ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 28 จากข้อมูลทั้งหมด 28 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ออกไปจนถึงปี 2572 | คค. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้รัฐบาลรับภาระชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้ค่าออกแบบค่าก่อสร้าง
และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ต่อไป ตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๒ ทั้งนี้
หากประมาณการรายได้แตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้มาก ทั้งกรณีสูงและต่ำกว่าประมาณการ กระทรวงคมนาคมจะพิจารณานำเสนอการรับภาระหนี้ของรัฐบาลให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามความเหมาะสม
และให้สำนักงบประมาณ พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นรายปี
จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๒ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๐/๑๒๑๒ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๔) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุดที่ นร ๑๑๐๖/๗๒๑๑
ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๔) และประธานกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ควรประเมินผลประกอบการและฐานะทางการเงินเป็นระยะ
ๆ ควรพิจารณาปรับแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า
ควรเร่งจัดทำกลยุทธ์เพื่อเพิ่มรายได้ของโครงการฯ สายฉลองรัชธรรมเชิงรุก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] | สธ. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบ ๑.๑
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] ๑.๒.
ให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยก่อนวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๕ เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus
Disease 2019 (COVID-19)]
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
จนกว่าผู้ป่วยจะถูกจำหน่ายตามเกณฑ์การพิจารณาจำหน่ายผู้ป่วยของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ มีผลใช้บังคับให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ๑.๓.
ให้กระทรวงการคลัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ
เอกชน หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุขดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต และดำเนินการจ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราตามบัญชีแนบท้ายหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID-19)] ทั้งนี้
ในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย ให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน และกรณีค่าใช้จ่ายใดไม่ปรากฏตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ให้ใช้บัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ โดยอนุโลม ๑.๔.
ให้กองทุนของส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุข
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง
กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
[กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID-19)] ๑.๕.
ให้สถานพยาบาลซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาของรัฐ สภากาชาดไทย ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
[กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID-19)] ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตราที่กำหนด และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
พร้อมกับการดำเนินการให้เป็นตามหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของกระทรวงการคลังด้วย
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุขดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาน
ดำเนินการจ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราตามบัญชีแนบท้ายหลักเกณฑ์ฯ
และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
ให้เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
[กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID-19)]
แก่ประชาชนให้ถูกต้องและทั่วถึงมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (นายประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล) | นร.04 | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีอีกหนึ่งวาระ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา | อก. | 08/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมถอนเรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่
๑ เอ เพื่อทำเหมืองแร่ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา คืนไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | ความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา | ศธ. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับฮังการีว่าด้วยการศึกษา (Cooperation Agreement between the Association of
Southeast Asian Nations and the Government of Hungary on Education Cooperation) (ร่างความตกลงฯ) ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน
และประเทศไทยจะต้องแจ้งความเห็นชอบต่อร่างความตกลงดังกล่าวต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน
ณ กรุงจากาตาร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ และอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ
ของฝ่ายอาเซียน โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญ เช่น การสานต่อโครงการทุนการศึกษาอาเซียน-ฮังการี
ฮังการีจะให้โอกาสนักเรียนจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาฮังการี
อาเซียนจะให้โอกาสนักเรียนและอาจารย์ฮังการีได้เข้าร่วมโครงการการศึกษาและการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน
เป็นต้น ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | ขออนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย | กค. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง
จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และวงเงินงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ
ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา
๖๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเสนอ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการฯ
ระยะทางรวม ๓.๙๘ กิโลเมตร โดยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในรูปแบบ PPP
Net Cost โดยภาครัฐรับผิดชอบการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในขณะที่ ภาคเอกชนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด ได้แก่
การออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้าง และการดำเนินงาน และบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) โดยเอกชนจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ลงทุนทั้งหมด ให้แก่ภาครัฐก่อนเริ่มดำเนินงานในลักษณะของ BTO
พร้อมทั้งให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าผ่านทางโดยมีระยะเวลาสัมปทาน
๓๕ ปี (นับจากวันที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งให้เริ่มปฏิบัติงาน (Notice
to Proceed) ตามรายงานผลการศึกษาฯ
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นชอบไว้ ๒. อนุมัติค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดในวงเงิน
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามความจำเนและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง ๓. มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ พ.ศ. ๒๕๖๒ รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นว่า
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น
เหมาะสม และประหยัด ตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง และให้กระทรวงคมนาคม (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ ๑) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่เห็นว่า ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นสำคัญและเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เอกชนสามารถดำเนินโครงการได้จริงและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ก่อให้เกิดผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงขึ้นในจังหวัดภูเก็ตในอนาคต
นอกจากนี้ โครงการฯ ดังกล่าวยังมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๒
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สำหรับการพัฒนาโลจิสติกส์ในการเดินทางข้ามจังหวัดและการเดินทางระหว่างประเทศ
ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้อย่างเชื่อมโยงกับรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒) กระทรวงคมนาคมที่เห็นว่า
ให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ๓) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นว่า
ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของโครงการ
ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ หรือมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๑
เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง การทบทวนมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่
๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติกรณีรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย ๔) กระทรวงมหาดไทยที่เห็นว่า ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ๕) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
๕.๑) ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พิจารณาใช้แหล่งเงินรายได้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ
๕,๗๙๒.๒๔ ล้านบาท เป็นลำดับแรก
หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริงต่อไป
๕.๒) ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับจังหวัดภูเก็ตในการพิจารณาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ ให้สามารถรองรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และสนับสนุนให้เกิดการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะและการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้น ๕.๓) เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างรอบคอบ
เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการ ดังนี้ ๕.๓.๑) พิจารณาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของโครงการฯ
โดยเฉพาะการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยควรกำหนดอัตราค่าเวนคืนให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยสามารถส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนได้ตามกำหนดของสัญญาและเปิดให้บริการตามแผนที่ได้กำหนดไว้
และกำหนดเงื่อนไขในการสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart
City) ๕.๓.๒) พิจารณากำหนดกลไกให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระแสเงินสดของการดำเนินโครงการฯ
อาทิ เงินลงทุน รายได้ค่าผ่านทาง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษา
เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทนจากการดำเนินโครงการระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ๕.๓.๓) ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบเมื่อวันที่
๗ มีนาคม ๒๕๖๑ อย่างเคร่งครัด
และในกรณีที่มีผลกระทบต่อประชาชนให้เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว ๖) สำนักงบประมาณที่มีข้อสังเกตว่า เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวให้แก่หน่วยงานในพื้นที่และประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มดำเนินการ
การดำเนินการตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ
และประสานหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
ตลอดจนคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบในทุกมิติด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูล โครงการบริหารจัดการ ท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว | อก. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูล
โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวม ทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เช่น ให้การสนับสนุนการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจเพื่อขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายหลักของรัฐบาลในการดำเนินธุรกิจด้านปิโตรเคมีในโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก
(EEC)
มอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการร่วมลงทุน
โดยเฉพาะโครงการที่มีระยะเวลาของสัญญาใกล้จะสิ้นสุดลง ปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรา ๔๙
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ อย่างเคร่งครัด
และกำกับการดำเนินการคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จ
สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาฉบับเดิมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการให้บริการและป้องกันไม่ให้เกิดกรณีที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอาจจะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ
ควรคำนึงถึงการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลด้วย
ควรดำเนินการตามขั้นตอน กระบวนการ กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพย์สินที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่รัฐ
โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการรื้อถอนทรัพย์สินของผู้รับสัมปทาน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) พิจารณากำหนดเงื่อนไขในสัญญาร่วมลงทุนให้เอกชนดูแลและบำรุงรักษาถังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเหลวรวมทั้งอุปกรณ์ต่าง
ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย
เป็นไปตามมาตรฐานสากลและให้นำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้กับโครงการนี้
รวมทั้งให้ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อสังเกตของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
ในคราวประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ ต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | แผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | กสศ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ภายในกรอบวงเงิน ๗,๕๙๐.๓๔๔๘ ล้านบาท
ตามนัยมาตรา ๖ (๓) ของพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยให้ กสศ จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
พร้อมรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายและค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน ตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม
และไม่ซ้ำซ้อนในการสนับสนุนเงินและค่าใช้จ่ายให้แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส
ตลอดจนพิจารณานำเงินนอกงบประมาณหรือเงินอื่นใดของ กสศ. มาสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกแหล่งทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ
เพื่อให้สอดคล้องตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนของกฎหมายวิธีการงบประมาณ ซึ่งสำนักงบประมาณจะได้พิจารณารายละเอียดของแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของ
กสศ. ให้สอดคล้องกับแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ อีกครั้งหนึ่ง
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษารับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นควรให้ผู้จัดการ กสศ. ในฐานะผู้บริหารทุนหมุนเวียน
ตามนัยพระราชการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘
ทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานอย่างใกล้ชิด
พร้อมทั้งรายงานผลให้คณะกรรมการบริหาร กสศ. ทราบอย่างต่อเนื่อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|