ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 14 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 266 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2569-2572) | กค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 [เรื่อง การลงทุนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดลำพูน และเรื่อง การลงทุนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)] | อก. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | อนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เพื่อการขจัดการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และการป้องกันการหลบหลีกและการหลีกเลี่ยงรัษฎากร | กค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | รง. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๕๓ บางประการให้มีความเหมาะสมและสอดดล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการการกฤษฎีกา ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นควรให้มีการกำหนดระยะเวลาในงานที่รับไปทำที่บ้านหรือการส่งมอบงานหลังจากที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
ให้มีความเหมาะสมตามลักษณะของงานที่รับไปทำที่บ้านแต่ละประเภท การกำหนดให้ผู้จ้างงานต้องจัดทำหลักฐานเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้าน
ควรให้ปรับรูปแบบการจัดทำและจัดเก็บเอกสารเป็นในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา
เป็นต้น ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ๓.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงมหาดไทย เห็นควรยังให้คงผู้แทนของกรมการปกครองเป็นกรรมการในคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน
และเห็นว่าการแก้ไขบทนิยามให้พนักงานตรวจแรงงานไม่จำเป็นต้องเป็นข้าราชการอาจทำให้บุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับบริจาคและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.01 | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | รายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 | รง. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กรณีการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ซึ่งกระทรวงแรงงานได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
มีผลสรุปในภาพรวม ดังนี้ ๑) การให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง ๒
ฉบับโดยที่ยังไม่ได้แก้ไขกฎหมายภายในย่อมส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีตามอนุสัญญาทั้ง
๒ ฉบับได้อย่างครบถ้วน จึงควรยึดถือแนวปฏิบัติที่ผ่านมาว่า ประเทศไทยควรมีกฎหมายรองรับที่ครบถ้วนก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้ง
๒ ฉบับ และ ๒) กระทรวงแรงงานได้ยกร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ให้มีหลักการที่สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้ง
๒ ฉบับ และได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางต่าง ๆ แล้ว
โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการ "Easy E-Receipt 2.0") | กค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0”)
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้สูงสุดรวม
๕๐,๐๐๐ บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการทั่วไป
(รวมค่าซื้อสินค้า OTOP และค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจเพื่อสังคม)
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ หากเกิน
๓๐,๐๐๐ บาท ให้ลดหย่อนสำหรับค่าซื้อสินค้า OTOP ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ได้อีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้
มาตรการดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ และจะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
(e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากรเท่านั้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สำนักงบประมาณ เห็นควรให้กระทรวงการคลังสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 | กค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
งบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองแล้ว
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขยายระยะเวลามาตรการการปรับลดอัตราภาษีสำหรับกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ ประเภทที่ 17.01 | กค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๖๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ๓๙) พ.ศ.
๒๕๖๗ โดยขยายระยะเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ ประเภทที่
๑๗.๐๑ (ไนต์คลับ ดิสโกเธค ผับ บาร์ ค็อกเทลเลาจน์
โดยให้หมายความรวมถึงสถานที่ที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
ซึ่งปิดทำการหลังเวลา ๒๔.๐๐ น.) ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ ๕ (เดิมร้อยละ ๑๐) ออกไปอีก
๑ ปี (สิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗) ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๘
เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นสมควรที่กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | รายงานกิจการประจำปี งบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 | กค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน
งบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นชอบแล้ว
และได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ๒๕๖๗ แล้ว
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. .... | มท. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมและใบแทนบัตรประกันสังคม พ.ศ. .... | รง. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมและใบแทนบัตรประกันสังคม
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคม
และค่าธรรมเนียมใบแทนบัตรประกันสังคมตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นระยะเวลา
๒ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น สำนักงบประมาณ เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่นายจ้างและผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
รวมถึงภาระการเงินการคลังที่อาจเกิดขึ้นแก่รัฐในอนาคต ตามนัยของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรเร่งพัฒนาบริการออกใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกันตนที่เป็นคนต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการออกใบแทนบัตรประกันสังคม
และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานต่างด้าวในการเข้าถึงสิทธิ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2566 | สช. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | รายงานการสอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และข้อเสนอแนะจากการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิก กบข. ประจำปี 2567 | กค. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการสอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(กบข.) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน และงบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และสรุปผลการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิก
กบข. ปี ๒๕๖๗ รวมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกกองทุน
กบข. ประจำปี ๒๕๖๗ เพื่อประกาศรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยองเพิ่มเติม
จำนวน ๒,๖๖๒ ไร่ ในพื้นที่เมืองการบินภาคตะวันออก
(EECa) เพื่อให้การตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดระยองในการรองรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยอันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สอดรับกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลและคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)
ในการกำหนดสิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขชื่อผู้มีอำนาจลงนามในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ให้เป็นปัจจุบันด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงสาธารณสุข เห็นว่าหากสถานบริการดังกล่าวเข้าข่ายกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
การพิจารณาอนุญาตกิจการควรคำนึงถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ปกติสุขของประชาชน
และควรดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... | นร.12 | 11/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน
พ.ศ. .... ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
เพื่อเพิ่มการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน
โดยได้กำหนดเวลาดำเนินการในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน ลดขั้นตอนการอนุญาตที่ไม่จำเป็น
นำเทคโนโลยีมาใช้ในการอนุญาตและการให้บริการของภาครัฐ
รวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาอนุมัติ หรืออนุญาตเพียงเท่าที่จำเป็น
ซึ่งจะมีผลเป็นการลดภาระและต้นทุนของประชาชน รวมทั้งลดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบบราชการเสนอ ๓. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่าการดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัติฯ
ควรพิจารณาดำเนินการควบคู่กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงานด้วย สำนักงบประมาณ เห็นว่าค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าวเมื่อพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้แล้ว
ควรให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นอย่างประหยัดในการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1. พลตำรวจโท พัฒนวุธ อังคะนาวิน ฯลฯ จำนวน 16 ราย) | นร.04 | 11/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
จำนวน ๑๖ ราย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. พลตำรวจโท พัฒนวุธ อังคะนาวิน ๒. นายภัทร บุญประกอบ ๓. นางสาวตรีชฎา ศรีธาดา ๔. นายธนวรรษ เพ็งดิษฐ์ ๕. นางสาวณัฐณิชา บุรณศิริ ๖. นายภูวเดช นพฤทธิ์ ๗. นางจุฑาพัตธน์ เมนะสวัสดิ์ ๘. นายธงทอง นิพัทธรุจิ ๙. นางสาวปรมาภรณ์ บริบูรณ์ ๑๐. นายนนทภูมิ ตั้งปณิธานนท์ ๑๑. นางสาวชนิสรา โสกันต์ ๑๒. นายพงศกร รัตนเรืองวัฒนา ๑๓. นายตติยภัทร์ ปิติเศรษฐพันธุ์ ๑๔. นางณริยา บุญเสรฐ ๑๕. นายภัทร ภมรมนตรี
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | แผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 - 2573 | ทส. | 11/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ | นร 05 | 11/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการ รวมทั้งหมด ๔๐ ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๒. นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๓. นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๔. นายสยาม บางกุลธรรม ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ๕. นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๖. นายขจรศักดิ์ ธนนาทธนะชน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุนภารกิจของรองนายกรัฐมนตรี
(นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) ๗. นายธเนศ กิตติธเนศวร เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๘. นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๙. พลเอก ธราพงษ์ มะละคำ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๑๐. นายอัครุตม์ สนธยานนท์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ๑๑. นายมงคล วิมลรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ๑๒. นางสาวสนธยา บุณยภูษิต ผู้ตรวจราชการกระทรวง ๑๓. นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง ๑๔. นายวิทยา ยาม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม ๑๕. นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๑๖. นายสมภพ พัฒนอริยางกูล รองปลัดกระทรวงพลังงาน ๑๗. นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๑๘. นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ๑๙. นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๒๐. นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๒๑. นายมณเฑียร คณาสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒๒.นายสุรพงษ์ มาลี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านยุทธศาสตร์และการวางแผน ๒๓. นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๔. นายวีรศักดิ์ ทิพย์มณเฑียร รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๒๕. นายอภิชาติ รัตนราศรี รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๒๖. นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์ รองเลขาธิการ ก.พ. ๒๗. นายวิชญ์พิพล ติวะตันสกุล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ๒๘. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ๒๙. นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ๓๐. ว่าที่ร้อยตรี พีรพล มั่นจิตต์ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๓๑. พลตรี ชัยวัฒน์ สาน้อย รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ๓๒. พลเรือตรี จุมพล นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ๓๓. นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๓๔. พลตำรวจโท
กฤษฎา กาญจนอลงกรณ์ ผู้บัญชาการ
ประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ๓๕. นายเอกชัย เกษมสุขธวัช รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ๓๖. นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓๗. พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ๓๘. นายทศพร แย้มวงษ์ รองเลขาธิการวุฒิสภา ๓๙. นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | รายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรประจำปีบัญชี 2566 (วันที่ 1 เมษายน 2566 - 31 มีนาคม 2567) | กค. | 11/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ประจำปีบัญชี ๒๕๖๖ (วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗) สรุปได้
ดังนี้ ๑) งบการเงินของ ธ.ก.ส. ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ซึ่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า
ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดสำหรับปีบัญชี ๒๕๖๖ ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และการจัดทำบัญชีและรายงานการเงินสำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจและหลักเกณฑ์อื่น
ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่สามัญของผู้ถือหุ้น
ธ.ก.ส. แล้ว เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ ๒) การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ธ.ก.ส.
ประจำปีบัญชี ๒๕๖๖ เช่น ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ยกระดับและฟื้นฟูความสามารถลูกค้าตามศักยภาพ เป็นต้น และ ๓) ทิศทางการดำเนินงานปีบัญชี
๒๕๖๗ ได้กำหนดนโยบายขับเคลื่อนภารกิจ ปีบัญชี ๒๕๖๗ “แกนกลางการเกษตร”
โดยใช้จุดแข็งของ ธ.ก.ส. คือ “คนของเรารักลูกค้า” ผ่านการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการเกษตร
การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาตลาดและองค์ความรู้ และการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|