ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมง | กษ. | 16/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมประมงยืมเพื่อไปดำเนินการตามโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล
ปี ๒๕๖๕ ระยะที่ ๑ ของกรมประมง มีกำหนดชำระคืนภายใน ๓ ปี ระยะเวลาโครงการ พ.ศ.
๒๕๖๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยอนุมัติวงเงิน จำนวน ๕๑๐ ล้านบาท เป็นเงินยืม
(เงินหมุนเวียนจำนวน ๕๐๐ ล้านบาท และเงินจ่ายขาด จำนวน ๑๐ ล้านบาท
สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี
๒๕๖๕ ระยะที่ ๑ ของกรมประมงเพื่อเสริมสภาพคล่องในด้านปัจจัยการผลิต
(ค่าอาหารและค่าลูกพันธุ์กุ้ง)
ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและสร้างความมั่นคงทางอาชีพ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐
ต่อปี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ เช่น
กรมประมงต้องกำกับดูแลการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ควรมีการกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงกุ้ง การผลิตกุ้งทะเล การแปรรูป
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการปัญหาโรคกุ้ง การปรับปรุงระบบการเพาะเลี้ยงให้ปลอดโรค
ให้ความสำคัญกับมาตรการติดตามและกำกับดูแลให้มีการผลิตกุ้งทะเลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานตลอดสายการผลิต
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยกลับมาเป็นผู้นำการส่งออกอันดับต้นของโลกได้
ทั้งนี้
ให้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินโครงการครอบคลุมทั้งระบบตั้งแต่กลุ่มเพาะและอนุบาลลูกกุ้ง
กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง และกลุ่มผู้แปรรูป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่าง (นายพลวัฒน์ ศุภภัทรเศรษฐ์) | อว. | 16/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายพลวัฒน์ ศุภภัทรเศรษฐ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | การขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อชดเชยรายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง | มท. | 16/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินจำนวน ๑,๙๗๐.๑๓
ล้านบาท สำหรับเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อชดเชยรายได้ให้แก่กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา เทศบาลนคร
และเทศบาลเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๓ รวมทั้งสิ้น ๒๒๗ แห่ง และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองต่อไป ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
การชดเชยรายได้ควรพิจารณาในลักษณะปีต่อปี
เพื่อให้วงเงินงบประมาณเป็นไปอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสถานะการเงินการคลังของประเทศ
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีมาตรการและแนวทางในการดำเนินการจัดเก็บรายได้ให้เต็มศักยภาพก่อนขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | การเรียกให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2565 | กค. | 16/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการเรียกให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนปีบัญชี
๒๕๖๕ โดยคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ได้มีมติเห็นชอบให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
จำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๔,๓๗๗.๕๗ ล้านบาท
(หลังจากนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานยังมีกระแสเงินสดที่สามารถดำเนินงานได้ปกติโดยไม่ขาดสภาพคล่องประมาณ
๑๑,๗๓๔.๓๘ ล้านบาท) ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับทุนหมุนเวียนต่าง
ๆ เกี่ยวกับการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการในโอกาสแรก
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2565 เรื่อง สิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก | สกพอ. | 09/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๕ เรื่อง
สิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก (Special EEC Zone : Eastern Airport City
(EECa)] โดย กพอ. มีมติเห็นชอบในหลักการการกำหนดสิทธิประโยชน์ใน EECa
สำหรับผู้ประกอบการในพื้นที่ คนทำงาน ผู้เดินทาง และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่
โดยมีการกำหนดสิทธิประโยชน์ทั้งในรูปแบบภาษีและมิใช่ภาษี
การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร และการจัดให้มีบริการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้พื้นที่บางส่วนประมาณ
๑,๐๓๒ไร่ ใน EECa เป็นเขตประกอบการค้าเสรี (Free
Trade Zone) ซึ่งเปรียบเสมือนพื้นที่นอกประเทศซึ่งไม่ถูกจำกัดในด้านกฎหมายที่ไม่จำเป็น
และมีมาตรการส่งเสริมด้านภาษีอากร
เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพื้นที่ EECa ให้เป็นสนามบินระดับโลกและเป็นศูนย์กลางทางการบินและโลจิสติกส์ของอาเซียน
ทั้งนี้ กพอ. ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(สกพอ.) และกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิประโยชน์ด้านภาษีมูลค่าเพิ่มและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
และเสนอ กพอ. เพื่อเห็นชอบ รวมถึงให้ สกพอ. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อรองรับการกำหนดสิทธิประโยชน์ใน EECa และให้ สกพอ. จัดให้มีบริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรที่เกี่ยวข้องด้วย ตามที่
สกพอ. ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของ กพอ. เสนอ ๒. ให้
สกพอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น (๑) ควรกำหนดการซื้อหรือปริมาณการนำเข้าสุราและยาสูบที่เหมาะสมเพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบนำสินค้าดังกล่าวออกมาจำหน่ายนอกพื้นที่เมืองการบินฯ
หรือการจ้างเดินทางเข้าไปใช้สิทธิ (๒)
มาตรการด้านเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยในสนามบินที่จะนำมาใช้ควรต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้า
เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ (๓)
ควรพิจารณาการกำหนดสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบกิจการใน EECa ไม่ให้เกิดความลักลั่นกับกรณีที่เป็นกิจการลักษณะเดียวกันกับที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้การส่งเสริม
และ (๔)
ควรพิจารณาความจำเป็นในการผ่อนปรนข้อจำกัดทางกฎหมายสำหรับงานที่ประเทศไทยมิได้ขาดแคลนหรือขาดทักษะว่ามีความจำเป็นต้องผ่อนปรนให้คนต่างด้าวทำหรือไม่
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก (นายธนะ ดวงรัตน์ และนายวีรพันธุ์ วัชราทิตย์) | กต. | 09/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ
ณ กรุงเฮก จำนวน ๒ ราย เพื่อให้ดำรงตำแหน่งสืบต่อไปอีกวาระหนึ่ง
และทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามลำดับ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๖ปี ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑.
นายธนะ ดวงรัตน์ ๒.
นายวีรพันธุ์ วัชราทิตย์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
147 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม 2565 | นร.11 สศช | 09/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ความคืบหน้าตามการแผนปฏิรูปประเทศตามมาตรา ๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รอบเดือนมกราคม-มีนาคม ๒๕๖๕ เพื่อเสนอต่อรัฐสภา โดยแสดงผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในมาตรา ๒๕๗ และ ๒๕๘ ที่ประชาชนได้รับจากการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง ๑๓ ด้าน การติดตาม การตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ และประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
148 | ร่างบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการจัดนายทหารติดต่อของกองทัพไทยประจำกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด - แปซิฟิก | กห. | 02/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
ว่าด้วยการจัดนายทหารติดต่อของกองทัพไทยประจำกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด-แปฟิซิก
(Memorandum of Agreement between the Ministry of Defence of the Kingdom of
Thailand as Represented by the Royal
Thai Armed Forces and the Department of Defense of the United States of America
as Represented by U.S. Indo-Pacific Command Regarding the Assignment of Liaison
Officers to U.S. Indo-Pacific Command) และให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความตกลงฯ
โดยให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความตกลงฯ
โดยร่างบันทึกความตกลงฯ
เป็นเอกสารที่กำหนดรายละเอียดในการส่งนายทหารติดต่อของกองทัพไทยไปปฏิบัติหน้าที่ ณ
กองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก ซึ่งมีรายละเอียด เช่น (๑)
หน้าที่และการปฏิบัติของนายทหารติดต่อ (๒) ข้อตกลงทางการเงิน (๓) การระงับข้อพิพาท
และ (๔) การมีผลบังคับใช้และการสิ้นสุด ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับการยืนยันให้ปรับเพิ่มถ้อยคำในข้อ
๘ (การอ้างสิทธิ)
เกี่ยวกับการไม่สละสิทธิในการฟ้องร้องต่อกรณีที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือการจงใจกระทำความผิดของนายทหารเจ้าหน้าที่พลเรือนนั้น
โดยที่กระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกายืนยันไม่ปรับถ้อยคำดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
เนื่องจากการสละสิทธิ์ในการฟ้องร้องดังกล่าวจะครอบคลุมเฉพาะคู่ภาคีโดยไม่เป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลของนายทหารติดต่อในการฟ้องร้องผู้ละเมิด
ดังนั้น การคงข้อความเดิมฝ่ายไทยจึงไม่เสียประโยชน์ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
149 | โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re - Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรม | กค. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
(Soft ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
(Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ
Supply Chain รวมถึงอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม ๒๐๐ ล้านบาท
จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium
Enterprises : SMEs) ในธุรกิจโรงแรมและสาขาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Supply
Chain) ของโรงแรม ให้มีสภาพคล่องที่เพียงพอ เพื่อเป็นเงินทุนในการฟื้นฟูกิจการให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลัง (ธนาคารออมสิน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นว่า
ธนาคารออมสินควรพิจารณากำหนดคำนิยามหรือเงื่อนไขของธุรกิจที่เข้าข่ายเป็น Supply
Chain ของโรงแรม
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการ
และอาจพิจารณาขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมธุรกิจอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด
๑๙ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว
ซึ่งมีต้นทุนคงที่และค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์สินค่อนข้างสูง เป็นต้น สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
ให้ธนาคารออมสินจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามขั้นตอน
ไปพิจารณาดำเนนการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
150 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2565 - 2570 | อว. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำร่างแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์
“ประเทศไทยเกิดระบบนิเวศที่ครบถ้วนและเชื่อมโยงแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในปี พ.ศ. ๒๕๗๐”
และวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
รวมทั้งเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนและดำเนินงานที่สอดคล้องกัน ประกอบด้วย ๕
ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม
กฎหมายและกฎระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (๒)
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(๓) การเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ (๔)
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ (๕)
การส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน
ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงมหาดไทย เช่น
ควรมีการทดลองร่วมกับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยี AI
มาใช้ในลักษณะ Sandbox เพิ่มเติมจากการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างครอบคลุมในทุกมิติ
ซึ่งจะทำให้สามารถเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ได้
และควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำในการขับเคลื่อนและพัฒนา AI โดยภาครัฐทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการดำเนินงานของภาคส่วนอื่น ๆ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
151 | การขอเพิ่มวงเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพิ่มวงเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line จากวงเงินเดิม ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็น ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท จนถึงวันที่ ๑๑
กันยายน ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นวันที่วงเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๔
จะครบกำหนดระยะเวลา ๓ ปี ภายใต้เงื่อนไขเดิม ประกอบด้วย ผู้เบิกเกินบัญชี
ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญาเงินกู้เมื่อทวงถาม
(Call Loan)
โดยจะพิจารณาทำสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินที่เสนอรูปแบบที่มีต้นทุนต่ำที่สุดตามอัตราดอกเบี้ยตลาด
โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพิจารณากู้เงินตามความจำเป็นและวางแผนการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และการกู้ยืมเงินดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะก่อนเริ่มดำเนินการ
ให้ภาครัฐดำเนินมาตรการอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น
การกำหนดมาตรการช่วยเหลือตามกลุ่มเป้าหมาย
การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในประเด็นสถานการณ์ราคาพลังงานโลก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
152 | การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร | นร.08 | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ๒.
เห็นชอบและรับทราบร่างประกาศ ดังนี้ ๒.๑ เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่
๑๙) และร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ๒.๒ รับทราบร่างประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด
ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ๓.
ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
153 | ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. .... | คค. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการลดอัตราภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวที่จดทะเบียนระหว่างวันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๘ ลงร้อยละ ๘๐ ของอัตราที่กำหนดตาม (๑๑)
ของอัตราภาษีประจำปีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นระยะเวลา ๑ ปี
นับแต่วันที่จดทะเบียนเพื่อเป็นการจูงใจให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้กรมการขนส่งทางบกกำหนดคำนิยามของรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ภายใต้ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรการอื่น
ๆ ของภาครัฐ ไปประกอบการตรวจพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
154 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม และกำหนดแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและลักษณะเครื่องหมายพิเศษ พ.ศ. .... | คค. | 18/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม
และกำหนดแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและลักษณะเครื่องหมายพิเศษ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม โดยกำหนดอายุของใบอนุญาต และเงื่อนไขให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรายงานการใช้เครื่องหมายพิเศษ
(ป้ายแดง) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งปรับปรุงแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถ
และลักษณะเครื่องหมายพิเศษ เพื่อให้ทางราชการสามารถควบคุม กำกับ ดูแล
การใช้เครื่องหมายพิเศษ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดปัญหาการหลีกเลี่ยงการใช้รถโดยไม่จดทะเบียน
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
รวมทั้งปรับปรุงประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
155 | ขออนุมัติดำเนินโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าทั่วไป | อก. | 18/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
156 | ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. .... | มท. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญกำหนดให้คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ
ซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ มีจำนวนประเทศละไม่เกิน ๑๐๐ คน
และคนต่างด้าวไร้สัญชาติมีจำนวนไม่เกิน ๕๐ คน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ที่เห็นว่าหน่วยงานความมั่นคงและหน่วยงานด้านการข่าวอาจจำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและพฤติกรรมของบุคคลประกอบด้วย
เพื่อลดผลกระทบทั้งด้านความมั่นคงและการแสวงโอกาสการกระทำความผิดในรูปแบบต่าง ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคดได้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
157 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า | กษ. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมู่ป่า
เป็นงบประมาณทั้งสิ้น ๗๕๓,๐๔๕,๕๗๒.๐๒ บาท สำหรับค่าชดใช้ราคาสุกรและค่าชดใช้ราคาสิ่งของที่ถูกทำลาย
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑.๑
ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายที่ยังคงค้างชำระ ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑๖
ตุลาคม ๒๕๖๔-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ จำนวนเงินทั้งสิ้น ๒๓๑,๓๓๙,๙๔๘.๕๒ บาท ๑.๒
ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายที่ยังคงค้างชำระ ซึ่งได้ดำเนินการก่อนวันที่ ๑๖
ตุลาคม ๒๕๖๔ จำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๘,๖๐๕,๖๒๓.๕๐ บาท ๑.๓
ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายตามแผนการดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรฯ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ร้อยละ ๓ ของฟาร์ม
ของจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย-รายเล็ก ซึ่งมีประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ราย
คิดเป็นจำนวนเกษตรกรทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ ราย จำนวนสุกร ๖๐,๐๐๐ ตัว
จะต้องใช้งบประมาณในการจ่ายค่าชดใช้ราคาสัตว์ที่ถูกทำลายเพิ่มเติมอีก ๔๐๒,๓๐๐,๐๐๐
บาท ๑.๔ ค่าชดใช้ราคาสิ่งของที่ถูกทำลาย
(อาหารสัตว์) เป็นเงิน ๑๐๐,๘๐๐,๐๐๐ บาท (คำนวนที่สุกรขุน ๑ ตัว
กินอาหารวันละประมาณ ๓ กิโลกรัม/ตัว/วัน ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ ๒๐ บาท
สำรองอาหารไว้ ๒๘ วัน) ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์)
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าชดใช้ราคาสุกรและค่าชดใช้ราคาสิ่งของที่ถูกทำลายให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
โปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งไม่ให้มีการจ่ายเงินซ้ำซ้อน ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นของวงเงินที่จะใช้ในการดำเนินการในส่วนดังกล่าว
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าในการดำเนินการและให้ความสำคัญกับกระบวนการตรวจสอบจำนวนสุกรและอาหารสัตว์ที่ถูกทำลายให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่ถูกทำลายจริง
และเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ควรดำเนินมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรฯ
โดยเฉพาะการป้องกันการลักลอบนำสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เข้าประเทศอย่างเข้มงวด
รวมทั้งประเมินความเสี่ยงระดับอำเภอทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการการควบคุมการเคลื่อนย้ายได้ทันท่วงที
ตลอดจนส่งเสริมและฟื้นฟูการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายเล็กและเกษตรกรรายย่อย
เพื่อยกระดับการเลี้ยงสุกรให้ได้มาตรฐาน Good
Farming Management : GFM ซึ่งเป็นมาตรการที่สำคัญในการป้องกันและควบคุมโรค
ASF และโรคระบาดร้ายแรงในสุกรอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากโรคระบาดในสุกรทั้งในระดับฟาร์มและระดับประเทศ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
158 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินในโค กระบือ | กษ. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินในโค
กระบือ ประกอบด้วย ค่าจัดซื้อวัคซีนโรคลัมปี สกิน จำนวน ๖,๓๐๐,๐๐๐ โด๊ส เป็นเงิน
๒๒๖,๘๐๐,๐๐๐ บาท และค่าจัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อการแพทย์ในการฉีดวัคซีน
เป็นเงิน ๕,๑๕๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาดำเนินการ ดังนี้ ๑.๑ กำกับดูแลการขนส่ง การเก็บรักษา
และการใช้งานวัคซีนโรคลัมปี สกินในโค กระบือ ให้ถูกต้อง เหมาะสม
เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ โดยให้กระจายวัคซีนตามลำดับความสำคัญเร่งด่วน
และดำเนินการอย่างทั่วถึง ๑.๒ ตรวจสอบ ติดตาม
และประเมินผลของการฉีดวัคซีนโรคลัมปี สกิน
เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงแนวทางการป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
159 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (พลตำรวจตรี เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ) | ปปง. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรับโอน พลตำรวจตรี เอกรักษ์
ลิ้มสังกาศ ข้าราชการตำรวจ ตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๖
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
160 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรกรณีโค-กระบือป่วยตายด้วยโรคลัมปี สกิน | กษ. | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๐๓,๑๐๔,๗๒๐ บาท
เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรกรณีโค-กระบือป่วยตายด้วยโรคลัมปี สกิน ตั้งแต่
มีนาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้กรมปศุสัตว์ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องกรณีโค-กระบือป่วยตายด้วยโรคลัมปี
สกิน พร้อมทั้งจัดทำรายละเอียดและเอกสารประกอบการเบิกจ่ายให้ชัดเจนและครบถ้วน
เพื่อการติดตามและตรวจสอบ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|