ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 11 จากทั้งหมด 11 หน้า แสดงรายการที่ 201 - 205 จากข้อมูลทั้งหมด 205 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
201 | ขอความเห็นชอบโครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes | ทส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (Project Cooperation Agreement : PCA) โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public
and Private Sector Policy and Decision-making for
Sustainable Landscapes เพื่อเป็นการพัฒนากรอบแนวคิดและแนวทางในการนำระบบบัญชีต้นทุนธรรมชาติมาใช้ในประเทศไทย
รวมทั้งการริเริ่มการพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนธรรมชาติสำหรับภาคการท่องเที่ยวและภาคการจัดการน้ำในพื้นที่
จังหวัดกระบี่
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบูรณาการข้อมูลต้นทุนธรรมชาติในพื้นที่เข้าสู่นโยบาย
แผน งบประมาณ ระดับภูมิภาคได้ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดผลกระทบ
ฟื้นฟู และปกป้องระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชายฝั่งและทะเลต่อไป
โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global
Environment Facility : GEF) เป็นจำนวนเงิน ๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะหน่วยงานดำเนินโครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมสมทบงบประมาณในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (in-kind) ในรูปแบบบุคลากร
มูลค่าทรัพยากรในการดำเนินงาน เป็นจำนวนเงิน ๖.๑๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นงบประมาณและทรัพยากรที่แต่ละหน่วยงานได้รับจัดสรรในทุกปีตามปกติ
ไม่ใช่การขอรับจัดสรรเพิ่มเติม และมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯ ร่วมกับผู้แทนโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Environment Programme : UNEP) และที่ปรึกษาโครงการ(Lead Service Provider) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงความร่วมมือ (Project
Cooperation Agreement : PCA) โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public
and PrivateSector Policy and Decision-making for
Sustainable Landscapes ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่ นร
๑๔๐๓/๑๐๙๘๗ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) และสำนักงานอัยการสูงสุด
(หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ด่วนที่สุด ที่ อส ๐๐๐๗/๑๙๖๔๗ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม
๒๕๖๓) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำองค์ความรู้
ประสบการณ์
และข้อมูลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการ/งานอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น
การประเมินมูลค่าต้นทุนหรือผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการ
การกำหนดให้ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไป
เป็นต้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
202 | รายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปี 2564 | อว. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปี ๒๕๖๔ เรื่อง
การฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-๑๙ สู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม และในคราวประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน
๒๕๖๔ ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช)เกี่ยวกับการนำ Biotechnology (เทคโนโลยีชีวภาพ) ซึ่งเป็นหนึ่งใน Technologies of Tomorrow มาพิจารณาจัดตั้ง Biotechnology
Town ในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อนำ Biotechnology มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรในชุมชนให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
203 | การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า | นร.01 | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๒ ในการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณการดำเนินโครงการพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ
และหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ดังนี้ (๑) ให้กองทัพบก เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการจัดสร้างหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติเฉลิมพระเกียรติ
ในส่วนที่กองทัพบกได้มีการก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว
และส่วนคงเหลืองบประมาณที่ต้องเสนอขอตามภาระหนี้ผูกพันและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
ทั้งนี้
รวมถึงงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีภายหลังจากที่โครงการแล้วเสร็จด้วย
และ (๒) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ
ตั้งแต่ปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป จนกว่าจะแล้วเสร็จ
รวมทั้งงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีต่อไป ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้กระทรวงกลาโหม (กองทัพบก) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นว่าการดำเนินงานยังคงอยู่ภายใต้กรอบวงเงินภาระผูกพันเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้
เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ จึงไม่เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณตามนัยมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
204 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,125.56 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย (จำนวน 17 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท | คค. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน ๒,๑๒๕.๕๖ ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง
จำนวน ๑,๖๔๙.๑๒ ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท จำนวน ๔๗๖.๔๔ ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
(จำนวน ๑๗ จังหวัด) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
205 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา
และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ
พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อกำหนดอัตราการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ
ตั้งวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับข้อเสนอแนะและความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
ที่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์
เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
รวมถึงภาระการเงินการคลังที่อาจเกิดขึ้นแก่รัฐในอนาคต ตามนัยของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|