ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 15 จากข้อมูลทั้งหมด 15 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ | กค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ
(โครงการฯ) โดยมอบหมายกระทรวงการคลังดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพ
และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. .... งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ
จำนวนไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท รวมทั้งเห็นชอบในหลักการการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่กลุ่มเป้าหมายได้รับตามโครงการฯ
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ เช่น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
นำส่งฐานข้อมูลผู้ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๓ เมษายน ๒๕๖๗ สำเร็จ ที่มีสัญชาติไทยและมีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
เป็นต้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำหรับภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้น
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ให้รับความเห็นและข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ธนาคารแห่งประเทศไทย
และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นว่ากระทรวงการคลังควรเตรียมแนวทางการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว
เพื่อสร้างความเข้าใจในวงกว้างและลดปัญหาการร้องเรียนที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ สำนักงบประมาณ เห็นควรให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมุ่งเน้นการกำกับดูแลการดำเนินการในเรื่องต่าง
ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ข้อกฎหมาย
รวมถึงรักษากรอบวินัยการเงินการคลังอย่างรอบคอบ เคร่งครัด
และจัดให้มีการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่า รวมทั้งรายงานปัญหาอุปสรรค
และแนวทางการแก้ไขการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากการติดตามข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู | ศธ. | 11/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 6 | กต. | 15/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย
- ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ ๖ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองร่างบันทึกการประชุมฯ
ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ โดยร่างบันทึกการประชุมฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมของทั้งสองประเทศที่จะเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีร่วมกันในทุกมิติ
เช่น การเสริมสร้างความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง
การส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
การพัฒนาศักยภาพรวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษา สังคม วัฒนธรรม และกีฬา
รวมทั้งการดูแลแรงงานไทยและฟิลิปปินส์ในประเทศ นอกจากนี้
ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในระดับภูมิภาคโดยเฉพาะการรวมตัวทางเศรษฐกิจและเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายและอาชญากรรมไซเบอร์ภายใต้กรอบอาเซียน
เป็นต้น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักข่าวกรองแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ดังนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรบูรณาการประเด็นความร่วมมือตามกรอบทวิภาคีนี้ร่วมกับกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง
และควรติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด
รวมทั้งสื่อสารผลลัพธ์ให้สาธารณชนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับ และให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ตามความเหมาะสม
โดยให้รวบรวมผลการปรับแก้ร่างบันทึกการประชุมฯ
ดังกล่าวกับผลการปรับแก้เอกสารความตกลงระหว่างประเทศของกรอบความร่วมมืออื่น ๆ
พร้อมทั้งผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง รายงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบในคราวเดียวกัน สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เห็นว่าเนื้อหาโดยรวมของร่างบันทึกการประชุมฯ
ครอบคลุมวัตถุประสงค์ในการแสดงเจตนารมณ์ร่วมของทั้งสองประเทศที่จะกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมืออย่างรอบด้าน
แต่อาจพิจารณาปรับถ้อยคำบางส่วนเพื่อให้เนื้อหามีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ได้แก่ ข้อ ๘ “ฝ่ายไทยชื่นชมรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่ใช้มาตรการเข้มงวดรับมือกับการกระทำผิดกฎหมายจากธุรกิจพนันออนไลน์
(POGOs)” เป็น “ฝ่ายไทยชื่นชมรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่ใช้มาตรการเข้มงวดในการปราบปรามเครือข่ายหลอกลวงทางออนไลน์
นำไปสู่คำสั่งยกเลิกธุรกิจพนันออนไลน์ (POGOs) ภายในปี ๒๕๖๗”
และข้อ ๑๒ “ฝ่ายฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพการหารือประจำปีระหว่าง NIA และ NICA เมื่อวันที่ ๑ - ๕ มีนาคม ๒๕๖๒
ที่เมืองเซบู” เป็น “ฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพการหารือประจำปีระหว่าง NIA และ NICA เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม - ๑ กันยายน ๒๕๖๕
ที่กรุงเทพมหานคร” ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกการประชุมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | รัฐบาลสาธารณรัฐมาลีเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐมาลีประจำประเทศไทย (พลจัตวา เฟลิกซ์ ดีอาโล) | กต. | 08/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง พลจัตวา เฟลิกซ์ ดีอาโล (Brigadier General Felix Diallo) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐมาลีประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย สืบแทน นางกีเซ มาอีมูนา ดีอาล (Mrs.
Guisse Maimouna Dial) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2566 | กสทช. | 01/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประจำปี ๒๕๖๖ ประกอบด้วย ๑)
ผลการปฏิบัติงานที่สำคัญของ กสทช. ปี ๒๕๖๖ ๒) นโยบาย แผนการดำเนินงาน
และงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๗ ๓) งบการเงิน และการตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ๔) ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมที่มีความสำคัญต่อประชาชน ๕) คุณภาพการให้บริการและอัตราค่าบริการโทรคมนาคมประเภทต่าง
ๆ ที่มีความสำคัญต่อประชาชน ๖) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ๗) การบริหารงาน กทปส. และ ๘) รายงานสภาพตลาดและการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | ยธ. | 01/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงยุติธรรม
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอ
ดังนี้ ๑. พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมคุมประพฤติ ๒. นายโกมล พรมเพ็ง ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีขององค์การที่ปรึกษากฎหมายแห่งเอเชียและแอฟริกา (Asian-African Legal Consultative Organization: AALCO) สมัยที่ 62 | กต. | 30/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีขององค์การที่ปรึกษากฎหมายแห่งเอเชียและแอฟริกา
(Asian - African Legal Consultative Organization : AALCO) สมัยที่ ๖๒ ของประเทศไทย และเห็นชอบในหลักการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติอำนวยความสะดวกในการรักษาความปลอดภัยสถานที่ประชุมและผู้แทนระดับรัฐมนตรีที่เดินทางมาเข้าร่วมการประชุม
การจัดการจราจรในพื้นที่โดยรอบ
รวมถึงอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราและการเข้าออกเมืองแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ดังนี้ กระทรวงการคลัง เห็นควรถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนด้วย
ประกอบกับการเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปี AALCO สมัยที่ ๖๒
ของกระทรวงการต่างประเทศถือเป็นการดำเนินการที่มีผลผูกพันทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ
ดังนั้น ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักงบประมาณ เห็นว่าค่าใช้จ่ายการเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีของ
AALCO สมัยที่ ๖๒
ให้กระทรวงการต่างประเทศใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ได้รับจัดสรรรองรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้แล้ว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) | คค. | 16/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนและเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (โครงการฯ)
ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตามนัยมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป กระทรวงการคลัง เห็นควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งเสนอพระราชบัญญัติบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
พ.ศ. .... ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว
เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบัตรโดยสารร่วมและโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมในระบบขนส่งสาธารณะโดยนำร่องในระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ประชาชนหันมาเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้นได้ตามเป้าหมาย ๒. ให้กระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯ ตามมาตรา ๔๓
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑ พิจารณาปรับแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ
ให้สอดคล้องกับผลการเจรจาเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการและป้องกันข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ๒.๒
เร่งรัดดำเนินการสำรวจอสังหาริมทรัพย์ การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการส่งมอบพื้นที่ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (โครงการฯ ส่วนตะวันตก) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
รวมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายในการสำรวจอสังหาริมทรัพย์และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินให้อยู่ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ
(จำนวน ๑๔,๖๖๑ ล้านบาท)
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ [เรื่อง
ขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทย] เพื่อไม่ให้เป็นภาระทางการคลังของประเทศเพิ่มขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ ให้เร่งดำเนินการเจรจากับเอกชนผู้ร่วมลงทุนในการปรับแผนการดำเนินงานและเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ
ให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย ๒.๓
เร่งเสนอร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว
ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งเร่งพัฒนาระบบการจ่ายเงินค่าโดยสารร่วมในระบบขนส่งสาธารณะโดยคิดอัตราค่าแรกเข้า
๑ ครั้งต่อ ๑ เที่ยว มาใช้สำหรับการเปลี่ยนสายรถไฟฟ้าได้ในทุกกรณี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | กรอบเจรจาการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม (WIPO IGC) ด้านทรัพยากรพันธุกรรม ภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก | พณ. | 07/05/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบเจรจาการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม [WIPO (World Intellectual Property Organization) Intergovernmental Committee on Intellectual Property and Genetic Resources,
Traditional knowledge and Folklore (WIPO IGC)] ด้านทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ที่ปรับปรุงใหม่เพื่อให้คณะผู้แทนไทยใช้เป็นพื้นฐานในการประชุมเจรจา
WIPO IGC ด้านทรัพยากรพันธุกรรม จนกว่าจะสรุปผลการเจรจา WIPO
IGC ด้านทรัพยากรพันธุกรรมได้
หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของการเจรจาอย่างมีนัยสำคัญ และหากในการประชุมเจรจา
WIPO IGC ด้านทรัพยากรพันธุกรรมมีการเจรจาในประเด็นอื่น ๆ
ที่นอกเหนือจากที่ได้ระบุไว้ในร่างกรอบเจรจาฯ ที่ปรับปรุงใหม่
และหากประเด็นดังกล่าวมีความสอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศหรือไม่ขัดกับผลประโยชน์ของไทย
รวมถึงหากมีการลดประเด็นในกรอบเจรจาข้างต้น
ในกรณีที่คณะเจรจาเห็นสมควรเพื่อให้สามารถสรุปผลการเจรจาได้และได้รับประโยชน์จากการดำเนินการตามความตกลงหรือตราสารโดยเร็ว
รวมทั้งไม่ขัดกับผลประโชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
โดยกรอบเจรจาฯ มีประเด็นที่แตกต่างจากกรอบเจรจาฯ เดิม หลายประเด็น เช่น
การตัดประเด็นการได้รับความยินยอมจากบุคคล ชุมชน ชาติ
หรือผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรม
และการจัดทำเงื่อนไขให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม
รวมถึงมีการเพิ่มเติมประเด็นที่อยู่นอกเหนือกรอบเจรจาฯ ได้แก่
ประเด็นการส่งเสริมให้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลและข้อบททางบริหารและข้อบทสุดท้าย (Administrative Provisions and Final Clauses) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ในการประชุมเจรจาฯ
หากมีประเด็นเพิ่มเติมที่ไม่ได้ระบุไว้ในร่างกรอบเจรจาฯ ที่ปรับปรุงใหม่
และเป็นประเด็นที่จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม ที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบ และผลประโยชน์ของประเทศ
มีความเห็นให้คณะเจรจาสนับสนุนประเด็นดังกล่าว หากไม่มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา
๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นเรื่องในทางนโยบายซึ่งเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาได้ตามความเหมาะสม
เห็นควรนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรี ควรมีหน่วยงานเจ้าภาพที่จะประสานการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการดำเนินการได้ตามประเด็นใหม่ที่มีการเพิ่มเติมภายใต้กรอบเจรจาดังกล่าว
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถานว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา | กต. | 18/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถานว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา
โดยให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามร่างความตกลงฯ
ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทนให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้ลงนามดังกล่าว และให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ
โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นการตรวจลงตราแก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของแต่ละฝ่ายในการเดินทางเข้า
เดินทางออกจาก เดินทางผ่านและพำนักอยู่ชั่วคราวในดินแดนของรัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง
เป็นระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ วัน นับจากวันที่เดินทางเข้า โดยระยะเวลาพำนักสะสมรวมกันจะต้องไม่เกิน
๙๐ วันภายในแต่ละช่วงเวลา ๑๘๐ วัน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถานว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาดำเนินมาตรการในการคัดกรองนักท่องเที่ยวชาวคาซัคสถานอย่างเข้มงวด
รวมถึงติดตามและประเมินผลกระทบทางด้านความมั่นคงจากชาวคาซัคสถานเป็นระยะ
เนื่องจากในห้วงที่ผ่านมาพบความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มก่อการร้ายท้องถิ่นในคาซัคสถานกับกลุ่มก่อการร้ายสากล
จึงมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มดังกล่าวอาจแสวงประโยชน์จากการยกเว้นการตรวจลงตรา
โดยใช้ไทยเป็นทางผ่านหรือเป็นพื้นที่หลบซ่อน (safe heaven)
และให้กระทรวงการต่างประเทศสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงผลประโยชน์ที่ไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การกำหนดกระบวนการรับรองสินค้าเกษตรที่ปลอดการเผา | นร. | 18/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ (เรื่อง แนวทางเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
โดยเฉพาะฝุ่นละออง PM2.5) มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการลดหรือห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่พิสูจน์ได้ว่ามีกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเผา
และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๗ (เรื่อง การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละออง
PM2.5 ที่เกิดจากการเผา)
มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการในเรื่องนี้ตามกระบวนการของกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและรวดเร็ว
รวมทั้งไม่ให้ขัดต่อข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) นั้น โดยที่ปัจจุบันยังคงมีปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละออง
PM2.5 ที่เกิดจากการเผาอยู่อย่างต่อเนื่อง
จึงขอให้กระทรวงพาณิชย์เร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
โดยให้ดำเนินมาตรการภายในประเทศและมาตรการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่พิสูจน์ได้ว่ามีกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเผาอย่างเท่าเทียมกัน
และไม่เลือกปฏิบัติ (ตามหลักการ National Treatment ของ WTO) ทั้งนี้
ให้ประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งเจรจาทำความตกลงประเทศเพื่อนบ้านที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกระบวนการรับรองสินค้าเกษตรที่ปลอดการเผาให้ชัดเจนและเป็นที่รับรู้ร่วมกันเพื่อรองรับการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวข้างต้นด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การเสนอรายการ “ชุดไทย : ความรู้ งานช่างฝีมือ และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ” (Chud Thai : The Knowledge, Craftsmanship and Practices of The Thai National Costume) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก | วธ. | 26/03/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอรายการ “ชุดไทย : ความรู้ งานช่างฝีมือ
และแนวปฏิบัติการแต่งกายชุดไทยประจำชาติ” (Chud Thai : The Knowledge, Craftsmanship and Practices of The
Thai National Costume) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก
ซึ่งเป็นแสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทยและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนไทย
ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาช้านาน
บ่งบอกถึงความผูกพันของครอบครัว ชุมชนและสังคม
การสวมใส่ชุดไทยช่วยเสริมบุคลิกภาพของสตรีไทยให้ดูสง่างามในความเป็นไทย เป็นต้น และให้อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอฯ
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กระทรวงวัฒนธรรม
(กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างกฎกระทรวงแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น พ.ศ. .... | สธ. | 06/02/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานสาธารณสุข
และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๔๘ เพื่อปรับปรุงแก้ไขแบบบัตรและผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
และกำหนดให้การออกบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานดังกล่าวสามารถดำเนินการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | มาตรการในการส่งเสริมอาชีพและการควบคุมความปลอดภัยของสังคมโดยรวม | นร. | 23/01/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาการรวมกลุ่มของวัยรุ่นที่ไม่มีงานทำหรือมีรายได้ไม่เพียงพอ
รวมทั้งมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงและมีการใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่น
ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของสังคมโดยรวม (Public Safety) แม้หน่วยงานด้านความมั่นคงจะได้กำหนดมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยในภาพรวมไว้แล้วก็ตามแต่ปัญหาดังกล่าวยังคงเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
จึงขอมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัด กวดขัน
และดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจอย่างเข้มงวด รวมทั้งพิจารณากำหนดมาตรการหรือกลไกในการส่งเสริมการมีงานทำและการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนวัยทำงานและมาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้มีความรัดกุมและต่อเนื่อง
เพื่อลดปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมและให้ประชาชนมีความมั่นใจในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการปรึกษาหารือทางการเมืองระหว่างกระทรวงการต่างประเทศเเห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน | กต. | 09/01/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการปรึกษาหารือทางการเมืองระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
และอนุมัติอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการปรึกษาหรือทางการมืองระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าโดยปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างการเจรจาเปิดตลาดสินค้าทวิภาคีกับอาเซอร์ไบจานภายใต้กระบวนการภาคยานุวัติเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
(WTO) ของอาเซอร์ไบจาน
จึงอาจใช้เวทีดังกล่าวผลักดันประเด็นที่ไทยและสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานมีผลประโยชน์ร่วมกัน
และในอนาคตอาจพิจารณาขยายประเด็นการหารือให้ครอบคลุมประเด็นความมั่นคงที่เป็นประโยชน์ร่วมกันหรือข้อห่วงกังวลของทั้งสองฝ่าย
เช่น ประเด็นการต่อต้านการก่อการร้ายและแนวคิดรุนแรงสุดโต่ง อาชญากรรมข้ามชาติ
ความมั่นคงทางไซเบอร์ เป็นต้น รวมทั้งควรวิเคราะห์และติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์ให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|