ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 11 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 204 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าป่วยการพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ พ.ศ. .... | นร.09 | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าป่วยการพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
พ.ศ. .... ที่ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับค่าป่วยการสำหรับพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญซึ่งเจ้าหน้าที่เรียกมาให้ถ้อยคำหรือทำความเห็นต่อการพิจารณาปกครอง
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | แผนปฏิบัติการการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | พน. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ ๕ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ประกอบด้วย ๕ วัตถุประสงค์หลัก เช่น ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ
มีความมั่นคง ทั่วถึง และมีเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต
โดยมีระยะเวลาการดำเนิน ๕ ปี กรอบวงเงินรวม ๕,๒๘๖.๐๔๒ ล้านบาท และเห็นชอบแผนการดำเนินงาน
งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงาน กกพ.
วงเงินงบประมาณรายจ่าย ๑,๐๐๐.๒๕๖ ล้านบาท และประมาณการายได้ ๑,๐๐๐.๘๑๘ ล้านบาท ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๖๕๑๖
ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เช่น ควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังประกอบการพิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วย ควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
ควรรายงานผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการตามแผนฯ
ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและเป้าหมายของแผนย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในแต่ละระดับตามที่กำหนดด้วย
ให้ความสำคัญกับการจัดทำฐานข้อมูล แบบจำลองพยากรณ์
รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับกิจการพลังงานรูปแบบใหม่ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
พร้อมทั้งควรติดตามสถานการการเปลี่ยนแปลงตลาดพลังงานอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชนของกระทรวงอุตสาหกรรม | อก. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชนของกระทรวงอุตสาหกรรม
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้ ๑.
สร้างความสำเร็จให้กับภาคธุรกิจ เช่น
ขยายเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ต่อเนื่องจากปี
๒๕๖๕ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๕-๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ ๒.
ดูแลประชาชนรอบโรงงานอุตสาหกรรม โดยให้บริการตรวจสุขภาพประชาชนรอบสถานประกอบการเหมืองแร่ ๓.
รักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดี
เพื่อลดฝุ่น PM2.5 ฤดูการผลิต ปี
๒๕๖๕/๒๕๖๖ ๔.
กระจายรายได้ให้กับประชาชนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผ่านโครงการพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม
ภายใต้กลไก “คนชุมชนดีพร้อม”
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.01 | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน
และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑)
สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่ยื่นผ่านช่องทางการร้องทุกข์ ๑๑๑๑ รวมทั้งสิ้น ๖๗,๙๑๙ เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ ๖๒,๑๑๒ เรื่อง โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์ฯ
มากที่สุด (๔,๔๐๕ เรื่อง) (๒)
การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีการติดต่อแจ้งเรื่องร้องทุกข์ ๑๓๔,๕๗๕ ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๓๓,๑๒๙ ครั้ง (มีการติดต่อแจ้งเรื่องร้องทุกข์ ๑๖๗,๗๐๔
ครั้ง ) ทั้งนี้ ประเด็นที่ประชาชนยื่นเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด คือ
การรักษาพยาบาล ๔,๘๙๓ เรื่อง (๓) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
เช่น ประชาชนยังคงมีความกังวลและต้องการทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนภายใต้แนวทางการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ที่ถูกต้องตามสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป และเรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับระบบออนไลน์
ซึ่งเกิดจากการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จหรือข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง และ
(๔) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการการปฏิบัติงาน เช่น
ขอให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
ข้อมูลผลการดำเนินงานและข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างทั่งถึง
และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการแก้ไขปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | วาระแห่งชาติ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ | พม. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประสานหน่วยงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นำแผนปฏิบัติการดังกล่าวไปขับเคลื่อนการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของกระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรให้มีการประชาสัมพันธ์ และการจัดโครงการ/กิจกรรมในการเสริมสร้างความรู้
เพื่อให้ปลอดภัยจากความรุนแรงทางเพศ/การข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ ในพื้นที่สาธารณะ
นอกจากนี้มาตรการในการลงโทษผู้กระทำผิดในเรื่องดังกล่าว
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐ ควรมีบทลงโทษที่เด็ดขาด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา
ควรนำเรื่อง หรือวาระฯ ดังกล่าว
ให้เป็นแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรม
โดยวางแผนพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน
ให้มีการสร้างความตระหนักถึงการเคารพและให้เกียรติแก่เพศตรงข้าม
หรือพัฒนา/ปรังปรุงให้มีการเรียนการสอน ในด้านการป้องกันตัวหากเกิดเหตุร้ายแรง
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ควรกำหนดตัวชี้วัดเพิ่มในกลยุทธ์ที่ ๑
เรื่องการวัดค่านิยมทางบวกของประชาชนเพื่อลดความรุนแรงทางเพศ
การใช้เครื่องมือรูปแบบ Soft Power จากสื่อบันเทิงเสริมแรงกระตุ้นการปรับเปลี่ยนมายาคติให้เกิดกระแสและค่าความนิยมที่ดี
การกำหนดเรื่องใดเป็นวาระแห่งชาติหากยังเกิดเหตุขึ้นอีกก็จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาในมิติที่อาจได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย
และในการเสนอให้เพิ่มบทคำนิยามและการเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบโดยคำนึงถึงมาตรการที่มีอยู่แล้วในกฎหมายปัจจุบันเพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่นหรือซ้ำซ้อนกันด้วย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์ | พน. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ (เรื่อง โครงการไฟฟ้าพลังงานบ้านจันเดย์) เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยุติการดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบ้านจันเดย์
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่เห็นควรกำกับการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนต่าง
ๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ให้จัดหาพลังงานไฟฟ้าทดแทนจากแหล่งพลังงานอื่นโดยเฉพาะที่มาจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อประโยชน์ต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
รวมทั้งเป็นไปและสอดคล้องกับนโยบาย BCG ของรัฐบาลต่อไป และควรยุติโครงการฯ ไว้ก่อน แต่ไม่ควรยกเลิกอย่างสิ้นเชิง
ในระหว่างนี้ให้ติดตามข้อมูลลงทุนความเหมาะสมของการพัฒนาโครงการฯ ในอนาคตต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาทบทวนการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๑ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน โดยคำนึงถึงความจำเป็น ความคุ้มค่า
และความเหมาะสมทางเทคนิคที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบและรัดกุมเพื่อให้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ มีความถูกต้อง ชัดเจน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....] | ดศ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
(Government Big Data Institute : GBDI)
หน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Big
Data Institute : NBDI) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน วิเคราะห์
และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขชื่อหน่วยงาน ตัดคำว่า
“คลัง” และ “แห่งชาติ” ออก เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
ตลอดจนมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่กำหนดว่า
“ไม่ควรใช้คำว่า “แห่งชาติ”
ในการกำหนดชื่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกรัฐ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำหน้าที่ในฐานะ “แห่งชาติ” อยู่แล้ว” และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เช่น การกู้ยืมเงินของ NDBI ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยจะต้องยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาปรับเปลี่ยนองค์กรรูปแบบใหม่
เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้ง NDBI ครบ ๒ ปี เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 2/2565 | นร.11 สศช | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕
พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติและรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อนำเสนอคณะกรรมการระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศตามขั้นตอนต่อไป
และเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
รวมทั้งเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ (เรื่อง
ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑)
เพื่อมอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ
National Single Window และกำหนดขอบเขตหน้าที่ของบริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ให้เหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เช่น
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการรปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อมาดำเนินการในโอกาสแรก
และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกับ reprocess เพื่อลดกระบวนงานให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและกำหนดกรอบเวลาการพัฒนาระบบ
NSW ให้แล้วเสร็จไว้อย่างชัดเจน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง | คค. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข ๘๒ สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว
สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
โดยโครงการร่วมลงทุน O&M
มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดบนทางหลวงหมายเลข ๓๕
(ถนนพระราม ๒) โดยเฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น
เพิ่มโครงการถนนสายหลักในพื้นที่ตอนล่างของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง
ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวง และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒
รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ กค
๐๘๒๐.๑/๔๗๗๐ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น ให้กรมทางหลวงพิจารณาแนวทางการเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันและกำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
และให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน | กษ. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม
โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เพิ่มขึ้นถุงหรือกล่องละ ๐.๓๑ บาท ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๖ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
สำหรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
หากยังมีงบประมาณไม่เพียงพอให้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
การพิจารณาทบทวนการกำหนดราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบให้สอดคล้องกับสถานการณ์
และหากจะมีการปรับเพิ่มหรือลดราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมและคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน)
พิจารณาผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นให้รอบคอบ ครบถ้วน
แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น
ควรมุ่งเน้นการพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
และผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางการปรับราคากลางนมโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
เร่งขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านโคนมและผลิตภัณฑ์โคนม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐)
ที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งให้พิจารณาเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความต้องการบริโภคนมโรงเรียนที่มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากนักเรียนเข้าใหม่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง
เช่น การทยอยปรับลดกำลังการผลิต นมโรงเรียน การแปรรูปนมโคเป็นผลิตภัณฑ์อื่นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
เป็นต้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม พ.ศ. .... | สธ. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม
เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ติดยาเสพติดหรือผู้เข้ารับการบำบัด
รวมทั้งการติดตาม ดูแล
เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาได้รับการฟื้นฟูสภาพทางสังคม
โดยได้รับบริการด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ที่จำเป็นและเหมาะสม
รวมทั้งช่วยเหลือสนับสนุนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว
เพื่อบุคคลดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้
โดยไม่กลับมากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีก ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงแรงงานและกระทรวงศึกษาธิการ ที่เห็นควรปรับปรุงถ้อยคำ
เป็น “ผู้ติดยาเสพติดที่ผ่านการฟื้นฟูสภาพทางสังคมหรือผ่านการบำบัดรักษา”
เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีกระบวนการรับรองได้ว่าบุคคลดังกล่าวสามารถกลับเข้าสู่สังคมการทำงาน
โดยไม่มีพฤติกรรมหรือโรคทางจิตและประสาทหรืออาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาเสพติดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นหรือสังคม
และขอให้แก้ไขชื่อส่วนราชการจากกรรมการกากรศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการตามอัธยาศัย
และจากสำนักงานการอาชีวศึกษาเป็นสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาตามร่างข้อ ๓
(๕)(ข)(ค) ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2565 | กษ. | 29/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๕ และเห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้กรอบองค์การค้าโลก (World Trade Organization :
WTO) คราวละ ๓ ปี (ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘) ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษี
ร้อยละ ๐ และกรอบการค้าอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อผูกพัน
และการบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง คราวละ ๓ ปี (๒๕๖๖-๒๕๖๘) การเปิดตลาดและบริหารการนำเข้าสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง
มะพร้าว มะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว
ตามพันธกรณีความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO และความตกลงการค้าเสรี
(FTA) อื่น ๆ คราวละ ๓ ปี (ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๘)
โดยจัดสรรปริมาณการนำเข้าในโควตาปีต่อปี การใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special
Safeguard Measure : SSG) ภายใต้ความตกลงเกษตรของ WTO และความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
สำหรับสินค้ามะพร้าวผล ปี ๒๕๖๕
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
และเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
โดยเพิ่มเติมอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการ ตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ และให้คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น การใช้มาตรการป้องกันพิเศษ (Special
Safeguard Measure)
ควรพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและขั้นตอนภายใต้ข้อ ๕
ของความตกลงว่าด้วยการเกษตร (Agreement on Agriculture) ของ WTO
และข้อ ๘๖ ของ ATIGA ควรกำกับดูแลการนำเข้าให้เป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนด
รวมทั้งเข้มงวดกับการป้องกันผู้กระทำความผิดและเฝ้าระวังให้เกิดการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรชนิดต่าง
ๆ อาทิ เมล็ดถั่วเหลือง มะพร้าว น้ำมันปาล์ม
อย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้กระทบกับเกษตรกรในประเทศ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566-2580) | นร16 | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐) โดย (ร่าง) นโยบายและแผนฯ
มีนโยบายหลัก ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) การสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
และการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ (๒)
การใช้ที่ดินและทรัพยากรที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด (๓)
การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และ
(๔) การบูรณาการและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างมีเอกภาพ
และมีตัวชี้วัดรวมทั้งหมด ๑๙ ตัวชี้วัด มี ๑๑ แนวทางการพัฒนาหลัก และ ๑๗
แผนงานที่สำคัญ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม และข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย เช่น ควรมีการประเมินความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งของภาครัฐ
เอกชน รวมถึงประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายของ คทช.
เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแผนการดำเนินงานต่อไป ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายต่าง
ๆ และควรให้ภาคประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด | อก. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด โดยขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมทุนในข้อ ๑๐
และชื่อคู่สัญญาร่วมทุน ดังนี้ (๑) ให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้งบริษัท
โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด ข้อ ๑๐ จากเดิมที่ระบุว่า
“...คณะกรรมการบริษัท
ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
โดยจำนวนสัดส่วนของกรรมการนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ ทั้งนี้
จำนวนกรรมการฝ่ายรัฐต้องมีไม่น้อยกว่า ๓ คน โดยเป็นผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรม ๒
คน และผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ๑ คน เป็นกรรมการ
โดยผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ” และ (๒)
ให้มีการแก้ไขชื่อคู่สัญญาร่วมทุนจากเดิม “บริษัท บวรกิจร่วมทุน จำกัด” เป็น “บริษัท
สนิทเสถียร จำกัด”
โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุดไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปให้ถูกต้อง
เหมาะสม เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้คำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา ๗๕ วรรคสอง
ที่บัญญัติให้รัฐต้องประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน
เว้นแต่กรณีที่มีความจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การจัดให้มีสาธารณูปโภค หรือการจัดทำบริการสาธารณะ ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | รายงานความคืบหน้าการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG และการขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG | อว. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 | อว. | 22/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติมว่า
การดำเนินการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติในสถานะของส่วนราชการภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและภารกิจตามหน้าที่และอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด
รวมทั้งผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมก็มิได้น้อยกว่าหน่วยงานบริการและจัดการกองทุนอื่น
ๆ ที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชนแต่ประการใด นอกจากนี้
บุคลากรของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้แสดงความประสงค์ขอคงสถานะของหน่วยงานให้เป็นส่วนราชการ
ดังนั้น จึงเห็นควรให้คงสถานะของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นส่วนราชการไว้ดังเดิมและที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2565 | นร.11 สศช | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ที่มีมติเกี่ยวกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ กรณีโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ของกระทรวงมหาดไทย
ให้จังหวัดภูเก็ตเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ จำนวน ๖ โครงการ
ให้จังหวัดระนอง จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดกาฬสินธุ์
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ
โดยการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปริมาณงานและรายละเอียดโครงการ จำนวน ๔ โครงการ
(จังหวัดละ ๑ โครงการ) ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่งกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑)
ให้หน่วยงานเร่งรัดการดำเนินการแผนงาน/โครงการตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้
(๒)
ให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
(๓) โครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบและส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ | ปช. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
มีสาระสำคัญเพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ
หรือการวางแผนโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ
เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริต การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
และเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมาตรการใดที่เป็นช่องทางให้มีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
หรือเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีต่อราชการได้
ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 | กต. | 15/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่
๒๑ (Cooperation Plan between the Government of
the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China on
Jointly Promoting the Silk Road Economic Belt and the 21st Century
Maritime Silk Road) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างแผนความร่วมมือฯ โดยร่างแผนความร่วมมือฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดรายละเอียดความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในประเด็นต่าง ๆ
ตามแนวคิดหลักของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative :
BRI) อาทิ การค้าอย่างไร้อุปสรรค (Unimpeded Trade) และการบูรณาการทางการเงิน (Financial Integration) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
รวมทั้งต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานร่างแผนความร่วมมือฯ
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|