ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 11 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 204 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | ขอความเห็นชอบร่างข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง | ทส. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง
และอนุมัติให้อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้มีอำนาจลงนามในร่างข้อตกลงฯ โดยร่างข้อตกลงฯ
จัดทำขึ้นระหว่างกรมทรัพยากรน้ำ และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศตามที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Adaptation Fund : AF) โดยมีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายต้องปฏิบัติ
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แลสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
ควรรายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของโครงการดังกล่าวแก่คณะกรรมการลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดี
(Best Practices) และนำไปสู่การขยายผลในลุ่มน้ำอื่น ๆ ต่อไป
และการใช้อนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาท โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นราย ๆ ไป เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | รายงานผลการตรากฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 | ทส. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการตรากฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๒
ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ. ๒๕๖๒ มีผลบังคับใช้ (ครบกำหนดวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔)
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒
ให้เป็นไปตามข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | ร่างกฎกระทรวงการขอและการออกอาชญาบัตรและประทานบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อก. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอและการออกอาชญาบัตรและประทานบัตร (ฉบับที่
..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอและการออกอาชญาบัตรและประทานบัตรตามกฎกระทรวงการขอและการออกอาชญาบัตรและประทานบัตร
พ.ศ. ๒๕๖๔
ให้สอดคล้องกับขั้นตอนการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นว่าหากมีการดำเนินการใด
ๆ ในเขตพื้นที่ป่าขอให้ปฏิบัติให้เป็นไปตาม ระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดก่อนเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง พ.ศ. .... | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอบางปะเหลียน จังหวัดตรัง
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับการส่งเสริมให้เกาะสุกรเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของจังหวัดตรัง
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น ๑๑
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎ
หรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์ และมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในการพิจารณาอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับ
และติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังมืองรวมชุมชนเกาะสุกรให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | การประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน | นร.12 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการให้องค์การทั้ง ๓ ประเภท ต้องได้รับการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
และให้ปรับระยะเวลาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒
ได้แก่ องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน ๒๔ แห่ง
รวมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยให้เริ่มประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒ เมื่อดำเนินการระยะที่
๑ ครบ ๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๙) ๒. เห็นชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนดแนวทางการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและสำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับภารกิจ
บทบาท หน้าที่
และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการที่กำกับดูแลหน่วยงานนั้น
ควรสนับสนุนการพิจารณาความคุ้มค่าขององค์การมหาชนจากบทบาทและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานในระบบนิเวศที่องค์การมหาชนรับผิดชอบ
ควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามกรอบการประเมินความคุ้มค่าขององค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน
พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงาน ก.พ.ร. ควรระบุในข้อตกลงขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR) ให้ที่ปรึกษามีกระบวนการบริหารจัดการความรู้เพื่อให้องค์การมหาชนมีองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้ประเมินตนเองในปีถัดไป
สำหรับการจัดตั้งองค์การมหาชนแห่งใหม่ขึ้นอีกในอนาคต
ควรพิจารณาเรื่องการเตรียมความพร้อมในการประเมินความคุ้มค่า
โดยให้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำคำขอจัดตั้งองค์การมหาชน
ควรมีการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการ
เพื่อให้กรอบระยะเวลาดำเนินงานชัดเจนและใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในส่วนของการใช้งบประมาณจัดจ้างที่ปรึกษาอย่างน้อยทุกห้าปี
อาจส่งผลต่อภาระงบประมาณของภาครัฐในอนาคต ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ๓. ในส่วนขององค์การมหาชนสมทบงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดการจ้างที่ปรึกษาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
นั้น ให้สำนักงาน ก.พ.ร. หารือกับองค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพลังงาน เช่น
ให้หน่วยงานสามารถเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปพลางก่อนจนกว่าจะมีเงินทุนสะสมหรือรายได้เพียงพอกับอัตราที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนด
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การสมทบงบประมาณ
โดยแบ่งตามสัดส่วนเงินทุนสะสมหรือรายได้แต่ละองค์การมหาชน
พิจารณากำหนดมาตรการอื่นหรือสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้กับองค์การมหาชน
เพื่อใช้ในการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
ควรเสนอของบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรงมากกว่ามาใช้งบสมทบจากองค์การมหาชนหากต้องการดำเนินการให้เป็นภาคบังคับ
และเสนอแนะให้มีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดอัตราสมทบที่แตกต่างกันขึ้นกับชุดปัจจัยจำนวนหนึ่งที่สะท้อนการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
และควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานและแหล่งที่มาของงบประมาณสำหรับองค์การมหาชนที่ไม่มีเงินทุนและรายได้ไว้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการ “พาณิชย์...ลดราคา! ออนทัวร์ ทั่วไทย” | พณ. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน ๔๒๒,๗๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์
(กรมการค้าภายใน) ดำเนินโครงการ “พาณิชย์...ลดราคา! ออนทัวร์ ทั่วไทย”
ไปจนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ และให้กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าภายใน)
รับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๗
ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๕) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้กรมการค้าภายในจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของโครงการ
และขอทำความตกลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายกับสำนักงบประมาณอีกครั้งก่อนดำเนินการต่อไป
และให้ความสำคัญกับการจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ
จากกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย และวิสาหกิจเริ่มต้นในพื้นที่
ซึ่งได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่มีความผันผวนรุนแรงเป็นลำดับแรก ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นางวรวรรณ ชิตอรุณ ฯลฯ จำนวน 4 ราย) | อก. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๔ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้ ๑. นางวรวรรณ ชิตอรุณ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ๒. นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ๓. นายจุลพงษ์ ทวีศรี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ๔. นายวันชัย พนมชัย ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... | กษ. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ
เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตตั้งแต่ระดับฟาร์ม สร้างความมั่นใจถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
สามารถป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่สำคัญในสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สุกรของประเทศไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมีมาตรการในการสนับสนุนเกษตรกรด้านการอบรมให้ความรู้ในการจัดทำมาตรฐาน
การจัดหาปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม เช่น อาหาร พ่อพันธุ์ ยารักษาโรค
เพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อมและไม่ประสบปัญหาด้านต้นทุนการผลิตในการปรับเปลี่ยนมาตรฐานที่เพิ่มขึ้น
สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้คำแนะนำ รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการฟาร์มสุกรทุกขนาดก่อนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | โครงการอาคารรักษาพยาบาลศิริราชและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | อว. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ขอขยายเวลาการประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร | นร.51 | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบสรุปผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑ ในเขตพื้นที่อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน
จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะหริ่ง อำเภอไม้แก่น และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
อำเภอเบตงและอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา และอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา
และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ตามที่กองอำนวยการการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ ๒. อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการประกาศพื้นที่ปรากฎเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ในเขตท้องที่อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะหริ่ง
อำเภอไม้แก่น และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี อำเภอเบตงและอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
และอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ออกไปอีก ๑ ปี
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๖ ตามที่กองอำนวยการการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ ๓. เห็นชอบ ๓.๑ ร่างประกาศ เรื่อง
พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ๓.๒ ร่างประกาศ เรื่อง
การให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ๓.๓ ร่างประกาศ เรื่อง กำหนดลักษณะความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑ และ
๓.๔. ร่างข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑ รวม
๔ ฉบับ ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๔. ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | ขออนุมัติงบประมาณจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในรายการค่าเวรรักษาการณ์ผู้คุมผู้ต้องขัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๑๕๙,๓๙๕,๙๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมรายการค่าอยู่เวรรักษาการณ์คุมผู้ต้องขัง
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรม หลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ในท้องที่ตำบลสำนักทอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... | อก. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ในท้องที่ตำบลสำนักทอง
อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการเปลี่ยนแปลงสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองที่ใช้ร่วมกัน
ซึ่งเดิมมีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์และปัจจุบันพลเมืองเลิกใช้ประโยชน์แล้ว จำนวน
๑ แปลง มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๑ งาน ๘๑
ตารางวา เพื่อนำไปพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสัปปะรดแห่งชาติ | กษ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ โดยแต่งตั้ง นายสุรศักดิ์
เหลืองอร่ามกุล
ผู้แทนจากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
แทนนางสาวณัฐภัทร ถวัลยโพธิ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ขอลาออก ตามที่รองนายกรัฐมนตรี
(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ประธานกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๗ กันยายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (การถอนชื่อนายวรวิทย์ สุขบุญ จากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) | ปปง. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติการถอนตัวของ
นายวรวิทย์ สุขบุญ
จากการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2565 | นร.11 สศช | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | แนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม | นร.08 | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม
โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานการจัดทำแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมสังคมไทยอยู่ร่วมกันโดยเคารพความแตกต่างหลากหลาย
โดยให้ความสำคัญกับหลักการอดทนอดกลั้นและยึดมั่นแนวทางสายกลาง
อันจะเป็นการป้องกันและรับมือกับการบ่มเพาะแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงทุกรูปแบบ
โดยมียุทธศาสตร์หลัก ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การป้องกัน (Pervention)
มุ่งเน้นการเฝ้าระวังความขัดแย้งและการเผยแพร่อุดมการณ์/แนวคิดที่นิยมความรุนแรง
(๒) การยับยั้ง (Deterring) มุ่งเน้นลดปัจจัยทางการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม และขจัดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การมีแนวคิดที่นิยมความรุนแรง และ (๓)
การฟื้นฟูเยียวยา (Rehabilitation)
การนำผู้ที่มีแนวคิดที่นิยมความรุนแรงให้กลับเข้าสู่สังคม ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ปรับแนวทางในส่วนที่มอบหมาย
เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง
การยับยั้งปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง และการฟื้นฟูเยียวยากลุ่มเสี่ยงเพื่อเตรียมพร้อมกลับคืนสู่สังคม
อาทิ จำนวนสถานการณ์การชุมนุมที่มีการใช้ความรุนแรง
จำนวนเยาวชนและบุคคลทั่วไปที่เป็นผู้กระทำความผิดให้กลับคืนสู่สังคม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | การแต่งตั้งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (นายก้องศักด ยอดมณี) | กก. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายก้องศักด
ยอดมณี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ตามมติคณะกรรมการ
กกท. ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย | อก. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | การพิจารณายกเลิกการกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เป็นโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12 (4) หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา 44 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (ร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....] | มท. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | ขอความเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร บางส่วน เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุบลราชธานี | กษ. | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
บางส่วน เนื้อที่ประมาณ ๔๒ ไร่ ๐ งาน ๕๑ ตารางวา เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว
จะแจ้งให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ดำเนินการตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒
ในการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร บางส่วน
เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดอุบลราชธานี ต่อไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ที่เห็นว่าโครงการที่อยู่ห่างแนวเส้นเขตแดนเข้ามาในฝั่งไทยมากพอสมควร
มิได้อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาหรืออาจมีประเด็นด้านเขตแดน ให้กรมชลประทานปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่ได้เสนอไว้ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|