ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 15 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 294 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน (ธันวาคม 2567) | นร.01 | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน
ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๗ โดยมีผลการดำเนินการของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น
(๑) การรายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน
(กระทรวงมหาดไทย) โดยมีประชาชนลงทะเบียนแล้ว ๗,๑๙๔,๒๙๒ คน (๒) การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ (๑๗ หน่วยงาน) ประกอบด้วย
จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา ๙๐๔ มีการจัดกิจกรรม
๒๖,๐๘๖ ครั้ง
(๓) การติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่ จิตอาสาพระราชทาน
เช่น โครงการพัฒนาคลองโอ่งอ่าง โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่
โครงการพัฒนาพื้นที่บึงบอระเพ็ดและโครงการพัฒนาพื้นที่สระบ่อดินขาว จังหวัดนครสวรรค์
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การเข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Market Club ของประเทศไทย | ทส. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | รายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 | รง. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กรณีการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ซึ่งกระทรวงแรงงานได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
มีผลสรุปในภาพรวม ดังนี้ ๑) การให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง ๒
ฉบับโดยที่ยังไม่ได้แก้ไขกฎหมายภายในย่อมส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีตามอนุสัญญาทั้ง
๒ ฉบับได้อย่างครบถ้วน จึงควรยึดถือแนวปฏิบัติที่ผ่านมาว่า ประเทศไทยควรมีกฎหมายรองรับที่ครบถ้วนก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้ง
๒ ฉบับ และ ๒) กระทรวงแรงงานได้ยกร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ให้มีหลักการที่สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้ง
๒ ฉบับ และได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางต่าง ๆ แล้ว
โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 [เรื่อง การลงทุนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดลำพูน และเรื่อง การลงทุนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)] | อก. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายลิขิต ทิฐิธรรมเจริญ) | คค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายลิขิต
ทิฐิธรรมเจริญ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก
[ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิศวกรรมโยธา) สูง] สำนักวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา
กรมทางหลวงชนบท ให้ดำรงตำแหน่งวิศวกรใหญ่ที่ปรึกษาวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา
(ด้านควบคุมการก่อสร้าง) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม
ตั้งแต่วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | อนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เพื่อการขจัดการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และการป้องกันการหลบหลีกและการหลีกเลี่ยงรัษฎากร | กค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน ของกรมทางหลวง | คค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข
๕ สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต - บางปะอิน ตามหลักการของโครงการฯ
ที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) รับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นควรจัดทำแผนการบริหารจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้างอย่างรอบคอบและรัดกุม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับบริจาคและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.01 | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีในการสนับสนุนคนไทยที่มีศักยภาพที่ทำงานในต่างประเทศให้กลับเข้ามาทำงานในประเทศ) | กค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่เคยทำงานอยู่ในต่างประเทศและเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยในสาขาตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายและยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่บุคคลธรรมดาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย
เพื่อดึงดูดคนไทยที่มีศักยภาพสูงและมีความเชี่ยวชาญในสาขาตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้กลับเข้ามาทำงานในประเทศ
ซึ่งจะทำให้มีบุคลากรที่มีศักยภาพและมีความเชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มมากขึ้น
กระตุ้นให้เกิดการลงทุนและการจ้างงาน
ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขยายระยะเวลามาตรการการปรับลดอัตราภาษีสำหรับกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ ประเภทที่ 17.01 | กค. | 24/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๖๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ๓๙) พ.ศ.
๒๕๖๗ โดยขยายระยะเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับกิจการบันเทิงหรือหย่อนใจ ประเภทที่
๑๗.๐๑ (ไนต์คลับ ดิสโกเธค ผับ บาร์ ค็อกเทลเลาจน์
โดยให้หมายความรวมถึงสถานที่ที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
ซึ่งปิดทำการหลังเวลา ๒๔.๐๐ น.) ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ ๕ (เดิมร้อยละ ๑๐) ออกไปอีก
๑ ปี (สิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗) ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๘
เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นสมควรที่กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | รายงานการสอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และข้อเสนอแนะจากการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิก กบข. ประจำปี 2567 | กค. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการสอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(กบข.) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน และงบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และสรุปผลการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิก
กบข. ปี ๒๕๖๗ รวมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกกองทุน
กบข. ประจำปี ๒๕๖๗ เพื่อประกาศรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยกำหนดให้ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปาและโรงผลิตน้ำประปา
รวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการผลิตน้ำประปา
ได้รับลดภาษีในอัตราร้อยละ ๕๐ ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๘ เป็นต้นไป
เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) ที่ต้องเริ่มดำเนินการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.
๒๕๖๘ อันจะทำให้ อปท.
สามารถจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปาให้แก่กิจการผลิตน้ำประปาซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้อง ครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. .... | มท. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (พื้นที่สีเขียว) | กค. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(ฉบับที่..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ที่ดินซึ่งปกคลุมด้วยพืชพรรณเป็นองค์ประกอบหลัก
และมีประโยชน์เพื่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศการดำรงชีวิต หรือคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ไม่มีการใช้หาผลประโยชน์
(เว้นแต่เป็นการขายหรือการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก)
ที่มีลักษณะ ดังนี้ ๑)
ได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกกำหนด
เฉพาะโครงการที่สอดคล้องกับระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER
Methodology) ประเภทป่าไม้และพื้นที่สีเขียว ๒) เป็นป่าชายเลนตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประกาศกำหนด ๓)
เป็นพื้นที่สีเขียวตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
เป็นทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๘ เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเร่งรัดออกประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการเป็นป่าชายเลนตามข้อ ๑๓ (ข) ของกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยร่างกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นควรที่กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาการกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ภายหลังจากที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยคำนึงถึงการทำประโยชน์ว่าเป็นไปตามสมควรแก่สภาพหรือไม่
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและลดการเหลื่อมล้ำ
ตลอดจนการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม ลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | ยธ. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
ลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตนำเข้า
ใบอนุญาตส่งออก การออกใบแทนใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต รวมทั้งลดและยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม
และร่างกฎกระทรวงการขออนุญาต และการอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต และการอนุญาตนำเข้า หรือส่งออกใบกระท่อม ซึ่งจะเป็นมาตรการในการกำกับดูแลการนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม
รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไป
เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นว่าร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม
ลด และยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ.
.... ควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในข้อ ๔ โดยตัดคำว่า “ผู้ส่งออกใบกระท่อมซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา
๑๑ (๓)” ซึ่ง การลดค่าธรรมเนียม และการยกเว้นค่าธรรมเนียม
อาจส่งผลให้เกิดการปลูกพืชกระท่อมเพิ่มมากขึ้น
หากไม่สามารถควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานได้อาจส่งผลเสียต่อตลาดส่งออกพืชกระท่อมในอนาคต สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรพิจารณาทบทวนความตามข้อ
๓ ในร่างกฎกระทรวงฯ ที่ระบุให้มีการลดค่าธรรมเนียมกึ่งหนึ่งแก่ผู้ส่งออกที่เป็นวิสาหกิจชุมชน
ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ และความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าในเรื่องค่าธรรมเนียมและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออก ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์
เห็นควรดำเนินการให้สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT) ที่กำหนดให้การกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าภาระต่าง
ๆ จะต้องจำกัดอยู่เพียงต้นทุนโดยประมาณในการให้บริการ
และไม่เป็นการคุ้มครองทางอ้อมแก่ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ และควรดำเนินการให้สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าที่ระบุให้การปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าของคู่ค้าต้องมีความเท่าเทียมกับการปฏิบัติต่อสินค้าภายในประเทศทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับ
กฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขาย ภายในประเทศ การเสนอขาย
การซื้อ การขนส่ง การจำหน่าย หรือการใช้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมและใบแทนบัตรประกันสังคม พ.ศ. .... | รง. | 17/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมและใบแทนบัตรประกันสังคม
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคม
และค่าธรรมเนียมใบแทนบัตรประกันสังคมตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นระยะเวลา
๒ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๙ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น สำนักงบประมาณ เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่นายจ้างและผู้ประกันตนจะได้รับ
รวมทั้งวางแผนการดำเนินการทางการเงินของกองทุนประกันสังคมอย่างเหมาะสมทั้งในระยะสั้น
ระยะกลาง และระยะยาว โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
รวมถึงภาระการเงินการคลังที่อาจเกิดขึ้นแก่รัฐในอนาคต ตามนัยของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรเร่งพัฒนาบริการออกใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนประกันสังคมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกันตนที่เป็นคนต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการออกใบแทนบัตรประกันสังคม
และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานต่างด้าวในการเข้าถึงสิทธิ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ | นร 05 | 11/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการ รวมทั้งหมด ๔๐ ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๒. นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๓. นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๔. นายสยาม บางกุลธรรม ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ๕. นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๖. นายขจรศักดิ์ ธนนาทธนะชน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุนภารกิจของรองนายกรัฐมนตรี
(นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) ๗. นายธเนศ กิตติธเนศวร เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๘. นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๙. พลเอก ธราพงษ์ มะละคำ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๑๐. นายอัครุตม์ สนธยานนท์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ๑๑. นายมงคล วิมลรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ๑๒. นางสาวสนธยา บุณยภูษิต ผู้ตรวจราชการกระทรวง ๑๓. นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง ๑๔. นายวิทยา ยาม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม ๑๕. นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๑๖. นายสมภพ พัฒนอริยางกูล รองปลัดกระทรวงพลังงาน ๑๗. นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๑๘. นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ๑๙. นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๒๐. นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๒๑. นายมณเฑียร คณาสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒๒.นายสุรพงษ์ มาลี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านยุทธศาสตร์และการวางแผน ๒๓. นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๔. นายวีรศักดิ์ ทิพย์มณเฑียร รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๒๕. นายอภิชาติ รัตนราศรี รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๒๖. นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์ รองเลขาธิการ ก.พ. ๒๗. นายวิชญ์พิพล ติวะตันสกุล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ๒๘. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ๒๙. นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ๓๐. ว่าที่ร้อยตรี พีรพล มั่นจิตต์ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๓๑. พลตรี ชัยวัฒน์ สาน้อย รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคงกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ๓๒. พลเรือตรี จุมพล นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ๓๓. นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๓๔. พลตำรวจโท
กฤษฎา กาญจนอลงกรณ์ ผู้บัญชาการ
ประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ๓๕. นายเอกชัย เกษมสุขธวัช รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ๓๖. นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓๗. พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ๓๘. นายทศพร แย้มวงษ์ รองเลขาธิการวุฒิสภา ๓๙. นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือประจำปี (Annual Consultation) ครั้งที่ 7 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย | กต. | 11/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ขอความเห็นชอบการเข้าร่วมข้อริเริ่ม SheTrades Outlook ของ International Trade Center | พณ. | 11/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... | นร.12 | 11/12/2567 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน
พ.ศ. .... ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
เพื่อเพิ่มการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน
โดยได้กำหนดเวลาดำเนินการในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน ลดขั้นตอนการอนุญาตที่ไม่จำเป็น
นำเทคโนโลยีมาใช้ในการอนุญาตและการให้บริการของภาครัฐ
รวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาอนุมัติ หรืออนุญาตเพียงเท่าที่จำเป็น
ซึ่งจะมีผลเป็นการลดภาระและต้นทุนของประชาชน รวมทั้งลดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบบราชการเสนอ ๓. ให้สำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ดังนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่าการดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัติฯ
ควรพิจารณาดำเนินการควบคู่กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงานด้วย สำนักงบประมาณ เห็นว่าค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าวเมื่อพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้แล้ว
ควรให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นอย่างประหยัดในการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป |