ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายไชยยศ จิรเมธากร) | นร.04 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้ง นายไชยยศ จิรเมธากร
เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
[รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์)] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๗
กันยายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | การแก้ปัญหาส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน) | สกพอ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมที่ดิน
และกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการแก้ไข ทบทวน
หรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา
๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการขอใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน อนุญาตให้ใช้ไม่เกิน ๕ ปี
นับแต่วันออกใบอนุญาต และการห้ามไม่ให้ขุดพื้นดินลึกจากพื้นดินทั่วไปเกินกว่า ๕
เมตร
เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสามารถดำเนินการขออนุญาตการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
[Environmental Impact Assessment
(EIA)] และขออนุญาตก่อสร้างได้ในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการขอถอนสภาพตามมาตรา
๘ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งนี้
สำหรับการขอใช้และการขอถอนสภาพลำรางสาธารณประโยชน์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติปัจจุบันนั้น
เมื่อได้มีการปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ
และมีผลใช้บังคับแล้วให้สามารถใช้แนวทางปฏิบัติตามระเบียบใหม่ไปดำเนินการต่อเนื่องได้
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
การรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด
เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าของการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ
และกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในภาพรวม
และควรมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประสานกับกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้สามารถมอบที่ดินได้ตามสัญญา
โดยการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวควรให้ความสำคัญกับการดำเนินการภายใต้แนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน
เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ภายใตแนวคิดดังกล่าวของประเทศไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทำการค้าระหว่างประเทศ | นร.53 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทำการค้าระหว่างประเทศ
โดยมีผลการดำเนินการ ระยะที่ ๑ เช่น การเข้ารับการอบรมของผู้ประกอบการ SMEจำนวน ๑,๒๘๖ ราย (เป้าหมาย ๒,๐๐๐
ราย) การสนับสนุนค่าธรรมเนียม FX Options และค่าธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ
จำนวน ๓๙.๙๗ ล้านบาท (เป้าหมาย ๒๐๐ ล้านบาท)
และการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน ๙.๘๒ ล้านบาท (เป้าหมาย ๒๕ ล้านบาท)
ซึ่งโครงการดังกล่าวมีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น สถานการณ์โควิด-๑๙
ส่งผลกระทบต่อยอดการส่งออกและนำเข้าลดลง ทำให้ SME ไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ผู้ประกอบการบางส่วนไม่เข้าใจเกี่ยวกับบริการ FX Options
และการประชาสัมพันธ์ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงยกเลิกการดำเนินโครงการฯ ในระยะที่
๒ (วงเงินส่วนที่เหลือ จำนวน ๒๒๕ ล้านบาท) ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ
และให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
ที่ควรคำนึงถึงเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอื่นด้วย เช่น
การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบอื่น เช่น สินเชื่อเพื่อการส่งออก และการประกันการส่งออก
เป็นต้น และควรดำเนินการหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางการส่งเสริมด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้ผู้ประกอบการ
SME
โดยนำปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมา นำมาปรับปรุงแผนการดำเนินโครงการดังกล่าว
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดรวมถึงสร้างความตระหนักความสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการ
ตามข้อสั่งการของประธานกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๕
และรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.12 | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน
(Joint
KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยมีกรอบแนวทางและเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
รวมทั้งกำหนดการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพิ่มเติมจากปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕ ใน ๓ ประเด็น ได้แก่ (๑) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (๒)
การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ ๓) การท่องเที่ยว
และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนตัวชี้วัดดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายต่อไป
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับสำนักงาน
ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.
รวมทั้งข้อสังเกตและความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข เช่น
ควรกำหนดตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ให้ครอบคลุมภารกิจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
และควรมีการทบทวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวชี้วัดเป็นระยะ
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไปพิจารณาให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | ขออนุมัติเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันรายการค่าเช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (แห่งใหม่) | ตผ. | 27/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๕
ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการกรณีหน่วยงานของรัฐผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้จัดให้ส่วนราชการเช่าใช้ประโยชน์
โดยปรับปรุงอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ ๓ ต่อปี
โดยขอกำหนดอัตราเช่าที่ดินต่อตารางเมตรในอัตราเดียวกับสัญญาเช่าที่ดินเดิมที่กำหนดให้ปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าร้อยละ
๕ ต่อปี และเพิ่มวงเงินค่าเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทสไทยย่านพหลโยธิน
จากเดิมวงเงิน ๕๘๒,๘๐๖,๑๗๔.๑๒ บาท เป็นวงเงิน ๗๖๔,๑๙๒,๙๙๖ บาท ตามนัยข้อ ๗ (๓) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ โดยภาระค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖
เห็นควรให้สำนักงานการตรวจแผ่นดินปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรร เปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร
หรือใช้จ่ายจากเงินรายได้ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้วแต่กรณี
ส่วนภาระงบประมาณในปีต่อไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายในแต่ละปีให้ครบถ้วนตามวงเงินในสัญญาเช่าที่ดิน
ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกมิติ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๕/๙๐๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๕)
ทั้งนี้ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงมหาดไทย ที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การใช้จ่ายเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | รายงานประจำปี 2564 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ | อว. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี
๒๕๖๔ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประกอบด้วยผลการดำเนินงานและรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | ขออนุมัติโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 2 | กษ. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ ๒ เพื่อชดเชยเยียวยาและบรรเทาผลกระทบให้กับเจ้าของเรือประมงจากมาตรการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของภาครัฐ
และรักษาความสมดุลของจำนวนเรือประมงพาณิชย์กับปริมาณสัตว์น้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการโครงการ
โดยมีงบประมาณค่าใช้จ่ายในการชดเชยเรือประมง จำนวน ๕๙ ลำ เป็นเงิน ๒๘๗,๑๘๑,๘๐๐ บาท โดยขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี
๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรกำหนดมาตรการและกำกับดูแลให้เรือออกนอกระบบได้อย่างแท้จริง ควรดูแลและสนับสนุนให้ผู้ที่ไม่ประสงค์จะทำการประมงได้มีโอกาสในการประกอบอาชีพอื่น
ควรพิจารณาทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากเรือประมงที่นำออกนอกระบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย | อก. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(กพศ.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และเห็นชอบการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปางเป็นระเบียงฯ ภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor : NEC-Creative LANNA (๒) ให้พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี
และจังหวัดหนองคาย เป็นระเบียงฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern
Economic Corridor : NeEC-Bioeconomy (๓) ให้พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี เป็นระเบียงฯ
ภาคกลาง-ตะวันตก หรือ Central-Western Economic Corridor : CWEC และ (๔) ให้พื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นระเบียงฯ ภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor
: SEC ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น การกำหนดพื้นที่ระเบียงฯ ๔ ภาค
และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาอื่น
ๆ
ควรคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาควบคู่กับความสามารถในการรองรับและจำกัดของพื้นที่
ควรมีการพิจารณาเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์กับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และควรมีมาตรการทางภาษีสำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) | นร.53 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | ขอความเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร บางส่วน เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุบลราชธานี | กษ. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
บางส่วน เนื้อที่ประมาณ ๔๒ ไร่ ๐ งาน ๕๑ ตารางวา เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว
จะแจ้งให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ดำเนินการตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒
ในการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร บางส่วน
เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำห้วยบอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดอุบลราชธานี ต่อไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ที่เห็นว่าโครงการที่อยู่ห่างแนวเส้นเขตแดนเข้ามาในฝั่งไทยมากพอสมควร
มิได้อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาหรืออาจมีประเด็นด้านเขตแดน ให้กรมชลประทานปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่ได้เสนอไว้ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
112 | รายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) | ทส. | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง
ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism :
JCM) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) การสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงการต้นแบบ
โดยญี่ปุ่นได้ให้เงินทุนสนับสนุนในการพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM ในประเทศไทย จำนวน ๔๔ โครงการ คิดเป็นมูลค่า ๒,๕๒๘
ล้านบาท มีผู้รับทุนเป็นบริษัทเอกชนไทย จำนวน ๔๒ แห่ง
โดยมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ ๒๑๙,๓๘๑
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และ (๒) สถานภาพการดำเนินโครงการ โครงการต้นแบบ
JCM ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน ๙ โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ
๕๐,๘๐๑ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และมีโครงการที่ได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิต
จำนวน ๕ โครงการ มีปริมาณคาร์บอนเครดิตเท่ากับ ๔,๐๓๒
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
113 | กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2566 | นร.11 สศช | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ วงเงินดำเนินการจำนวน ๑,๓๖๓,๙๓๘ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน
จำนวน ๒๗๖,๒๗๔ ล้านบาท ประกอบด้วย (๑)
กรอบการลงทุนสำหรับงานตามภารกิจปกติและโครงการต่อเนื่อง วงเงินดำเนินการ จำนวน ๑,๑๖๓,๙๓๘ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน ๒๒๖,๒๗๔ ล้านบาท และ (๒) กรอบการลงทุนสำหรับการเพิ่มเติมระหว่างปี วงเงินดำเนินการ
จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท เห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับวงเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๖ ให้สอดคล้องกับผลการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.
๒๕๖๖ รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบกลาง
หรืองบประมาณที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการงบประมาณหรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณแล้ว
และปรับเพิ่มกรอบวงเงินดำเนินการและกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ทันทีภายในปีงบประมาณ เห็นชอบมอบหมายให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยประธานสภาพัฒนาฯ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีในส่วนงบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติและโครงการต่อเนื่องที่การเปลี่ยนแปลงไม่มีผลกระทบต่อสาระสำคัญและกรอบวงเงินโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว
เห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระดับกระทรวง
และระดับรัฐวิสาหกิจโดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจรับข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการและเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนปี
๒๕๖๖ให้ สศช. ทราบภายในทุกวันที่ ๕ ของเดือนอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะและความก้าวหน้าการดำเนินโครงการลงทุนทุกไตรมาส
เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างต่อเนื่อง
และรับทราบประมาณการงบทำการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ ๖๗,๖๙๒ ล้านบาท และประมาณการแนวโน้มการดำเนินงานช่วงปี ๒๕๖๗-๒๕๖๙ ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้นที่คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ
๓๘๓,๙๗๐ ล้านบาท และผลประกอบการจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณปีละ
๘๐,๔๘๗ ล้านบาท ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงต้นสังกัด รัฐวิสาหกิจ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
รัฐมนตรีเจ้าสังกัดกำกับดูแลและคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
ให้ความสำคัญในการติดตามผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายกรณีที่มีความล่าช้า
และพิจารณาการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงให้คณะรัฐมนตรีทราบในโอกาสแรก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
เพื่อให้การดำเนินโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ
เป็นไปอย่างรวดเร็วตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้
ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นต้องหารือแนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างหรือหารือประเด็นข้อกฎหมายไปยังกระทรวงการคลัง
(กรมบัญชีกลาง) หรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามแต่กรณี ให้กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง)
และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเร่งพิจารณาและตอบข้อหารือดังกล่าวโดยเร็ว
เพื่อให้รัฐวิสาหกิจนั้น
ๆสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้โดยไม่เกิดความล่าช้าและเสียประโยชน์จากการดำเนินโครงการ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
114 | แถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence (PREZODE) | สธ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence
(PREZODE) และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม PREZODE
มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตจำนงที่จะทำงานร่วมกันของประเทศผู้เข้าร่วมริเริม PREZODE เพื่อป้องกันการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากสัตว์
ตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ เช่น
การพัฒนาและส่งเสริมการประยุกต์ใช้ที่สอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐
การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียว
การส่งเสริมการเปิดตัวโครงการวิจัย นวัตกรรม การศึกษา และการพัฒนา
และการใช้ประโยชน์จากข้อเสนอแนะจากการบริหารจัดการเหตุการณ์ระบาดของโรคก่อนหน้านี้
เพื่อเสริมสร้างเกณฑ์และวิธีการในการเตรียมความพร้อมใหม่ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์แสดงเจตจำนงเข้าร่วมข้อริเริ่ม Preventing Zoonotic Disease Emergence
(PREZODE)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นภายใต้แถลงการณ์แสดงเจตจำนงดังกล่าวให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ในโอกาสแรก
โดยพิจารณาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามภารกิจเท่าที่จำเป็น คำนึงถึงความประหยัด
และประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
115 | การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | กต. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการในการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จำนวน ๒ ราย ตามลำดับ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๓
กันยายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ดังนี้ ๑.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ๒.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
116 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (1. นางสุพร ตรีนรินทร์ ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | กปร. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(สำนักงาน กปร.) ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓ ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ตามที่สำนักงาน กปร. เสนอ ดังนี้ ๑. นางสุพร ตรีนรินทร์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ ๒. นางพิชญดา หัศภาค ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนา
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ ๓. นายหทัย วสุนันต์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๕
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
117 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2565 เพื่อใช้ในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2563 | กษ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.อนุมัติใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๕
ในวงเงิน ๑,๗๔๗,๙๐๓,๒๐๐ บาท (เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทอุดหนุนทั่วไป)
สำหรับเป็นเงินอุดหนุนเกษตรกรของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี ๒๕๖๓
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๗/๑๑๘๖๔ ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรกำกับ ติดตาม การดำเนินโครงการให้เป็นไปอย่างโปร่งใส
มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ซ้ำซ้อน
และบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เกิดความยั่งยืน
และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร
ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลของเกษตรกรที่ผ่านการรับรองการผลิตข้าวอินทรีย์ (Organic
Thailand) เพื่อติดตาม
ตรวจสอบความต้องการการทำนาข้าวอินทรีย์และตรวจรับรองระบบมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ได้อย่างต่อเนื่อง
ติดตามและประเมินผลโครงการในทุกมิติ ทั้งด้านคุณภาพชีวิตเกษตรกร ราคาขาย รายได้
และต้นทุนการผลิตของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโดยเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินโครงการ
รวมถึงความยั่งยืนของเกษตรกรที่ยังคงเพาะปลูกข้าวอินทรีย์อย่างต่อเนื่องภายหลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ
และเร่งปรับปรุงขั้นตอนในการรับรองพันธุ์ข้าวให้รวดเร็วขึ้น
ตลอดจนความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการพัฒนาการผลิตให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกไปยังต่างประเทศ
และการนำผลผลิตมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงในอนาคต ไปดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
118 | ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... | ยธ. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับเพิ่มและยกเลิกคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
จากร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้ ๑) คงคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๓ ฉบับ
เป็นคดีพเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ๒) เพิ่มเติมคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๓
ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่ คดีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
และคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และ ๓)
ยกเลิกคดีความผิดทางอาญาตามกฎหมาย รวม ๒ ฉบับ เป็นคดีพิเศษ ได้แก่
คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นควรให้กรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณาเพิ่มเติมความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทางทะเลและชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ในร่างกฎกระทรวงนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
119 | ร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ | ทส. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างแผนแม่บทพัฒนาการป่าไม้แห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้และทรัพยากรป่าไม้
ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ
มีเป้าหมายคือเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศอย่างน้อยร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ประเทศ
ประกอบด้วย ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ
๒๕ ระยะเวลาของแผนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๘๐ โดยร่างแผนแม่บทฯ ได้กำหนดมาตรการไว้ ๓
ด้าน ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ได้แก่ ด้านการจัดการป่าไม้
ด้านการใช้ประโยชน์ผลิตผลและการบริการจากป่าไม้และอุตสาหกรรมป่าไม้
และด้านการพัฒนาระบบบริหารและองค์กรเกี่ยวกับการป่าไม้ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น
ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้ประโยชน์จากการจัดทำและการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ต่อยอดมิติเศรษฐกิจด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของไทยที่ได้มาตรฐาน
มีธรรมาภิบาล ตอบโจทย์ความยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทาน
เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในภาวะตลาดโลกที่มีเงื่อนไขและการแข่งขันสูงในปัจจุบัน
การดำเนินบทบาทตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ
ควรกำหนดหน่วยงานหรือคณะบุคคลผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และเหมาะสม
รวมถึงควรบูรณาการฐานข้อมูลสารสนเทศในภาพรวมทั้งในระดับประเทศ และระดับพื้นที่
ตลอดจนการดำเนินการระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้ประสานสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในประเด็นเรื่องของ
“การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” เพิ่มเติมนอกจากการอนุรักษ์
การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน ในส่วนที่ ๕ ข้อ ๕.๑ ประการที่ ๖
และควรคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่เดิม
โดยอาจมีมาตรการเยียวยาหรือช่วยเหลือที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อภาคประชาชน ในส่วนที่
๕ ข้อ ๕.๑ ประการที่ ๙ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
โดยคำนึงถึงความประหยัดและประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้แต่ละประเภทให้มีความเหมาะสม
ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
และเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
แล้วให้จัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน (Handbook)
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการขอทบทวน
ปรับปรุงหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องที่อาจมีความซ้ำซ้อนหรือไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
120 | การสิ้นสุดหน้าที่ของกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ และรองกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชีย และการปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชีย เป็นการชั่วคราว (นายอะลอยซีเย ปัฟโลวิช และนายมีคาเอล ปัฟโลวิช) | กกท. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
ดังนี้ ๑. การสิ้นสุดหน้าที่ของ
นายอะลอยซีเย ปัฟโลวิช (Mr. Alojzije Pavlovic) กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชีย ตั้งแต่วันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๓ เนื่องจากครบวาระการดำรงตำแหน่ง ๒. การสิ้นสุดหน้าที่ของ
นายมีคาเอล ปัฟโลวิช (Mr.
Michael Pavlovic) รองกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชีย ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
เนื่องจากขอลาออกจากตำแหน่ง ๓. การปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์
ณ กรุงซาเกร็บ สาธารณรัฐโครเอเชีย เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ในระหว่างที่ฝ่ายไทยสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมมาดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงซาเกร็บ คนใหม่
|