ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | ผลการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 | กต. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าน้ำมันดีเชล
และน้ำมันอื่นที่คล้ายกัน เพื่อช่วยบรรเทาภาระความเดือดร้อนของประชาชน
โดยในการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าดังกล่าวจะใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๑กรกฎาคม ๒๕๖๕ จนถึง ๒๐ กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2565 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค | มท. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นการลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่
ปี ๒๕๖๕ จำนวน ๕ แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม ๑๐,๘๖๓.๐๐ ล้านบาท
โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นรายปีจนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคควรพิจารณาใช้จ่ายเงินลงทุนจากเงินรายได้เป็นลำดับแรก
และกู้เงินเพื่อลงทุนตามความจำเป็น การดำเนินโครงการ/แผนงานต่าง ๆ
จะต้องพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เกี่ยวกับการจัดทำรายงาน EIA และหากมีการดำเนินการในพื้นที่ป่าจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ
กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... | ยธ. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษเพิ่มเติม จากเดิมจำนวน ๔
ชนิด เป็น ๖ ชนิด ได้แก่ ๑) เครื่องแบบปฏิบัติงานปกติ เสื้อนอกคอแบะ (เพิ่มใหม่)
๒) เครื่องแบบปฏิบัติงานปกติ ๓) เครื่องแบบปฏิบัติงานลำลอง ๔)
เครื่องแบบปฏิบัติงานสนามสีเทาดำ (เพิ่มใหม่) ๕) เครื่องแบบปฏิบัติงานสนามสีกรมท่า
และ ๖) เครื่องแบบปฏิบัติงานสนามสีพรางเทาแกมดำ
และปรับปรุงสิ่งประกอบเครื่องแบบและอินทรธนูเพิ่มเติม
เพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติการในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฏกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. 2553) | มท. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
(สีเขียว) สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการอื่นในพื้นที่บางบริเวณ
ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้น จาก ไม่เกินร้อยละ ๕ เป็น ไม่เกินร้อยละ ๑๐
ของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | ร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก พ.ศ. .... | นร.09 | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวกขึ้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ
โดยมีประวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมกฎหมายและกฎในเรื่องเดียวกัน เกี่ยวข้อง
หรือเกี่ยวเนื่องกัน ไว้ในแหล่งเดียวกัน เข้าไว้ด้วยกัน จัดหมวดหมู่บทบัญญัติส่วนต่าง ๆ
ให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและเป็นเหตุผล เป็นผล โดยไม่มีการแก้ไขหลักการ
เนื้อความ หรือสาระสำคัญเดิม และใช้บังคับแทนกฎหมาย และกฎที่นำมารวบนั้น
เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
ตามนัยมาตรา ๒๗๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่า
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. .... | ดศ. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ
หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ มาใช้บังคับ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ
รวบรวม ใช้ เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศ
การรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ การจัดเก็บภาษีของหน่วยงานรัฐ
การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การดำเนินการของหน่วยงาน ศาล อัยการ
และผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยมิให้นำบทบัญญัติในหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๕ หมวด ๖ และหมวด
๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
ทั้งหมดมาใช้บังคับกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด
เช่น ให้เพิ่มภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ
การควบคุมป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคไว้ในมาตราดังกล่าว
กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย
ประมวลข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีเรื่องดังกล่าวด้วย และตามร่างมาตรา ๓ (๓) คำว่า
“ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย” นั้น มีความครอบคลุมเพียงใด
เนื่องจากเป็นถ้อยคำที่อาจมีการตีความได้หลายนัย
จึงพึงระมัดระวังเพื่อไม่ให้ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๒ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | การขออนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 | มท. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางศศิธร ตั้งสวัสดิ์) | สธ. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง (ร่าง) แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566 - 2570 | สกพอ. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่
๗ มกราคม ๒๕๖๕ ที่ได้เห็นชอบ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC) ยกระดับระบบการขนส่งให้เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อทั้งทางถนน
ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์
และสนับสนุนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนในพื้นที่ EEC รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าและประปา
เพื่อรองรับการยกระดับขีดความสามารถของพื้นที่ EEC ให้สามารถรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เมืองใหม่ และกิจกรรมการท่องเที่ยว
ประกอบด้วยโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค จำนวน ๗๗ โครงการ
กรอบวงเงินรวม ๓๓๗,๗๙๗.๐๗ ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโดยภาครัฐประมาณร้อยละ ๕๓
และการลงทุนโดยภาคเอกชน/การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ประมาณร้อยละ ๔๗ โดยหน่วยงานรับผิดชอบโครงการนั้น ๆ
จะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งงบประมาณจากแหล่งเงินตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ในฐานะหน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณ เช่น (๑) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานภายใต้
แผนปฏิบัติการฯ เห็นควรให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และ (๒) การพัฒนาโครงการต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติการฯ
เห็นควรดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | รายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี 2565 | พณ. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ
มาตรา ๓๐๑ พิเศษ ประจำปี ๒๕๖๕ และพิจารณาสั่งการกำชับให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย
ได้แก่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กองทัพบก กองทัพเรือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมศุลกากร สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
และกรมทรัพย์สินทางปัญญากวดขันปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง
โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในช่องทางออนไลน์
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาคเอกชน
และการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ผ่านอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันสำหรับการสตรีมและดาวน์โหลด
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีสังเคราะห์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... | อก. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีสังเคราะห์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีสังเคราะห์
รวม ๕ มาตรฐาน ได้แก่ ๑) สีไดเร็กต์ ๒) สีรีแอกทีฟ ๓) สีแวต ๔) สีซัลเฟอร์ และ ๕)
สีแอซิต เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีกรณีการจัดทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและผู้ถือหนังสือเดินทางราชการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ | กต. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ
และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย อาทิ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ
ลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ โดยร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
เป็นความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและผู้ถือหนังสือเดินทางราชการระหว่างกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรและเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้า
แวะผ่าน และพำนักอยู่ในดินแดนของคู่ภาคี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | โครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี | อก. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียโครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงสาธารณสุข ที่เห็นว่าในอนาคตเหมืองแร่ใต้ดินควรมีการสำรวจทดสอบชั้นหินและชั้นแร่ต่าง
ๆ ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม
การค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิศวกรรมและพฤติกรรมของวัสดุ
ควรต้องกำหนดการบริหารจัดการ
รวมทั้งมาตรการป้องกันการปนเปื้อนหรือแพร่กระจายของสารเคมีหรือวัตถุอื่นใดโดยเฉพาะเกลือและน้ำเค็ม
และคำนึงถึงทุกภาคส่วนอย่างรอบด้านทั้งด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สังคม
และเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๗
(เรื่อง รายงานข้อมูลข้อเท็จจริงกรณีโครงการทำเหมืองแร่โพแทชในประเทศไทย)
เฉพาะในส่วนของข้อ ๒ ๓.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่โพแทชให้ถูกต้อง
เหมาะสม คุ้มค่า มีความโปร่งใส เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
และกำกับดูแลผู้ประกอบการให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามรายงานผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการให้ครบถ้วน
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง
และกำหนดมาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ) | ศธ. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง
นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ เป็นข้าราชการการเมือง
ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช)] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน | กค. | 28/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบผลการพิจารณาขอจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าตามร่างพระราชบัญญัติกองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
พ.ศ. .... โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับช่วยเหลือ เยียวยา
และบรรเทาผู้ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าในภาคการผลิตทั้งเกษตร
อุตสาหกรรม และภาคบริการ
ตลอดจนพัฒนาศักยภาพการแข่งขันให้สามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าได้
ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔
มีมติเห็นชอบในหลักการการขอจัดตั้งกองทุนฯ
และให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศรับข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ การดำเนินการในระยะแรกของกองทุนฯ
รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณเป็นทุนประเดิมครั้งแรก จำนวน ๑,๐๐๐ ล้านบาท และกองทุนฯ
ต้องจัดทำหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ชัดเจน ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เช่น (๑)
ควรให้ความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันอย่างยั่งยืนสำหรับประกอบการต่อไป
(๒)
ควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือที่มิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกองทุนอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบันของหน่วยงานต่าง ๆ
(๓) ควรทบทวนสัดส่วนของวงเงินทุนประเดิม
เนื่องจากเป็นวงเงินที่สูงและเป็นการกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับหลักการและวิธีการจัดทำงบประมาณประจำปีและวินัยการเงินการคลังของประเทศ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | การเสนออุทยานธรณีขอนแก่นเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) | ทส. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีขอนแก่นเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก
(UNESCO Global Geoparks)
โดยยื่นความจำนงต่อยูเนสโกภายในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
และส่งใบสมัครในระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
และมอบหมายให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการเสนออุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต่อสำนักเลขาธิการยูเนสโก
ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรเพิ่มอำเภอมัญจาคีรี
จังหวัดขอนแก่น ในพื้นที่อุทยานธรณีขอนแก่น และควรคำนึงถึงการบริหารจัดการพื้นที่หากได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของ
UNESCO ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรดินและข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 ทรัพยากรทางบก ในประเด็นทรัพยากรดิน ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา | สว. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรดินและข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นการปฏิรูปที่ ๑ ทรัพยากรทางบก ในประเด็นทรัพยากรดิน
ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยและมีความเห็นเพิ่มเติม
สรุปได้ว่า ประเด็นการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ควรมีการทบทวนกำหนดเป้าหมายพื้นที่ป่าไม้ให้สอดคล้องกับการกำหนดพื้นที่สีเขียวทุกประเภทตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
(พ.ศ. ๒๕๖๑-พ.ศ. ๒๕๘๐) ประเด็นที่ ๑๘ การเติบโตอย่างยั่งยืน
และในการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับนโยบายป่าไม้แห่งชาติด้วย
ประเด็นการปรับปรุงคุณภาพดิน
ควรจัดทำแผนบูรณาการการปรับปรุงคุณภาพดินและการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ตลอดจนพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน และรัฐบาลควรพิจารณาทบทวนการจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการบูรณาการของหน่วยงานท้องถิ่นและเกษตรกรในการดำเนินงาน
ประเด็นการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ควรจัดทำแผนการเพาะปลูกโดยการกำหนดโซนนิ่งการเพาะปลูก เพื่อให้ผลผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ซึ่งจะเป็นการลดภาระรัฐบาลในการประกันราคาผลผลิต
ตลอดจนการส่งเสริมด้านการตลาดโดยวิธีสร้างแรงจูงใจเกษตรกรให้เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย | กก. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) อาทิ (๑)
ควรจัดเก็บข้อมูลนักแสดงชาวต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย
และจัดส่งให้กรมสรรพากรเป็นระยะ และ (๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจด้านอื่น ๆ
ให้มากขึ้นควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการลดข้อจำกัดและกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายทำภาพยนตร์
การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนดำเนินการผลักดันมาตรการสร้างแรงจูงใจในด้านอื่น
ๆ
ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติในครั้งนี้ให้เหมาะสมและครอบคลุม
รวมทั้งให้พิจารณาแนวทางการดำเนินการส่งเสริมและยกระดับจังหวัดเมืองรองต่าง ๆ
ให้สามารถใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้นด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | รายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีรัฐบาลสหรัฐอเมริการะบุให้สินค้าจากอุตสาหกรรมประมงไทยอยู่ในรายการสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานเด็กและแรงงานบังคับ | สนง. กสม. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กรณีรัฐบาลสหรัฐอเมริการะบุให้สินค้าจากอุตสาหกรรมประมงไทยอยู่ในรายการสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานเด็กและแรงงานบังคับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้ว
โดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายได้ทบทวนการใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง
จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน
มีการบูรณาการเกี่ยวกับการป้องกันการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับระหว่างหน่วยงานของรัฐแล้ว
และกระทรวงแรงงานมีแผนงานสร้างความรู้ความเข้าใจมิให้กระทำความผิด
รวมทั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง
ๆ ได้ตรวจสอบปัญหาการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมบางประเภทอย่างรอบด้าน
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|