการแก้ไขความขัดแย้ง (ASEAN
Regional Forum Framework on Inclusive Processes for the Women, Peace and
Security and Youth, Peace and Security Agendas in Confidence Building Measures,
Preventive Diplomacy, and Conflict Resolution) โดยสาระสำคัญของกรอบงานฯ
เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของสตรีและเยาวชนในการมีส่วนร่วมในประเด็นด้านสันติภาพและความมั่นคงภายในภูมิภาค
และการสร้างและการดำรงรักษาสันติภาพ
โดยมุ่งถึงการมีส่วนร่วมและการเพิ่มพูนบทบาทของสตรีและเยาวชนอย่างเท่าเทียม
มีความหมาย และไม่แบ่งแยกในกรอบกิจกรรมของเออาร์เอฟ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ
ภาคเอกชน และองค์กรประชาสังคมภายในภูมิภาคบนพื้นฐานของฉันทามติ ความสมัครใจ
และหลักการไม่แทรกแซงซึ่งกันและกัน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | การจัดทำโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของสำนักงบประมาณ ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) | พม. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระย ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙)
ดำเนินการโดยสำนักงบประมาณ จำนวน ๑ โครงการ รวม ๗๙ หน่วย ภายในวงเงินงบประมาณ ๗๕
ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัยให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐ
และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ห่างไกลจากภูมิลำเนาของตนให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลังความสามารถจากการได้รับการสนับสนุนสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (การเคหะแห่งชาติ) กระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควร
(๑)
ให้สำนักงบประมาณพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าพักอาศัยในโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งกำหนดแนวทางการบริหารจัดการโครงการเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคารให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการพักอาศัย
โดยไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐในอนาคต อาทิ การเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลาง (๒) ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(กรมธนารักษ์ การเคหะแห่งชาติ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด)
พิจารณาความเหมาะสมของการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้มีรายได้น้อยในบริเวณพื้นที่โดยรอบของเมือง
และบูรณาการร่วมกับแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะของเมือง
ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้มีรายได้น้อยอย่างยั่งยืน
และลดภาระค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง)
ของภาครัฐในภาพรวม ตลอดจนสนับสนุนการเพิ่มสัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้สำนักงบประมาณดำเนินโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ให้ถูกต้อง โปร่งใส
และเป็นธรรม
โดยให้ความสำคัญกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้มีรายได้น้อยเป็นลำดับแรก ๓.
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายพรพจน์ เพ็ญพาส ฯลฯ จำนวน 37 ราย) | มท. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓๗ ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน
และทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|