ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 11 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 205 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | ร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 | กต. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่
๒๑ (Cooperation Plan between the Government of
the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China on
Jointly Promoting the Silk Road Economic Belt and the 21st Century
Maritime Silk Road) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างแผนความร่วมมือฯ โดยร่างแผนความร่วมมือฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในประเด็นต่าง ๆ
ตามแนวคิดหลักของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative :
BRI) อาทิ การค้าอย่างไร้อุปสรรค (Unimpeded Trade) และการบูรณาการทางการเงิน (Financial Integration) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
รวมทั้งต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแผนความร่วมมือฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | แนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) | นร.12 | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น
(แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) และแนวทางการขับเคลื่อน ๒. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง
โดยคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (คบจ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ
ดังนี้ ๒.๑
นำแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น)
ไปใช้เป็นเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
และให้ประเมินตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ในการประเมินและให้พิจารณาคัดเลือก อปท. ให้ครอบคลุมทุกประเภท ยกเว้น อปท.
รูปแบบพิเศษ ๒.๒ ในการณีที่ คบจ.
พบประเด็นที่ควรเพิ่มความเข้มแข็ง ปัญหา หรือข้อจำกัดจากการประเมิน
สามารถให้ความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติอย่างเหมาะสมโดยตรงหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งเสนอแนะหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.๓
นำข้อมูลเผยแพร่ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งสาธารณชนภายในจังหวัดได้รับทราบเพื่อร่วมกันส่งเสริมและผลักดันให้ อปท.
มีศักยภาพในการบริหารการเงินและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓. ให้กระทรวงการคลังสรุปและรายงานผลการประเมินในภาพรวม
และแผนการดำเนินการในระยะต่อไปต่อ ก.พ.ร.
เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
และให้ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความเข็มแข็งการให้บริการประชาชนในพื้นที่ โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เห็นควรกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนการดำเนินงานของ
อปท. เพื่อบรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดของผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำหนดไว้
ในปีถัดไปควรทำประเมิน อปท. ให้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ
รวมทั้งควรมีการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในแนวทางประเมินให้กับท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
เพื่อให้การประเมินเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
และแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น ด้านรายได้
ควรที่จะกำหนดตัวชี้วัดให้ครอบคลุมทุกประเภทรายได้ของ อปท. ด้านงบประมาณรายจ่าย
เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายของ อปท.
จะมีความสัมพันธ์กับรายได้ที่เป็นภาษีที่รัฐจัดเก็บและแบ่งให้ อปท.
รวมทั้งเงินอุดหนุนทั่วไปซึ่งเป็นรายได้หลักที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลโดยจัดสรรเป็นงวดและไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนในการจัดสรรทำให้ส่งผลต่อการประเมินประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของ
อปท. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ก.น.บ.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ของภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้
และภาคใต้ชายแดน
ที่ปรับปรุงตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการแล้ว
และมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแจ้งเวียนจังหวัด กลุ่มจังหวัด
ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนและโครงการ พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐ ต่อไป และนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำแผนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแจ้งเวียนจังหวัด
กลุ่มจังหวัด ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
เกี่ยวกับการเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการจัดทำโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคดังกล่าว
ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 | พณ. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการอัยการ) | อส. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการอัยการ)
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งของประธานคณะกรรมการอัยการ
และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ดำรงตำแหน่งจากเดิมมีวาระดำรงตำแหน่งสองปีเพียงวาระเดียวเป็นได้คราวละหนึ่งวาระและอาจได้รับเลือกใหม่ได้อีกเพียงหนึ่งวาระ
ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | การขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเกี่ยวกับการให้เอกสิทธิ์ การยกเว้น และสิทธิประโยชน์แก่ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นที่ดำเนินโครงการภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับรัฐบาลญี่ปุ่น | กต. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | การเข้าร่วมกลุ่ม High Ambition Coalition (HAC) for Nature and People | ทส. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมกลุ่ม High
Ambition Coalition (HAC) for Nature and People โดยได้เสนอให้มีการลงนามแบบฟอร์มหนังสือการเข้าร่วมกลุ่มฯ
เพื่อนำส่งให้สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสาธารณรัฐคอสตาริกาตามขั้นตอนต่อไป
ซึ่งแบบฟอร์มหนังสือการเข้าร่วมกลุ่มฯ เป็นเพียงการแสดงความประสงค์ของประเทศไทยที่จะเข้าร่วมกลุ่มฯ
โดยยังไม่มีการทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างกัน และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ลงนามในเอกสารเข้าร่วมกลุ่มฯ
เพื่อนำส่งให้สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสาธารณรัฐคอสตาริกาต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาสาระของเอกสารเข้าร่วมกลุ่มฯ
ที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศเฉพาะประเด็นการจัดทำคำอธิบายในหนังสือนำส่งแบบฟอร์มการเข้าร่วมกลุ่มฯ
ว่าในบริบทของประเทศไทยไม่มีชนพื้นเมืองดั้งเดิม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลียว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ | พณ. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลียว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ
มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและทำให้ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของไทยและออสเตรเลียมีความหลากหลายยิ่งขึ้น
โดยกำหนดสาขาความร่วมมืออย่างน้อย ๘ สาขา เช่น (๑) เกษตร เทคโนโลยี
และระบบอาหารที่ยั่งยืน (๒) การท่องเที่ยว (๓) บริการสุขภาพ (๔) การศึกษา (๕) การค้าดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัล
(๖) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (๗) การลงทุนระหว่างกัน และ (๘) พลังงาน เศรษฐกิจสีเขียว
และการลดการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น
และกำหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสประจำปีเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีผลใช้บังคับเป็นเวลา ๓ ปี ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
โดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ๒. ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะ
เพื่อขยายไปสู่ความร่วมมือในมิติอื่น ๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | ขอความเห็นชอบต่อการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และครั้งที่ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กษ. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... | นร.01 | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง)
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและสภาพการณ์ปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่น ในการกำหนดบทนิยามคำว่า
“บุคคลในครอบครัว” ตามข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ควรบัญญัติบทคำนิยามคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ให้สอดคล้องกับบทนิยามคำว่า
“คู่ชีวิต”
ตามร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
ข้อคิดเห็นในข้อที่ ๙ ควรพิจารณาเพิ่มข้อความว่า
“ของขวัญนั้นต้องไม่จูงใจให้เกิดการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ควรปรับปรุงร่างข้อ ๑๒ วรรคสาม
โดยใช้คำว่า “บุคคลในครอบครัว” เนื่องจากมีการกำหนดไว้ในบทนิยาม เป็นต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้
รวมถึงการให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับเพื่อให้รับทราบและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
และให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกลไกเพื่อบังคับใช้ร่างระเบียบดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ปรับหลักเกณฑ์หรือสาระให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔
และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น
และควรนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลบันทึกรายงานเกี่ยวกับการรับของขวัญด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | สรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “การจัดการตำบลเข้มแข็งตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ” ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา | สว. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง “การจัดการตำบลเข้มแข็งตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ”
ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ซึ่งสำนักงาน
ก.พ.ร. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว สรุปว่า หากจะกำหนดประเด็น “ตำบลเข้มแข็ง” ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ควรเป็นการกำหนดให้เป็นวาระสำคัญ (Agenda) หรือประเด็นสำคัญ (Issue)
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจหน้าที่ร่วมระดมกำลังในการแก้ไขปัญหา
โดยจะต้องมีกระบวนการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความชัดเจนในกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้วาระแห่งชาติขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
การกำหนดตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการที่มีภารกิจในระดับตำบลเพื่อให้การทำงานของทุกส่วนราชการได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการพัฒนาระบบการจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
จะทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานทั้งในด้านฐานข้อมูล งบประมาณ บุคลากร
และฐานข้อมูล (Database) การจัดให้มี “แผนงานโครงการและงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วน”
ในระดับตำบล
ควรให้คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาคพิจารณาความเหมาะสมตามข้อเสนอแนะดังกล่าวต่อไป
การจัดทำหลักสูตรการจัดการตำบลเข้มแข็ง สำนักงาน ป.ย.ป.
ได้ให้ความร่วมมือโดยใช้ประสบการณ์จากการดำเนินโครงการนักบริหารระดับสูง : ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.)
และโครงการต้นแบบแนวทางลดความเหลื่อมล้ำด้วยนวัตกรรมภาครัฐ
เพื่อประกอบการดำเนินการจัดทำหลักสูตรของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนในระยะต่อไป ส่วนการจัดให้มี
“สมัชชาตำบลเข้มแข็งแห่งชาติ” ทุกปี อาจใช้กลไกการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล
ซึ่งจัดปีละ ๑ ครั้ง เพื่อสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนในจังหวัด
และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ ตามที่สำนักงาน
ก.พ.ร. เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | การปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน | นร.12 | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน ที่กำหนดโครงสร้างและองค์ประกอบ
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม อำนาจหน้าที่ การประชุม การประเมินผลงาน และการบังคับใช้
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง
ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรเพิ่มคุณสมบัติของประธานกรรมการตรวจสอบให้มาจากการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การมหาชนเพื่อให้การเสนอแนะและการให้ข้อคิดเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กรณีที่กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบต้องอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่
อาจแปลความหมายในลักษณะบทบาทเจ้าหน้าที่ประจำหรือไม่
หรือหากต้องการกำหนดชัดเจนว่าบุคคลหนึ่งห้ามเป็นคณะกรรมการตรวจสอบในองค์การมหาชนหรือคณะกรรมการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันก็ควรกำหนดให้ชัดเจนไปเลยในลักษณะเช่นเดียวกับคณะกรรมการองค์การมหาชน
สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบฯ
เห็นสมควรให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๖ ไปดำเนินการ และ/หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาและแก้ไขปัญหาประมงไทย ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. .... ของรัฐสภา | สผ. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม
พ.ศ. .... ของรัฐสภา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สรุปได้ ดังนี้ ๑) การจัดทำคู่มือเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเผยแพร่ให้แก่ประชาชน
สำนักงานศาลยุติธรรม
ได้จัดทำเอกสารและแผนภูมิแสดงขั้นตอนการดำเนินงานของศาลเพื่อเผยแพร่ให้ผู้มาติดต่อราชการในบริเวณศาลทราบ
และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ของศาลด้วยแล้ว ๒)
หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
หากพบว่าขั้นตอนและระยะเวลาไม่เหมาะสมควรรีบปรับปรุงทันที
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ได้จัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
โดยให้มีรายงานผลการดำเนินการทุกเดือน ๓) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรเพิ่มเติมข้อมูลการตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงาน
และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความรวดเร็วก็สมควรระบุไว้ในรายงานประจำปีที่เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาด้วย
สำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดเก็บข้อมูลสถิติการดำเนินคดี เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของระยะเวลาในแต่ละขั้นตอน
๔)
หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรร่วมกันพัฒนาและจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานให้มีความถูกต้องครบถ้วน
นำไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกัน และต้องเปิดเผยแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชน สำนักงานศาลยุติธรรม
ได้ดำเนินโครงการเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลให้บริการกับหน่วยงานภายนอก เช่น
ระบบฐานข้อมูลหมายจับ ระบบฐานข้อมูลคำสั่งห้ามออกนอกประเทศ ระบบคัดถ่ายเอกสารคำพิพากษาระหว่างศาล
และระบบจัดเก็บเอกสารคำพิพากษา ๕) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรบูรณาการการดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัตินี้ร่วมกัน
โดยคำนึงถึงความสอดคล้องของงาน และระยะเวลาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
สำนักงานอัยการสูงสุด ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)
ความร่วมมือเพื่อการอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม
และสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | การรับรองปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียน | กก. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | อว. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ร่วมรับรองร่างปฏิญญาจาการ์ตาฯ โดย (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาฯ มีสาระสำคัญเป็นการเน้นย้ำถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับรองแผนปฏิบัติการฯ
และยอมรับบทบาทของเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการช่วยสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกและสมาชิกสมทบขยายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงการประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
เพื่อเร่งการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติให้เกิดผล ในระยะที่ ๒
โดยมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยที่สำคัญเฉพาะด้านอย่างเหมาะสม ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน (ร่าง)
ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ทั้งนี้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้จัดทำแนวทางการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ
และทางเทคนิครวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชน เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนพัฒนา และประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2556 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560] | มท. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. ๒๕๕๖ และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว
จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
เพื่อแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) ในที่ดินบริเวณหมายเลข ๔.๒๓ หมายเลข ๔.๔๒ และหมายเลข ๔.๓๓
รวมทั้งเพิ่มข้อห้ามการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในที่ดินบริเวณดังกล่าวให้สอดคล้องกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว
ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรสาครที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
หากมีการแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) อีกในอนาคต
เห็นควรพิจารณาการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านการผังเมือง
เพื่อเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการใช้ที่ดินประเภทนี้ที่ให้ใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมสถาบันราชการ
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
พบแหล่งธรรมชาติท้องถิ่นและย่านชุมชนเก่าชุมชนตลาดน้ำบ้านแพ้ว ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแห่งชาติ
และแหล่งศิลปกรรมที่มีอยู่เดิมด้วย
ในการพิจารณาการอนุญาตกิจการต้องคำนึงถึงจำนวนและที่ตั้งของสถานประกอบกิจการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงมหาดไทย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ขอความเห็นชอบร่างข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง | ทส. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง
และอนุมัติให้อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้มีอำนาจลงนามในร่างข้อตกลงฯ โดยร่างข้อตกลงฯ
จัดทำขึ้นระหว่างกรมทรัพยากรน้ำ และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศตามที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Adaptation Fund : AF) โดยมีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายต้องปฏิบัติ
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แลสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
ควรรายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของโครงการดังกล่าวแก่คณะกรรมการลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดี
(Best Practices) และนำไปสู่การขยายผลในลุ่มน้ำอื่น ๆ ต่อไป
และการใช้อนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาท โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นราย ๆ ไป เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | การกำหนดตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น จำนวน 1 ตำแหน่ง | นร.12 | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติกำหนดตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้น
จำนวน ๑ ตำแหน่ง ตามมติที่ประชุมร่วมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ เพื่อรับผิดชอบการบริหารและกำกับดูแลงานในภารกิจที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์
นโยบายและแผนระดับชาติ และภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการตามกฎหมาย ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวรับผิดชอบกลุ่มภารกิจที่ชัดเจน
ตามเงื่อนไขที่ประชุมร่วมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
กำหนดโดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สผ. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า ๑)
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมายโดยการออกประกาศที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการนำส่งข้อมูล
การเปิดเผยข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการประมวลผลข้อมูลเครดิต
การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อต้องปฏิบัติ
และการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางในการจัดหาสินเชื่อ ๒)
ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะหน่วยงานในกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล
[peer to peer lending platform : P2P (การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์)] ได้มีข้อกำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล
จะต้องยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเพื่อป้องกันการทุจริต และ ๓)
กรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสหกรณ์ได้สนับสนุนส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์
และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิต เป็นต้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป |