ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 28 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ | สช. | 27/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
โดยมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น การบูรณาการแรงงานข้ามชาติเข้าสู่นโยบายพัฒนาประเทศ
การพัฒนาหลักประกันสุขภาพที่มีเสถียรภาพครอบคลุมแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่ม
โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการพำนักอยู่ในไทย และการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น การพัฒนาปรับปรุงมาตรการ หลักเกณฑ์
แนวปฏิบัติการรับรองการเกิดและมาตรการเชิงรุก
การจดทะเบียนครบขั้นตอนทันทีหลังการเกิดเพื่อรองรับสิทธิในสัญชาติ
และการปรับปรุงกฎหมาย และพัฒนาบริการสาธารณสุข
สิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาและออกแบบแหล่งที่มาของเงินสนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ
และระดับความสามารถในการร่วมจ่ายเงินของนายจ้างและกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามสมควร ให้หน่วยรับประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
มาดำเนินการในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
ควรคำนึงถึงการวางแนวทางรองรับผลกระทบที่อาจมีต่อความเสี่ยงทางการคลังของประเทศในระยะยาว
ควรมีการบูรณาการการทำงานและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อมิให้ขัดกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
กฎหมายว่าด้วยการกำหนดสัญชาติ
รวมทั้งควรมีการบูรณาการวางแผนการบริหารจัดการการเงินการคลังด้านสุขภาพภาครัฐให้มีความสมดุล
เพียงพอรองรับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของกลุ่มคนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความยั่งยืนในอนาคต มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น ประเด็น “การบูรณาการแรงงานข้ามชาติสู่นโยบายพัฒนาประเทศ”
ควรเน้นการวางแผนการจัดการและการบูรณาการในนโยบายพัฒนาประเทศ “ในระยะยาว ระยะกลาง
และระยะสั้น” ภายใต้บริบทที่สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น ควรพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
รวมถึงระบบสนับสนุนการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ | ทส. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐ และวันที่ ๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จากเดิม ที่มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานประสานงานระดับชาติและตั้งงบประมาณสำหรับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
รวมทั้งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็น
ให้กรมทรัพยากรน้ำ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบแทน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้แก้ไขชื่อหน่วยงานในมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ (เรื่อง
การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ เรื่อง
ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย
และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ) จากเดิม “กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี”
เป็น “กรมเจ้าท่า” ตามความเห็นของกระทรวงคมนาคม รวมทั้งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่เห็นควรปรับรายชื่อหน่วยงานสนับสนุนท้ายมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่ขอทบทวนให้สอดคล้องเป็นปัจจุบัน
และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเงินบริจาคสนับสนุนอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่ได้รับจัดสรรแล้ว
โดยค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป
ขอให้กรมทรัพยากรน้ำจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามอัตราที่กำหนดตามขั้นตอนต่อไป
ควรใช้กลไกที่มีอยู่เพื่อให้การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมความหลากหลายของระบบนิเวศ
เช่น การดำเนินการของสถาบันการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาศักยภาพ
เสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวง
ตลอดจนประชาชนทั่วไป และพิจารณาวางแผนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของพื้นที่ชุ่มน้ำตามลำดับความสำคัญแต่ละแห่งให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การดำเนินโครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กท. 3275 แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร | กค. | 20/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินโครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร
บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กท. ๓๒๗๕ โฉนดเลขที่ ๓๓๔๖ แขวงคลองต้นไทร
เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ประมาณ ๔-๒-๓๔ ไร่ ต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์)
รับความเห็นของประธานกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
ที่เห็นว่าในการดำเนินโครงการควรคำนึงถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง | คค. | 13/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข ๘๒ สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว
สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
โดยโครงการร่วมลงทุน O&M
มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดบนทางหลวงหมายเลข ๓๕
(ถนนพระราม ๒) โดยเฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น
เพิ่มโครงการถนนสายหลักในพื้นที่ตอนล่างของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง
ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวง และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒
รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ กค
๐๘๒๐.๑/๔๗๗๐ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น ให้กรมทางหลวงพิจารณาแนวทางการเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันและกำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
และให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว | อก. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
เพื่อให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฯ กับเอกชน
ผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอร่วมลงทุนต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานอัยการสูงสุด และประธานกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น
จะต้องกำกับการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาฉบับเดิมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ๒๕๖๕
ควรคำนึงถึงการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชนอย่างเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลด้วย
ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำกับติดตามให้คู่สัญญาตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามที่เสนอไว้ในรายงาน
EIA อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย ๑.๑ พิจารณาปรับแก้ร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการบริหารจัดการท่าเรือสาธารณะ
เพื่อขนถ่ายสินค้าเหลวให้ถูกต้อง สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ร่างสัญญาร่วมทุนฯ
ข้อ ๓.๑.๒)ก. เกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๕ (เรื่อง
การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยไม่ใช้วิธีประมูลโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว)
ซึ่งเป็นการอนุมัติให้ใช้วิธีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโดยใช้วิธีประมูล ตามมาตรา
๓๔ แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ เท่านั้น เป็นต้น ๑.๒
พิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการในกรณีที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือการถมทะเลเพื่อขยายพื้นที่สำหรับก่อสร้างถังเก็บบรรจุสินค้าเหลว
(Tank
Farm) เพิ่มเติม
เพื่อป้องกันมิให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือเป็นเหตุให้เอกชนคู่สัญญาใช้เป็นข้ออ้างในการบอกเลิกสัญญาหรือเรียกร้องค่าเสียหายในภายหลัง ๑.๓ พิจารณากำหนดมาตรการรองรับในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาใช้สิทธิตามสัญญาในการขยายระยะเวลาการก่อสร้างถังบรรจุสินค้าเหลวหรือการถมทะเล
ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าและสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการให้บริการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว ๒.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลพิจารณาทบทวนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุน้ำมันหรือสารเคมีรั่วไหลลงทะเล
โดยให้พิจารณานำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ชดเชย
เยียวยาแก่ผู้ประสบภัยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
ให้เหมาะสม ชัดเจน และเป็นรูปธรรม เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือฯ
เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และถึงมือผู้ประสบภัยฯ อย่างแท้จริง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 | วธ. | 08/11/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดคาทอลิกตามกฎหมาย
จำนวน ๓๔ วัด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย (๑)
ได้รับความเห็นชอบให้ยื่นคำขอรับรองวัดคาทอลิกจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
(๒) มีข้อมูลที่ตั้งวัด (๓) มีข้อมูลที่ดินที่ตั้งวัดและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน (๔)
มีรายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจ ประจำ ณ วัดคาทอลิก (๕) มีข้อมูลอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก
เช่น คุณค่าและประโยชน์ของวัดคาทอลิก การอุปถัมภ์และทำนุบำรุงจากภาคส่วนต่าง ๆ
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นว่ากรณีพื้นที่ที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และพื้นที่ที่ดำเนินการในเขตป่า ตามาตรา ๔(๑) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้
พุทธศักราช ๒๔๘๔
ขอให้ดำเนินการตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. ๒๕๕๘ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การดำเนินการตามหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง | พน. | 25/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท
อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด จากภารกิจหลักที่ได้รับอนุมัติในคราวจัดตั้งบริษัทตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ เพื่อให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด
สามารถขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจ
ภายใต้หลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนในบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ (๑) Maintenance Service Center : การให้บริการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น
ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง (๒) Parts Manufacturing การผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น
ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และ (๓) Operation Services : การให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้าซึ่งบริษัท
Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. หรือบริษัท Mitsubishi Power, Ltd. หรือบริษัท Mitsubishi Corporation ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสากิจ
(หนังสือคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๗๒๓/๑๘๓๐ ลงวันที่ ๑๒
เมษายน ๒๕๖๕) เช่น ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๕
ไปพิจารณาดำเนินการกำกับดูแล EDS ให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ให้มีแผนการลงทุนและแผนการดำเนินงานอันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
จัดทำแผนความเสี่ยงในกรณีที่มีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้
เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินในอนาคต ควรกำกับและติดตามการประกอบกิจการของบริษัทในเครือดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจด้วย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | กต. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้วันที่ ๑๖-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี
และจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร
อำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษเอเปค
ครั้งที่ ๒๙ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งเพื่อให้การอารักขาและการรักษาความปลอดภัยผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน
ให้ส่วนของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย
และกระทรวงแรงงานพิจารณาความเหมาะสมของการกำหนดเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีไป
นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีภารกิจให้บริการประชาชนหรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันหยุดดังกล่าวโดยได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว
ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหาย
หรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร
โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและการให้บริการประชาชน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
โดยจะพิจารณาดำเนินการมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและการให้บริการประชาชน
และจะดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
และขอให้พิจารณาถึงผลกระทบของการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชนควบคู่กันไปด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้
ในส่วนของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้เป็นไปตามความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยให้ช่วงวันดังกล่าวเป็นวันทำการปกติ
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
และขอความร่วมมือสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้หน่วยงานที่ไม่ได้ให้บริการประชาชนหรือไม่ใช่ critical function เน้นการทำงาน work
from home ในช่วงวันดังกล่าว เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร
และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้เข้าร่วมประชุม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน | คค. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน
ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์
เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน
เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน
พ.ศ. ๒๕๔๐ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการจัดตั้งสถาบันมวยไทยแห่งชาติ ของคณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา | สว. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) ครั้งที่ 1/2565 | สวพส. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคลองเกาะผี ท้องที่ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต | มท. | 16/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔
วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน
ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคองเกาะผี ท้องที่ตำบลวิชิต
อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
เพื่อการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทย (เทศบาลนครภูเก็ต)
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมตอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๗ (เรื่อง
มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง
แนวนโยบายและมาตรการการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จังหวัดภูเก็ต) ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทน
ไม่น้อยกว่า ๒๐ เท่า
ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณี
การดำเนินการโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน
พ.ศ. ๒๕๖๕ นั้น
ให้เทศบาลนครภูเก็ตใช้จ่ายจากเงินรายได้ของเทศบาลนครภูเก็ตดำเนินการเป็นลำดับแรก
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทย (เทศบาลนครภูเก็ต) รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น
ควรกำหนดกรอบระยะเวลาในการใช้พื้นที่ดังกล่าวให้มีความชัดเจน
ควรกำหนดแนวทางป้องกันการรั่วไหลสารพิษหรือสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ
สร้างจิตสำนึกต่อประชาชนในการลดและคัดแยกขยะ ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชนใกล้เคียงเพื่อให้เกิดการยอมรับและสนับสนุนการดำเนินโครงการ
รวมทั้งควรมีการพิจารณาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะมีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการดำเนินการด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขออนุมัติดำเนินโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าทั่วไป | อก. | 18/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ผลการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 | กต. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 ครั้งที่ 13/2565 และครั้งที่ 14/2565 | นร.11 สศช | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การลดเงินเพิ่ม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการกำหนดให้ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกซึ่งชำระอากรไม่ครบถ้วน
โดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียอากรและได้นำอากรที่ยังชำระไม่ครบถ้วนมาชำระต่อกรมศุลกากร
ให้ได้รับการลดเงินเพิ่มเหลือร้อยละ ๐.๒๕ ต่อเดือน
ของอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม
นับแต่วันที่นำของออกไปจากอารักขาของศุลกากรหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ขอความเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย - ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า
(Joint Trade Committee : JTC) ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ ๔
และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่
๒๖-๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ณ จังหวัดภูเก็ต
เพื่อให้ผู้แทนไทยซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนเป็นประธานฝ่ายไทยใช้หารือกับฝ่ายภูฏาน
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาและเสนอประเด็นที่ฝ่ายไทยประสงค์จะผลักดันต่อเนื่องจากการประชุม
JTC ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ ๓ เช่น ความร่วมมือการค้าและการลงทุน
การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกัน การพัฒนาระบบ e-Commerce และการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs)
ทั้งนี้
หากในการประชุมดังกล่าวมีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น
ๆ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับภูฏาน
ขอให้ผู้แทนไทยสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
๒. ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ และหากในการประชุมดังกล่าวมีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น
ๆ นอกเหนือจากกิจกรรมที่เสนอ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับภูฏาน
เห็นควรให้ผู้แทนไทยสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
รวมทั้งควรติดตามประเมินความก้าวหน้าความร่วมมือ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปตามร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา | สว. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง
การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปตามร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว สรุปว่า เห็นด้วยกับการให้มีระบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒ ระดับ คือ
ระดับจังหวัด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และระดับพื้นที่ ได้แก่ เทศบาล
โดยควรเปลี่ยนแปลงองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นเทศบาลทั้งหมด
เพื่อให้มีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้
ในส่วนการรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้คำนึงถึงพื้นที่ในเขตตำบลเป็นลำดับแรก
โดยให้มี ๑ ตำบล ๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การกำหนดเงื่อนไขในการรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรคำนึงถึงจำนวนประชากรและรายได้
และเจตนารมณ์ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ด้วยเช่นเดียวกับกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน
และการแก้ไขปัญหาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กมีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดทำบริการสาธารณะไม่มีประสิทธิภาพ
อาจใช้แนวทางการร่วมมือกันจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยควรแบ่งตามเกณฑ์ประชากรเพื่อให้มีจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นสอดคล้องกับจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่และสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
ควรกำหนดหน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ครอบคลุมเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศและลดความซ้ำซ้อนของอำนาจหน้าที่ที่กำหนดสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่าง
ๆ ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกฎหมายอื่น ควรพัฒนาปรับปรุงหรือกำหนดระเบียบว่าด้วยการคลัง
การเงิน การพัสดุ
และการจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินให้เป็นมาตรฐานและสอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติของภาครัฐ
ควรกำหนดให้มีการส่งเสริมการดำเนินการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ควรกำหนดให้ประชาคมท้องถิ่นในพื้นที่มีอำนาจหน้าที่ เช่น ให้ข้อคิดเห็น
ข้อเสนอแนะหรือคำปรึกษาในการจัดทำแผนงาน งบประมาณการอนุรักษ์ ฟื้นฟู
หรือส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานและการอื่นใดเพื่อพัฒนา
ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ. 2565 - 2570 | นร.10 | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบและกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการรักษาจริยธรรมและส่งเสริมพัฒนาจริยธรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการจัดทำแผนงาน
มาตรการ เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรักษาจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม ซึ่งร่างยุทธศาสตร์ฯ
ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว
ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | นร.12 | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||