ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 18 จากข้อมูลทั้งหมด 18 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองเบเอร์เชวาอ์ รัฐอิสราเอล และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองเบเอร์เชวาอ์ รัฐอิสราเอล (นายอิสราเอล ไรฟ์) | กต. | 03/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ
เมืองเบเอร์เชวาอ์ รัฐอิสราเอล โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมเมืองเบเอร์เชวาอ์
เมืองอัชเคโลน เมืองเอลาต เมืองอัชดอด เมืองดีโมนา เมืองอาราด และเมืองโอฟาคีม
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รัฐบาลรัฐคูเวตเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งรัฐคูเวตประจำประเทศไทย (นายอับดุลอะซีซ เอส เอ็ม อัลกัดฟาน) | กต. | 03/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายอับดุลอะซีซ เอส เอ็ม อัลกัดฟาน (Mr.
Abdulaziz S M AlQadfan) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งรัฐคูเวตประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายมุฮัมมัด ฮุซัยน์ เอ็ม เอ อัลฟัยลากาวี
(Mr. Mohammad Husain M A Alfailakawi) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร | นร.08 | 29/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน
และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร เพื่อใช้ทดแทนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖
มกราคม ๒๕๖๔ เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดสถานะและสิทธิของบุคคลที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน
และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลของเด็กนักเรียนนักศึกษา และบุคคลไร้สัญชาติที่เกิดในราชอาณาจักรไทย
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานอัยการสูงสุดไปพิจารณาในรายละเอียดร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่ถูกต้อง ชัดเจน แล้วให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เห็นควรมีมาตรการ แนวทาง หรือบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริต
ประพฤติมิชอบ แอบอ้าง หรือสวมสิทธิให้แก่บุคคลต่างด้าวที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศ
จากบุคคลในประเทศที่สูญหาย และควรมีการดำเนินการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของบุคคลที่เข้ามาอยู่ในประเทศเพื่อป้องกันเหตุการณ์การลักลอบกระทำความผิดและอาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ
ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศได้ กระทรวงสาธารณสุข เห็นควรเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสอบคัดกรองข้อมูล
และยืนยันความถูกต้องอย่างรอบคอบรัดกุมเรียบร้อยแล้ว ให้ได้รับการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคล
ทั้งนี้
เมื่อบุคคลกลุ่มเป้าหมายได้รับการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลเรียบร้อยแล้ว
ขอให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการจัดส่งรายละเอียดรายการบุคคลดังกล่าวให้แก่กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 3/2567 | กค. | 22/10/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๗
เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณและรัฐวิสาหกิจดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นไปตามเป้าหมาย
และเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | สธ. | 03/09/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอขึ้นทะเบียน การขึ้นทะเบียน การเพิกถอนทะเบียน และการประเมินคุณภาพการให้บริการของหน่วยบริการอาชีวเวชกรรมหรือเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงแรงงาน สำนักงาน ก.พ.ร.
กรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
เช่น กรุงเทพมหานคร เห็นควรให้หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้รับผิดชอบ
ต้องสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวด้วย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรรับฟังข้อคิดเห็นจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อประกอบการพิจารณา
และควรพิจารณาทบทวนการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามความจำเป็น ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงาน
ก.พ.ร. และกรุงเทพมหานคร ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่าการกำหนดให้กฎกระทรวงใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามร่างกฎกระทรวงข้อ
๑ ควรพิจารณาให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้เร็วกว่าที่กำหนด
การกำหนดระยะเวลาแจ้งผลการพิจารณารับขึ้นทะเบียนให้แก่หน่วยบริการตามร่างกฎกระทรวงฯ
ข้อ ๙ วรรคหนึ่ง ควรกำหนดให้สอดคล้องตามมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นต้น กรุงเทพมหานคร เห็นควรให้หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้รับผิดชอบ
ต้องสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | ยธ. | 27/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน ๑๖,๐๐๐,๐๐๐
บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ งบเงินอุดหนุน ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) และให้เลขาธิการ ป.ป.ส.
มีอำนาจอนุมัติโครงการ แผนงาน และกิจกรรมภายใต้กรอบงบประมาณ งบเงินอุดหนุน
รายการโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
และสามารถจ่ายเงินงบประมาณสนับสนุนหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้านแต่ละประเทศ
เพื่อให้มีการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ตามที่ได้รับจัดสรร ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงยุติธรรม
(สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๕/๘๒๘๒ ลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นควรที่สำนักงาน ป.ป.ส.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกหรือระบบในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานระหว่างประเทศ
เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
และการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดเป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์
รวมทั้งเพื่อให้มีข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการของภาครัฐที่เหมาะสม
อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของเมืองน่าเที่ยว | นร. | 06/08/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน
ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอว่า ที่ผ่านมามีการใช้คำว่า “เมืองรอง”
เพื่อใช้เรียกจังหวัดที่ไม่ได้เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักมาโดยตลอด อย่างไรก็ดี
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย IGNITE TOURISM THAILAND ของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Tourism Hub ของโลกด้วยกลยุทธ์ “เมืองหลักและเมืองน่าเที่ยว”
จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใช้คำว่า “เมืองน่าเที่ยว” แทนคำว่า “เมืองรอง”
ซึ่งจะทำให้การเรียกจังหวัดต่าง ๆ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศมากยิ่งขึ้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อดำเนินโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากบางปะกงไปโรงไฟฟ้าพระนครใต้ | พน. | 16/07/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓
และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่ห้ามมิให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนในทุกกรณี
เพื่อให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน บริเวณแม่น้ำบางปะกง ตำบลบางปะกง และตำบลท่าสะอ้าน
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ประมาณ
๓ ไร่ ๐ งาน ๗๕ ตารางวา สำหรับดำเนินโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากบางปะกงไปโรงไฟฟ้าพระนครใต้ได้
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทนไม่น้อยกว่า
๒๐ เท่า ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ได้รับอนุญาต ให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงานและบริษัท ปตท. จำกัด
(มหาชน) รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงคมนาคม เห็นว่าการก่อสร้างที่อยู่ในทางหลวงให้ผู้ขออนุญาตเสนอแผนการก่อสร้างรูปแบบการก่อสร้าง
แผนการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้างต่อกรมทางหลวงพิจารณาด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว | พน. | 18/06/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง
เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว กำลังผลิตติดตั้งรวม ๖.๗๕
เมกะวัตต์ โดยมีวงเงินขออนุมัติ ๙๕๙.๗๖ ล้านบาท แบ่งเป็น เงินตราต่างประเทศ ๒๔๓.๘๓
ล้านบาท และเงินบาท ๗๑๕.๙๓ ล้านบาท
โดยให้สามารถเกลี่ยงบประมาณระหว่างโครงการได้ และหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ถือว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้รับอนุมัติงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการประมาณการเบิกจ่ายประจำปี ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเร่งดำเนินการขออนุญาตเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำตะคอง
เขื่อนลำปาว เขื่อนห้วยแม่ท้อ และเขื่อนกระเสียว ให้แล้วเสร็จก่อนการลงนามผูกพันสัญญาตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงาน
(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติต้องขออนุญาตทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๐๗
และต้องดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้พื้นที่เป็นสถานที่ปฏิบัติงานหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และการดำเนินการใด ๆ ในพื้นที่ป่า ขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงสำหรับการบริหารจัดการน้ำ
โดยต้องครอบคลุมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภูมิรัฐศาสตร์ต่อปริมาณน้ำที่ใช้ผลิตไฟฟ้า
รวมทั้งกำหนดให้มีกลไกในการติดตามประเมินผลโครงการฯ ร่วมกับกรมชลประทาน เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และเห็นควรให้กระทรวงพลังงานเร่งพิจารณาทบทวนแผนเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทุกชนิดในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่
โดยให้ความสำคัญกับการเร่งพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นสอดรับกับแนวโน้มการพัฒนาตลาดพลังงานในอนาคต
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองบัว ตำบลหนองนาคำ ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลบ้านจั่น และตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. .... | คค. | 18/06/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองบัว ตำบลหนองนาคำ
ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลบ้านจั่น และตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อสร้างและขยายทางหลวงชนบทถนนสาย
ก ๗ ถนนสาย ง ๘ และถนนสาย จ ตามโครงการผังเมืองรวมอุดรธานี และถนนต่อเชื่อม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เห็นควรจะเร่งดำเนินการสำรวจพื้นที่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
หากยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จและยังประสงค์จะทำการสำรวจต่อไปก็ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา
๑๐ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๖๒
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขออนุมัติหลักการกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 | นร.01 | 07/05/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๗๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
โดยการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดและค่าใช้จ่ายตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
และนำเสนอคณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้งบประมาณฯ ให้ความเห็นชอบ
เมื่อส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบผลการพิจารณาแล้ว ให้นำเสนอรองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแล พิจารณาให้ความเห็นชอบ
เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรง
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet | กค. | 23/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์)
ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ๑.๑
เรื่องที่กระทรวงการคลังเสนอในครั้งนี้เป็นการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการของกรอบหลักการโครงการเติมเงิน
๑๐,๐๐๐ บาท ผ่าน Digital
Wallet (โครงการฯ) หลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน
๑๐,๐๐๐ บาท ผ่าน Digital Wallet เพื่อพิจารณาจัดทำรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนและครบถ้วน
โดยนำความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้เสนอมาประกอบการพิจารณาด้วย และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ๑.๒ โครงการฯ
มีแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการฯ จาก ๓ แหล่ง ได้แก่ ส่วนที่ ๑
การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ส่วนที่ ๒
เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ สำหรับส่วนที่ ๓
ถือเป็นการดำเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร
ซึ่งเป็นนโยบายกึ่งการคลังของรัฐที่มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามนัยมาตรา
๒๘ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินส่วนที่
๓ ให้เกิดความถูกต้อง รอบคอบ ชัดเจน ก่อนดำเนินการต่อไป เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอความเห็นเพิ่มเติมว่า
เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๖๒/๒๕๖๖ เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ผ่าน Digital Wallet ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๖
เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการของกรอบหลักการโครงการฯ เท่านั้น
สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ ของการดำเนินโครงการฯ เช่น นิติสัมพันธ์ในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประชาชนและร้านค้า
หรือระหว่างร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ
รวมทั้งการออกแบบระบบให้เหมาะสมและเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีสามารถจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตามหน้าที่และอำนาจของแต่ละหน่วยงาน
แล้วนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนอีกครั้งหนึ่งต่อไป ๒.
เห็นชอบให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
อย่างเคร่งครัด ในการจัดทำรายละเอียดโครงการฯ
หากมีประเด็นข้อสงสัยหรือความไม่ชัดเจนในเรื่องใด ๆ
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ได้ข้อยุติที่ถูกต้อง
ชัดเจน ครบถ้วนทุกประเด็น ก่อนดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 พ.ศ. .... | สธ. | 02/04/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า
ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต
นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น มีความเห็นเพิ่มเติมในส่วนของร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ ๑๑
และข้อ ๑๒
ซึ่งกำหนดกรณีที่ไม่อาจพิจารณาได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดอาจขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน โดยการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการพิจารณาอนุญาตที่ใช้ระยะเวลามากหรือล่าช้าได้
ควรพิจารณาความจำเป็นในการกำหนดเงื่อนไขการขยายระยะเวลาให้มีความเหมาะสม
ไม่ก่อให้เกิดการดำเนินการที่ล่าช้าเกินสมควร อีกทั้งการกำหนดระยะเวลาการแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตทราบ
ควรกำหนดระยะเวลาเป็นภายใน ๗ วัน เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรา ๗ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และร่างข้อ ๙ วรรคหนึ่ง (๑) ควรแก้ไขถ้อยคำว่า “วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑”
เป็น “ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑”
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
เนื่องจากร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษในประเภท
๑ ร่างข้อ ๑๑ วรรคหนึ่ง
กำหนดให้พิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน ให้แก่ผู้ขออนุญาต
และสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน
เห็นว่าระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่พอสมควรที่ผู้มีอำนาจอนุญาตจะได้พิจารณาคำขอและอนุญาตให้แล้วเสร็จได้แต่มีข้อสังเกตว่าหากผู้มีอำนาจอนุญาตไม่สามารถพิจารณาคำขอให้เสร็จสิ้นได้ภายในกำหนดจะมีมาตรการอย่างไรในระหว่างที่พิจารณาคำขอ
ควรกำหนดมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าวด้วย เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การติดตามสถานะร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี | นร.04 | 26/03/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน)
ในฐานะประธานกรรมการเร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล
รายงานว่า ในคราวประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล
ครั้งที่ ๗/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๗
ที่ประชุมได้พิจารณาการติดตามสถานะร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี ข้อมูล ณ
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๗ มีจำนวน ๑๐๒ ฉบับ ตามบัญชีแนบท้าย
แล้วมีมติเห็นควรมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งเสนอกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ๒.
ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งเสนอกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะและครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อว. | 06/02/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (ฉบับที่.. พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อ และประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
และกำหนดปริญญาชั้นปริญญาโทเพิ่มขึ้นในสาขาวิชาเทคโนโลยี ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ | มท. | 30/01/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการการยื่นคำของบประมาณรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป
ตามนัยมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ของกระทรวงมหาดไทย (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจัดหาน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาที่โรงกรองน้ำบ้านมะขามเฒ่า
(จากแหล่งน้ำลำตะคองมายังโรงกรองน้ำบ้านมะขามเฒ่า) งบประมาณ ๑,๙๙๕.๔๓ ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ที่เห็นว่าควรดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า
ความประหยัด ภาระทางการคลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ด้วย และให้กระทรวงมหาดไทย
โดยเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. มอบหมายให้สำนักงบประมาณนำคำของบประมาณฯ ตามข้อ
๑ ไปพิจารณาร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อกลั่นกรองความจำเป็นเหมาะสมในภาพรวมของข้อเสนองบประมาณของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐในรายการงบลงทุนและรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไปทั้งหมด
ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างรายได้และโอกาสให้แก่ประชาชน
การพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการภาครัฐหรืออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
และการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
แล้วให้สำนักงบประมาณนำผลการพิจารณาในภาพรวมทั้งหมดเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนและกรอบเวลาของปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2567) | ปสส. | 23/01/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๗ ซึ่งพิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ปีที่
๑ ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๒๔
มกราคม ๒๕๖๗ พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๑
(สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๗ และพิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่
๒๖ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๖
มกราคม ๒๕๖๗ ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคีระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิก | กต. | 09/01/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคีระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิก
และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ
โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคีเพื่อทบทวน
ขยาย และเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีตลอดจนและเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นภูมิภาคและประเด็นระหว่างประเทศที่สนใจร่วมกัน
เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม
โดยไทยและกรีชจะสลับกันจัดการหารือขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
โดยผู้แทนเข้าร่วมการหารือจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคีระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิกในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงการต่างประทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยเห็นว่า
การจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคีระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิก
จะทำให้เกิดเวทีและช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เป็นประโยชน์ในการผลักดันความร่วมมือระหว่างไทยและสาธารณรัฐเฮลเลนิกในด้านต่าง
ๆ รวมถึงเศรษฐกิจและการค้า ทั้งนี้
โดยที่ปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) กับสหภาพยุโรป
(European Union : EU) ไทยจึงอาจใช้กลไกการหรือทวิภาคีกับสาธารณรัฐเฮลเลนิก
ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เพื่อสนับสนุนการเจรจาความตกลงการค้าเสรีดังกล่าวโดยการผลักดันประเด็นที่ไทยและสาธารณรัฐเฮลเลนิกมีผลประโยชน์ร่วมกัน
โดยเห็นว่า การจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคีระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิก
จะทำให้เกิดเวทีและช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เป็นประโยชน์ในการผลักดันความร่วมมือระหว่างไทยและสาธารณรัฐเฮลเลนิกในด้านต่าง
ๆ รวมถึงเศรษฐกิจและการค้า ทั้งนี้
โดยที่ปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade
Agreement : FTA) กับสหภาพยุโรป (European Union
: EU) ไทยจึงอาจใช้กลไกการหรือทวิภาคีกับสาธารณรัฐเฮลเลนิก
ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เพื่อสนับสนุนการเจรจาความตกลงการค้าเสรีดังกล่าวโดยการผลักดันประเด็นที่ไทยและสาธารณรัฐเฮลเลนิกมีผลประโยชน์ร่วมกัน
และกระทรวงการต่างประเทศต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์ให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่ไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|