ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 15 จากข้อมูลทั้งหมด 15 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ | ตช. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ
ออกไปอีก ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๘ - ๒๕๗๒) ในวงเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม
๒๕๖๑ ได้อนุมัติไว้ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายในกรอบระยะเวลาที่ได้รับการขยายในครั้งนี้
โดยดำเนินการให้ถูกต้อง โปร่งใส เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงพลังงาน
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงพลังงาน เห็นควรพิจารณาการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
ประหยัดคุ้มค่า และให้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรที่คณะรัฐมนตรีจะได้กำชับให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดแผนการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ชัดเจน
มีกำหนดแล้วเสร็จแน่นอน เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) เพื่อพิจารณาทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดของโครงการฯ ให้เหมาะสม
ทันสมัย เป็นปัจจุบัน มีช่องทางการแจ้งเหตุฉุกเฉินที่หลากหลาย ครบถ้วน
แล้วให้กำหนดแผนการดำเนินงานต่าง ๆ
และกรอบระยะเวลาของแผนดังกล่าวให้ชัดเจนก่อนดำเนินการต่อไป
โดยไม่ควรมีการขยายระยะเวลาอีก |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานสรุปผลและการนำเสนอวีดิทัศน์สรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด (Commission on Narcotic Drugs: CND) สมัยที่ 67 | ยธ. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลและการนำเสนอวีดิทัศน์สรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติด
(Commission on Narcotic Drugs :
CND) สมัยที่ ๖๗ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ
ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ กรุงเวียนนา ออสเตรีย โดยในการประชุม CND
ประกอบด้วย (๑) การประชุมระดับสูง
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงระดับรัฐมนตรีในวาระการอภิปรายทั่วไป
และประกาศคำมั่นในนามไทย ตามเอกสารแนวคิดข้อริเริ่ม “Pledge4Action” ของประธาน CND สมัยที่ ๖๗ โดยเน้นย้ำประเด็นที่รัฐบาลไทยมีการดำเนินการนโยบายสาธารณสุขนำ
ควบคู่กับการใช้มาตรการปราบปรามและยึดทรัพย์อย่างจริงจังกับนักค้ายาเสพติด การใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์
ได้มีการรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว (๒) การหารือทวิภาคี ได้ร่วมหารือทวิภาคีกับ
๕ ประเทศ (สิงคโปร์ สปป.ลาว อิหร่าน เยอรมนี เกาหลี)
และผู้แทนหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติในประเด็นต่าง ๆ
โดยมีผลการหารือที่สำคัญ เช่น ๑)
การแลกเปลี่ยนทัศนะในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและการเสริมสร้างความร่วมมือกับสิงคโปร์
๒) การหารือเกี่ยวกับการสกัดกั้นการลักลอบลำเลียงยาเสพติดตลอดแนวชายแดนรวมถึงการจับกุมผู้ต้องหาเครือข่ายยาเสพติดรายสำคัญกับ
สปป.ลาว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 5 และการเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี ไทย-ภูฏาน | พณ. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย
- ภูฏาน ครั้งที่ ๕ และการหารือทวิภาคี เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ณ กรุงทิมพู
ราชอาณาจักรภูฏาน และมอบหมายหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการและติดตามความคืบหน้าต่อไป
ซึ่งผลการประชุมฯ มีสาระสำคัญ เช่น
การหารือแนวทางดำเนินการร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการค้ามูลค่า ๑๒๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภายในปี ๒๕๖๘ การลงทุน การส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน
ด้านทรัพย์สินทางปัญญา และด้านการเกษตร และยังได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามเอกสาร
๒ ฉบับ ได้แก่ เอกสารขอบเขตสำหรับการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและภูฏาน และเอกสารบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมศิลปหัตถกรรมระหว่างสถาบันส่งเสริมศิลปหัตกรรมไทย
(องค์การมหาชน) กับกรมการสื่อสาร อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และทรัพย์สินทางปัญญาภูฏาน ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองตูริน สาธารณรัฐอิตาลี และการปรับสถานะสถานทำการทางกงสุลจากสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำเมืองตูริน เป็นสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองตูริน (นายเปาโล โปแมะ) | กต. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ดังนี้ ๑. แต่งตั้ง นายเปาโล โปแมะ (Mr.Paolo Pome) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ
เมืองตูริน สาธารณรัฐอิตาลี
โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมแคว้นปีเยมอนเตและแคว้นวัลเลดาออสตา สืบแทน นายอาคิเล เบนาซโซ
(Mr. Achille Benazzo) กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำเมืองตูริน
สาธารณรัฐอิตาลี ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง ๒. ปรับชื่อเรียกตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์จาก
กงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองตูริน เป็น กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองตูริน
สาธารณรัฐอิตาลี
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และการพิจารณาเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับ OPCAT | สม. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
พ.ศ. ๒๕๖๕ และการพิจารณาเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับ OPCAT ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสาวอลินี ธนะวัฒน์สัจจะเสรี และนางสาววราภรณ์ ตั้งตระกูล) | นร.10 | 12/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗
ซึ่งเป็นวันที่มีคำสั่งให้รักษาราชการแทนในตำแหน่งดังกล่าว ตามที่สำนักงาน ก.พ.
เสนอ ดังนี้ ๑. นางสาวอลินี ธนะวัฒน์สัจจะเสรี ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ.
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 | นร.07 | 22/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๙ เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณฯ ใช้เป็นแนวทางประกอบการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
และให้สำนักงบประมาณรับข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรให้ความสำคัญกับการปรับลดขนาดการขาดดุลงบประมาณควบคู่กับการจัดสรรงบชำระหนี้ของรัฐบาลให้สอดคล้องกับขนาดของมูลหนี้ที่ครบกำหนดชำระ
ทั้งในส่วนของหนี้ของรัฐบาลและหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อดำเนินโครงการของรัฐ
เพื่อลดภาระหนี้ภาครัฐที่อยู่ในระดับสูงและเพิ่มพื้นที่ทางการคลังให้เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติ พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. .... | รง. | 22/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการ ๑.๑
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง
และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบของนายจ้างและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้างตามมาตรา
๔๗ วรรคสอง และการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรงจากวาตภัยและอุทกภัยในงวดเดือนกันยายน
พ.ศ. ๒๕๖๗ ถึงงวดเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้างและผู้ประกันตน ๑.๒
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง
และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนการออกเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของนายจ้าง
ผู้ประกันตน ตามมาตรา ๓๓ และผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ ในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง
โดยให้การลดหย่อนการออกเงินสมทบมีผลใช้บังคับในงวดเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
ถึงงวดเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ รวม
๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการตรวจสอบท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติตามรายงานการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
(กรณีอุทกภัย) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ที่มีเพิ่มเติม
และความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรเร่งดำเนินการให้นายจ้างและผู้ประกันตนในท้องที่ดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ด้วย
ไปประกอบการพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) | คค. | 16/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนและเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (โครงการฯ)
ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตามนัยมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป กระทรวงการคลัง เห็นควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งเสนอพระราชบัญญัติบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
พ.ศ. .... ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว
เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบัตรโดยสารร่วมและโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมในระบบขนส่งสาธารณะโดยนำร่องในระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ประชาชนหันมาเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้นได้ตามเป้าหมาย ๒. ให้กระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯ ตามมาตรา ๔๓
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑ พิจารณาปรับแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ
ให้สอดคล้องกับผลการเจรจาเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการและป้องกันข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ๒.๒
เร่งรัดดำเนินการสำรวจอสังหาริมทรัพย์ การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการส่งมอบพื้นที่ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (โครงการฯ ส่วนตะวันตก) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
รวมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายในการสำรวจอสังหาริมทรัพย์และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินให้อยู่ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ
(จำนวน ๑๔,๖๖๑ ล้านบาท)
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ [เรื่อง
ขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทย] เพื่อไม่ให้เป็นภาระทางการคลังของประเทศเพิ่มขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ ให้เร่งดำเนินการเจรจากับเอกชนผู้ร่วมลงทุนในการปรับแผนการดำเนินงานและเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย ๒.๓
เร่งเสนอร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว
ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งเร่งพัฒนาระบบการจ่ายเงินค่าโดยสารร่วมในระบบขนส่งสาธารณะโดยคิดอัตราค่าแรกเข้า
๑ ครั้งต่อ ๑ เที่ยว มาใช้สำหรับการเปลี่ยนสายรถไฟฟ้าได้ในทุกกรณี |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2567/2568 | นร.14 | 25/06/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน
๗,๖๐๖.๔๙๗๒ ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน
ปี ๒๕๖๗ และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๗/๒๕๖๘ จำนวน ๒,๖๖๘
รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการควบคุม
และการมีมาตรการกำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินโครงการดังกล่าว
โดยเฉพาะโครงการประเภทการซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ และการขุดลอกคูคลองในช่วงฤดูน้ำหลาก
ให้มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุดด้วย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยให้เร่งรัดดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจให้ถูกต้อง ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | (ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น | ทส. | 18/06/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบ
(ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
พร้อมเอกสารแนบ ข้อ Attachment 1-3
และมอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทน เป็นผู้แทนฝ่ายไทยลงนามในบันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น
โดย (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ เป็นการปรับปรุงความร่วมมือทวิภาคี Joint
Crediting Mechanism (JCM) กับประเทศญี่ปุ่นที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่
๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ โดยยังคงมีสาระสำคัญเช่นเดิม คือ เป็นการจัดตั้งกลไก JCM เพื่อส่งเสริมให้ประเทศญี่ปุ่นสนับสนุนเงินลงทุนและเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับโครงการต่าง
ๆ ที่ดำเนินการโดยภาครัฐหรือเอกชนของไทย เพื่อแลกกับการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตที่ลดลงจากการดำเนินโครงการให้กับประเทศญี่ปุ่น
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงพลังงาน
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เช่น กระทรวงพลังงาน
เห็นว่าการกำหนดสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตตามสัดส่วนเงินสนับสนุนจากฝ่ายญี่ปุ่นต่อเงินลงทุนในโครงการแต่ละโครงการต้องมีการพิจารณาผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่ทันสมัยให้กับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) ที่มีศักยภาพและความพร้อมเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน (ร่าง)
บันทึกความร่วมมือฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า พ.ศ. .... | สธ. | 23/04/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตพิเศษเฉพาะคราว เพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวและการออกใบอนุญาตพิเศษเฉพาะคราวเพื่อส่งออกวัตถุออกฤทธิ์ที่ห้ามนำเข้า
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นว่าการกำหนดให้ผู้อนุญาตพิจารณาออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน
๓๐ วันตามร่างข้อ ๖ นั้น ไม่ได้กำหนดชัดเจนว่ากำหนดเวลา ๓๐ วัน
นับแต่เมื่อใดและหากพิจารณาไม่แล้วเสร็จจะมีมาตรการอย่างไร ควรกำหนดให้ชัดเจน ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เห็นควรเร่งดำเนินการตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนและเผยแพร่ตามช่องทางที่กำหนด
รวมถึงในเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th)
ต่อไป และการกำหนดให้ผู้อนุญาตพิจารณาออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน
๓๐ วันตามร่างข้อ ๖ นั้น ไม่ได้กำหนดชัดเจนว่ากำหนดเวลา ๓๐ วัน นับแต่เมื่อใดและหากพิจารณาไม่แล้วเสร็จจะมีมาตรการอย่างไร
ควรกำหนดให้ชัดเจน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... | สธ. | 12/03/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ
ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน ๘ ประเด็น โดยในส่วนของประเด็นที่เห็นควรให้แก้ไขผู้รักษาการตามกฎหมาย
จาก “นายกรัฐมนตรี” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข” นั้น ยังมีความเห็นบางส่วนที่เห็นว่า
การให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายมีความเหมาะสมแล้ว
เนื่องจากการดำเนินการตามกฎหมายฉบับนี้จำเป็นจะต้องมีการบูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่าง
ๆ เพื่อให้นโยบาย แผนงาน และมาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
รวมทั้งการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือผู้มีปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์เกิดผลสัมฤทธิ์
ตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ๒.
รับทราบคำชี้แจงเหตุผลตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๓.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยเป็นการปรับปรุงคำนิยามให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการต่าง ๆ เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีผู้รักษาการในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับสถานที่ห้ามจำหน่ายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพิ่มอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพิ่มหมวดว่าด้วยการโฆษณาเพื่อการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ห้ามแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ
หรือชักจูงใจ กำหนดให้มีการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพแก่ผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
และกำหนดเวลาห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ทั้งนี้
ให้ส่งความเห็นที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานศาลยุติธรรม
และผลการพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
และความเห็นที่มีต่อประเด็นดังกล่าว ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งคำชี้แจงเหตุผลตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ไปประกอบการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรด้วย ๔. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐเฉพาะกิจเพื่อจัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศอย่างครอบคลุมว่าด้วยการต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ทางอาชญากรรม | กต. | 23/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบการเจรจาร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศอย่างครอบคลุมว่าด้วยการต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ทางอาชญากรรม
และให้คณะผู้แทนไทยร่วมเจรจาร่างอนุสัญญาฯ
โดยใช้กรอบการเจรจาร่างอนุสัญญาฯ ในการกำหนดท่าทีในการเจรจาร่างอนุสัญญาฯ โดยหากมีความจำเป็นและมีการปรับแก้ร่างอนุสัญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย
ขอให้คณะผู้แทนไทยใช้ดุลยพินิจในการร่วมการเจรจาร่างอนุสัญญาฯ ได้
โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก ทั้งนี้ โดยคำนึงว่าไทยสามารถเลือกเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาที่กำลังมีการจัดทำดังกล่าวได้เมื่อมีความพร้อม
ซึ่งการเจรจาร่างอนุสัญญาฯ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙ มกราคม-๙กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ
นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยกรอบการเจรจาร่างอนุสัญญาฯ มีสาระสำคัญ เช่น (๑) การกำหนดแนวทางการเจรจาโดยคำนึงถึงหลักการและบทบัญญัติตามกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนความตกลงระหว่างประเทศและพันธกรณีที่มีผลผูกพันไทย
ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์หรือการใช้เทคโนโลยีสารสนทศ
และการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ทางอาชญากรรม และ (๒)
การกำหนดท่าทีของไทยสำหรับการประชุมดังกล่าว โดยมีการกำหนดขอบเขตของอนุสัญญาฯ อาทิ
มีขอบเขตครอบคลุมอาชญากรรมที่ต้องพึ่งพาระบบไซเบอร์และระบบคอมพิวเตอร์ (cyber-dependent crimes) เป็นหลัก รวมถึงอาชญากรรมดั้งเดิมที่กระทำผ่านระบบไซเบอร์
หรือระบบคอมพิวเตอร์ (cyber-enabled crimes) ในบางกรณี
และสนับสนุนการเรียกและติดตามคืนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด เป็นต้น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ขอบเขตของการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศไม่ควรรวมถึงการแลกเปลี่ยนพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ของอาชญากรรมทุกประเภท
แต่ควรระบุไว้เป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิดความชัดเจนภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศฯ
เนื่องจากบางกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายภายในประเทศบังคับใช้ไว้แล้ว เช่น
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน
พ.ศ. ๒๕๕๑ และควรระบุเหตุผลความจำเป็นในการขอสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศให้กว้างและยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดการบูรณาการเชิงป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กรณีไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นหนังสือสัญญาตาม ม.๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และเป็นเรื่องในทางนโยบาย ซึ่งเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาได้ตามความเหมาะสม
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การเร่งรัดการดำเนินการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ | นร. | 09/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง
และการประปาส่วนภูมิภาค ได้ผ่อนปรนให้ประชาชนผู้ได้รับทะเบียนบ้านชั่วคราวซึ่งออกให้กับที่อยู่อาศัยที่ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต
รวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐสามารถขอใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาได้ในอัตราค่าบริการที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าวในระยะยาว
ซึ่งบางส่วนไม่มีสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้าและน้ำประปาใช้มาเป็นเวลานานมากแล้ว จึงขอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
(สคทช.) ดำเนินการ ดังนี้ ๑.
เร่งรัดการดำเนินการขอผ่อนผันการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ เมษายน
๒๕๔๖ (เรื่อง
การออกเลขที่บ้านชั่วคราวให้กับผู้บุกรุกในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย)
รวมทั้งเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐมาก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติในวันนี้สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้าและน้ำประปาได้เป็นการชั่วคราวตามหลักสิทธิมนุษยชน
โดยให้ดำเนินการเรื่องนี้เป็นการนำร่องก่อนเฉพาะในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีและแม่ฮ่องสอน
และให้ สคทช. รายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบภายใน ๑ เดือน ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกับ สคทช. ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นตามหน้าที่และอำนาจด้วย ๒.
เร่งรัดการดำเนินการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ภายใน ๑ ปี ทั้งนี้ ให้ สคทช.
รายงานความคืบหน้าการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ด้วย
|