ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 11 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 204 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | มติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 และครั้งที่ 1/2565 | พน. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๔
มกราคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพลังงาน
ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ดำเนินการในเรื่องต่าง
ๆ เพื่อสนับสนุนแนวทางดังกล่าวด้วย เช่น
การกำหนดกลไกการกำกับดูแลและตรวจสอบติดตามการดำเนินงานตามมาตรการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของกิจการยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง
การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดเพื่อนำมาใช้กับยานยนต์ไฟฟ้า
การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน
และการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาเพื่อให้มีบุคลากรที่เหมาะสมและเพียงพอรองรับอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนตามนโยบาย
30@30 เป็นต้น ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น ให้กรมสรรพาสมิต กระทรวงการคลัง
ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒
พิจารณาเสนอแนะแนวทางการจัดหาแหล่งงบประมาณที่เหมาะสม
รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศในแต่ละปี
รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปรับตัวทางธุรกิจ การพัฒนาทักษะ
และการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการและแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย ๓.
ในส่วนของกรอบวงเงินในการดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ให้กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สำหรับการจัดหาแหล่งงบประมาณในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๘ ในวงเงิน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้กระทรวงการคลังร่วมกับสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งเงินและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยมาตรการทางบริหารในการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | พม. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยมาตรการทางบริหารในการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขบทนิยามคำว่า “การค้ามนุษย์” ให้หมายความรวมถึงการนำพาบุคคลเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ซึ่งอาจมีผลเกี่ยวข้องหรือนำไปสู่การกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ด้วย
เพื่อเป็นการกำหนดมาตรการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว
รวมทั้งแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการฯ
เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามที่คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่ามีสาระสำคัญที่ครอบคลุมถึงการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำการดังกล่าวไว้อยู่แล้ว
การแก้ไขบทนิยามในครั้งนี้จึงซ้ำซ้อนกับมาตรการหรือกลไกที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยมาตรการทางบริหารในการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงมิต้องแก้ไขบทนิยามข้างต้นแต่อย่างใด ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | การขอขยายระยะเวลาการดำเนินการศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว (The Temporary Data Collection Centre : TDCC) ของทางการเมียนมา และการได้มาซึ่งเอกสารประจำตัวของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 | รง. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินการศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว
(The Temporary Data
Collection Centre : TDCC) ของทางการเมียนมา ณ จังหวัดสมุทรสาคร
ออกไปอีก ๑ ปี และการดำเนินการให้ได้มาซึ่งหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
๓ สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการจัดหางาน
และกรมการกงสุล หารือร่วมกันในโอกาสแรก
ในการมอบอำนาจการตรวจลงตราให้สอดคล้องกับขอบเขตการดำเนินการของศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล
(Certificate of identity
: CI) ของทางการเมียนมา และควรมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสมุทรสาครและหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่เพื่อกำกับติดตาม
และตรวจสอบการดำเนินการของศูนย์ TDCC ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งและเงื่อนไขที่ทางการไทยกำหนด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 | อก. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น
ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ ทั้ง ๙ เขตคำนวณราคาอ้อย
เป็นราคาเดียวทั่วประเทศ ดังนี้ (๑) ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี
๒๕๖๔/๒๕๖๕
ในอัตราตันอ้อยละ ๑,๐๗๐ บาท ณ ระดับความหวานที่ ๑๐
ซี.ซี.เอส. หรือเท่ากับร้อยละ ๙๖.๓๔
ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ ๑,๑๑๐.๖๖ บาทต่อตันอ้อย
และกำหนดอัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ ๖๔.๒๐ บาท ต่อ ๑ หน่วย ซี.ซี.เอส. และ (๒)
ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ เท่ากับ
๔๕๘.๕๗ บาทต่อตันอ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรดำเนินการทบทวนระเบียบมาตรการต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และแนวทางการจัดเก็บรายได้เพื่อให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
และควรเร่งรัดมาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ลดต้นทุนและสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สผ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เห็นว่าเหตุผลตามบันทึกประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ
นี้ ยังมีขอบเขตแคบเกินไป
โดยยังไม่ครอบคลุมถึงเรื่องการกำกับดูแลงานอันมีลิขสิทธิ์
จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมเหตุผลตามบันทึกประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ
เพื่อให้การคุ้มครองงานอันมีสิขสิทธิ์มีประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและสภาพสังคมในปัจจุบัน
รวมทั้งมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลลิขสิทธิ์
โดยควรสนับสนุนให้เกิดการนำทรัพย์สินทางปัญญาอื่นที่จะหมดอายุการคุ้มครองมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย
การกำหนดแนวทางหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ การพิจารณาแก้ไขอัตราโทษขั้นต่ำในบทกำหนดโทษเรื่องอื่น
ๆ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องกันทั้งฉบับต่อไปในอนาคต การแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติ
เกี่ยวกับการคุ้มครองของสิทธินักแสดงให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน การส่งเสริมให้เจ้าของลิขสิทธิ์เลือกใช้มาตรการทางเทคโนโลยีที่ไม่เป็นการปิดกั้นการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์
และการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินี้ ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร ไปพิจารณาหากเห็นควรปรับแก้ไขเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ
ให้ส่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติฯ
ที่ปรับแก้ไขตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ในการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | ร่างกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 9 ถึงมาตรา 9/6 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 จำนวน 3 ฉบับ | อก. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
จำนวน ๓ ฉบับ ดังนี้ ๑. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับและการออกใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง
การขอต่ออายุและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง การขอรับและการออกใบแทนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา
และวิธีการเพื่อดำเนินการในการขอรับและการออกใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง การต่ออายุ
และการออกใบแทนใบอนุญาตของผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง โดยดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ๒ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการออกหนังสือเตือน การสั่งพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา
และวิธีการดำเนินการ เพื่อประกอบการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกหนังสือเตือนผู้ตรวจสอบเอกชน
และการออกคำสั่งพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง ๓. ร่างกฎกระทรวงกำหนดวิธีการตรวจสอบ
กำหนดเวลาในการตรวจสอบ และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดกรอบวิธีการและระยะเวลาในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรหรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยมีข้อสังเกตต่อร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการออกหนังสือเตือน การสั่งพักใช้
และการเพิกถอนในอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง พ.ศ. .... ข้อ ๔.
เกี่ยวกับการส่งหนังสือเตือน และข้อ ๕
“ระยะเวลาที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติที่ระบุไว้ในหนังสือเตือนอาจมีการขยายอีกได้” ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ [ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....] | สผ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตและผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ
[ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งนายวิรัช พันธุมะผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ
เป็นผู้เสนอ] มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับสิทธิการประกันตัวผู้ต้องหา
เพื่อคุ้มครองเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาที่ไม่ใช่คดีอุกฉกรรจ์ให้ได้รับการประกันตัวด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ในการประกันตัว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๒.
ให้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (นายวิรัช พันธุมะผล กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
ที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการไปยังสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลา
พร้อมแจ้งข้อสังเกตดังกล่าวไปเพื่อประกอบการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | ขออนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนและจัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติม กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้แหล่งเงินกู้ ECP กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มงวด 27 ถึง 29 กรณีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และกรณีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรจากการนำเข้า (Import VAT & Import Duty) พร้อมทั้งขออนุมัติจัดหาแหล่งเงินรองรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน | คค. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย
(รฟท.) ปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) (โครงการฯ
สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๒,๙๑๗,๗๕๒,๑๓๗.๙๕ บาท และอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินในประเทศเพื่อให้ รฟท. กู้ต่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฯ
ช่วงบางซื่อ-รังสิต ภายใต้กรอบวงเงิน ๗,๐๗๘,๘๙๓,๙๑๑.๐๙ บาท
เพื่อชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรจากการนำเข้าต่าง ๆ ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
จำนวน ๒,๐๑๑,๔๖๓,๙๒๒.๗๐
บาท จ่ายค่างานโยธา งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้า และค่าที่ปรึกษา
เนื่องจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยน จำนวน ๔,๔๐๖,๗๔๑,๓๒๑.๑๙ บาท และชำระค่าอากรจากการนำเข้า จำนวน ๖๖๐,๖๘๘,๖๖๗.๒๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๕,๐๖๗,๔๒๙,๙๘๘.๓๙ บาท รวมทั้งอนุมัติให้ รฟท.
กู้เงินในประเทศและให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่ต้องชำระผู้รับจ้างในส่วนที่เป็นเงินเยนจากความผันผวนของอัตราการแลกเปลี่ยนเนื่องจากเงินบาทแข็งค่ามากกว่าที่ประมาณการไว้
และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าของระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหารถตู้ไฟฟ้า
ของโครงการฯ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน ๙๐๖,๒๘๘,๒๑๕.๒๕ บาท โดยให้ รฟท. รับภาระเงินต้น ดอกเบี้ย
และค่าใช้จ่ายอื่นในการกู้เงิน และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน
วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ
ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและจำเป็น ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร
๐๗๒๐/๑๖๒๐ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๔)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร ๑๑๐๖/๕๙๒๙ ลงวันที่ ๘
ตุลาคม ๒๕๖๔) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง ที่ควรเร่งตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงานเพิ่ม
(Variation Order) และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจ้างที่ปรึกษาในโครงการฯ
ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว ให้ความสำคัญกับการติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
และพิจารณาแนวทางการลงทุนในส่วนต่อขยายให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคมหารือกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณากำหนดแนวทางการบริหารโครงการลงทุนขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบ
ครอบคลุมประเด็นการบริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนดังกล่าว
อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) | อว. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการการมอบอำนาจให้สภานโยบายฯ
ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา
และมีคำสั่งให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาแทนคณะรัฐมนตรี
โดยให้ถือว่าการอนุมัติและความเห็นชอบดังกล่าวเป็นมติของคณะรัฐมนตรี
และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ตามนัยมาตรา ๖๙
แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ในกรณีที่เป็นการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาในเรื่องที่เป็นเชิงนโยบาย
มีความสำคัญสูง มีผลกระทบกับระบบการอุดมศึกษาในภาพรวม
หรือก่อให้เกิดภาระงบประมาณในระยะยาว ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบเป็นกรณี
ๆ ไป ก่อนดำเนินการต่อไป ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ กำหนดมาตรการส่งเสริมเชิงนโยบายในส่วนของการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับภารกิจหน่วยงานของภาครัฐ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรับเรื่องนี้ไปพิจารณาและหารือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการให้เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | สปสช. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ภายในวงเงิน ๒๐๔,๑๔๐,๐๒๗,๘๐๐ บาท ประกอบด้วย ค่าบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายรายหัว
ค่าบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน
ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นต้น สำหรับงบประมาณบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วงเงิน ๑,๙๕๐,๘๓๘,๙๐๐ บาท นั้น
เห็นควรให้คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ให้ตามความจำเป็นเหมาะสม
ประหยัดและสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
(มติคณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๔) และข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรเร่งประชาสัมพันธ์การให้บริการดังกล่าวให้แก่ประชากรไทยทุกคน
โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานอื่น เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึง
และควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของวงเงินที่เสนอขอ
โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการงบประมาณให้มีความคุ้มค่าและคำนึงถึงความจำเป็นของการใช้จ่ายงบประมาณ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2561 | กษ. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และงบกระแสเงินสด
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินดังกล่าวแล้ว
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และแจ้งให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดดำเนินการเพื่อนำเสนอรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่
๓๐ กันยายน ๒๕๖๒ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ และวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
ต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. .... | ปช. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกการคุ้มครองประชาชนที่ถูกฟ้องคดีปิดปากอันเนื่องมาจากการแสดงความคิดเห็น
การให้ถ้อยคำ การแจ้งเบาะแสหรือข้อมูล หรือการจัดทำคำร้องหรือคำกล่าวหา
เกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐหรือบุคคลใดอันเป็นที่มาของการสอบสวน
การตรวจสอบ หรือการไต่สวน ในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบเพื่อให้เกิดการบังคับใช้อย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
หน่วยงานภาครัฐ
รวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาด้วยว่าอาจดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ แทนการออกเป็นกฎหมายเฉพาะได้หรือไม่ และให้รับความเห็นกระทรวงยุติธรรม
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
ควรคำนึงถึงมาตรการหรือกลไกที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน
รวมทั้งต้องพิจารณากำหนดมาตรการหรือกลไกเพิ่มเติมขึ้นเป็นการเฉพาะ
เพื่อให้การป้องกันหรือคุ้มครองบุคคลที่แสดงความเห็นหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลโดยสุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
ควรปรับคำนิยาม “ประพฤติมิชอบ” ในร่างมาตร ๓ ให้ครอบคลุมถึงพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมด้วย
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 | พณ. | 24/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้แก่ ๑) หน้ากากอนามัย
๒) ใยสังเคราะห์ Polypropylene (Spunbond) เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย ๓)
ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ ๔) เศษกระดาษ
และกระดาษที่นำกลับมาใช้ได้อีก และ ๕) ไก่ เนื้อไก่
เพื่อกำหนดมาตรการการกำกับดูแลให้สินค้ามีปริมาณเพียงพอ
และราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภค ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย (ระยะที่ 10) พ.ศ. 2562 - 2566 | มท. | 18/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี
เรื่อง โครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย (ระยะที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๖ ในประเด็นปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาจากนักศึกษาชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “โครงการจัดส่งนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย”
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรถือปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
จัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลให้ทันต่อสถานการณ์
และบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลผู้สำเร็จการศึกษาและโครงการในภาพรวม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. .... | อก. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องจักร
รวม ๓ รายการ ได้แก่ ๑) ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ๒)
ค่าเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือทำไว้ที่เครื่องจักร
และ ๓) ค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้แก่เจ้าของเครื่องจักร
ออกไปอีก ๑ ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒๑
มกราคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรเร่งสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนการรายงาน ติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการดังกล่าว
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณายกเว้นค่าธรรมเนียมรายการค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง
หรือค่าธรรมเนียมอื่นซึ่งมีลักษณะเป็นค่าบริการในพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร
พ.ศ. ๒๕๑๔
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ ในโอกาสต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | วันป่าชุมชนแห่งชาติ | ทส. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้วันที่
๒๔ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันป่าชุมชนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน หน่วยงานราชการ
และภาคธุรกิจเอกชนทราบและเข้าใจในเจตนารมณ์ของการจัดให้มีวันป่าชุมชนแห่งชาติอย่างทั่วถึงต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | รายงานผลการดำเนินงานและประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2558-2563 | นร16 | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานและประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๓ สรุปได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ปี พ.ศ.
๒๕๕๘-๒๕๖๔ (๒) การประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน (๓)
การจัดแผนงาน/โครงการ ประจำปีงบประมาณ๒๕๕๘-๒๕๖๓ (๔) ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับที่ดิน
(กองบริหารจัดการที่ดิน) จำนวน ๑๓๙ เรื่อง
และการดำเนินงานการแก้ไขเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดิน
(กองแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ) จำนวน ๒๑,๘๒๘ เรื่อง และ (๕)
งบประมาณในการดำเนินงานภายใต้โครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ผลการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินงาน
ณ สิ้นปีงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙-๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ งบประมาณทั้งสิ้น ๑,๒๕๗,๓๐๔,๘๐๐ บาท เบิกจ่ายแล้ว
จำนวน ๙๓๙,๖๓๓,๑๘๐ บาท คิดเป็นร้อยละ
๗๔.๗๓ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑)
อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กรมอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (๒) อนุมัติให้มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (๓)
อนุมัติให้โรงพยาบาลตำรวจ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัดรองรับและบรรเทาภัยจากโรคติดเชื้อโควิด-๑๙
และปรับปรุงมาตรฐานด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ (๔) อนุมัติให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่
และโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่
โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔
เป็นสิ้นสุดเดือนเมษายน ๒๕๖๕ และ (๕) ) มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่เสนอในครั้งนี้
รวมถึงรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการฯ
ไปประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพั ฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้หน่วยงานต้นสังกัดกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปฏิบัติตามข้อ
๑๙ และ ข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้อีก หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากคลังโดยเร็ว รวมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย
ตลอดจนให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ให้ทันต่อสถานการณ์
และให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ที่ไม่สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
เร่งปฏิบัติตามข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564 - 2565 | นร.14 | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ
ฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง
ปี ๒๕๖๕ เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำชุมชนให้เหมาะสม
รวมถึงเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทานให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในชุมชนตามแนวพระราชดำริ
จึงเห็นสมควรเพิ่มเติมมาตรการเกี่ยวกับการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากน้ำและน้ำฝนในพื้นที่นอกเขตชลประทานเป็นมาตรการที่
๑๐ ในเรื่องนี้ด้วย ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา
โสภณพนิช) เสนอ และมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรับไปพิจารณาดำเนินการในรายละเอียดต่อไป ๒. รับทราบและเห็นชอบมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี
๒๕๖๔/๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี ๒๕๖๕
และมอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว
โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติติดตามและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ
ฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดและเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งนี้
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรให้หน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | ขอความเห็นชอบโครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes | ทส. | 11/01/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (Project Cooperation Agreement : PCA) โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public
and Private Sector Policy and Decision-making for
Sustainable Landscapes เพื่อเป็นการพัฒนากรอบแนวคิดและแนวทางในการนำระบบบัญชีต้นทุนธรรมชาติมาใช้ในประเทศไทย
รวมทั้งการริเริ่มการพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนธรรมชาติสำหรับภาคการท่องเที่ยวและภาคการจัดการน้ำในพื้นที่
จังหวัดกระบี่
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบูรณาการข้อมูลต้นทุนธรรมชาติในพื้นที่เข้าสู่นโยบาย
แผน งบประมาณ ระดับภูมิภาคได้ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลดผลกระทบ
ฟื้นฟู และปกป้องระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชายฝั่งและทะเลต่อไป
โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global
Environment Facility : GEF) เป็นจำนวนเงิน ๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในฐานะหน่วยงานดำเนินโครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมสมทบงบประมาณในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (in-kind) ในรูปแบบบุคลากร
มูลค่าทรัพยากรในการดำเนินงาน เป็นจำนวนเงิน ๖.๑๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นงบประมาณและทรัพยากรที่แต่ละหน่วยงานได้รับจัดสรรในทุกปีตามปกติ
ไม่ใช่การขอรับจัดสรรเพิ่มเติม และมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นผู้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯ ร่วมกับผู้แทนโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Environment Programme : UNEP) และที่ปรึกษาโครงการ(Lead Service Provider) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงความร่วมมือ (Project
Cooperation Agreement : PCA) โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public
and PrivateSector Policy and Decision-making for
Sustainable Landscapes ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่ นร
๑๔๐๓/๑๐๙๘๗ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) และสำนักงานอัยการสูงสุด
(หนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ด่วนที่สุด ที่ อส ๐๐๐๗/๑๙๖๔๗ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม
๒๕๖๓) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำองค์ความรู้
ประสบการณ์
และข้อมูลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการ/งานอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น
การประเมินมูลค่าต้นทุนหรือผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการ
การกำหนดให้ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไป
เป็นต้น |