ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | ร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเล | คค. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเล
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองและร่วมลงนามในร่างความตกลงฯ
รวมทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว
โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้เข้มแข็งขึ้น
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ เช่น
ควรพิจารณาให้มีการฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัยร่วมกับรัฐสมาชิกอื่นด้วย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | รายงานผลการดำเนินการ กรณี ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อผลักดันกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา | สว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินการ กรณี
ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อผลักดันกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์
ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ
และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
ด้านกฎหมาย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นควรให้มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์ในประมวลกฎหมายอาญา
โดยให้กระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานหลักนำร่างบทบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายและการบังคับใช้
ภายใต้คณะกรรมการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางด้านข้อมูลและพัฒนาระบบส่งต่อข้อมูล
โดยกำหนดแนวทางในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการติดตามและการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ
ซึ่งแบ่งได้ ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับนโยบาย
โดยรัฐจะจัดระบบการบริหารทรัพยากรบุคลากรในหน่วยงานและขยายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
และระดับปฏิบัติการโดยจัดรูปแบบการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน พัฒนาบุคลากรและเครื่องมือเพื่อส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ
และปรับองค์ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ด้านสังคม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และเผยแพร่ความรู้
เพื่อนำไปกำหนดนโยบายหรือมาตรการในการปราบปรามคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กเยาวชนที่ได้รับผลกระทบ
เช่น แผนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติระยะที่ ๑ (ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕ ) โครงการ
“โรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์” การพัฒนา ซอฟแวร์
E-learning จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ รวมทั้งมีการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน
และศูนย์ Fake News เพื่อตรวจสอบความเท็จจริงของข่าว
และด้านการสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดกิจกรรมโครงการต่าง ๆ
เพื่อประชาสัมพันธ์การใช้สื่อสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสร้างความตระหนักรู้
โดยมีเนื้อหาที่นำมาให้ความรู้ เช่น กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ความรู้เกี่ยวกับกรณีเด็กหรือเยาวชนกระทำผิด
รวมทั้งมีการปิดกั้นช่องทางที่ไม่เหมาะสม
เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัยคุกคามออนไลน์ที่มีต่อเด็กและเยาวชน
และในส่วนของข้อเสนอแนะให้มีวันการใช้อินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติ (National
Safer Internet Day) นั้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะนำประเด็นดังกล่าวไปหารือต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง เขตบางแค และแขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ
แขวงหลักสอง เขตบางแค และแขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง
เขตบางแค แขวงหนองค้างพลู แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนทวีวัฒนากับถนนบางบอน ๓
เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งบริเวณถนนทวีวัฒนากับถนนบางบอน
๓ และพื้นที่โดยรอบ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ
ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
หากโครงการดังกล่าวเข้าข่ายในการจัดทำ EIA ให้กรุงเทพมหานครดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป
และให้กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการฯ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | โครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน | อว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามันของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และให้ดำเนินการให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๓๕ ตลอดจนกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ รวมถึงควรเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั่วถึง
เท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ ควรมีการทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผ่านสื่อที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง
ให้นำความเห็นของหน่วยงานโดยเฉพาะสำนักงบประมาณไปดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการ
ขั้นตอนของระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณเป็นหลัก ควรพิจารณาการใช้เงินนอกงบประมาณที่รวมรายได้หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่
หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ นอกเหนือจากงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | หลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร.10 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมติคณะกรรมการมาตรฐานจริยธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
โดยให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมและสำนักงาน ก.พ.
รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาประเด็นในหลักสูตรการอบรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่ได้จัดทำอยู่แล้ว
และกำหนดแนวทางการนำกรอบหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับหน่วยงานแต่ละประเภทด้วย
จึงจะเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีมาตรฐานจริยธรรมในระดับเดียวกันได้
ไปพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐและแนวทางดำเนินการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
แล้วให้แจ้งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล
และองค์กรอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย | นร.01 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานเครือข่าย
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย (๑)
พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ (๒)
ด้านกลไกและวิธีการจัดการเรื่องร้องทุกข์ (๓) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์
ดังนี้ (๑)
ขอความร่วมมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้ประชาชนทราบถึงระยะเวลาในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
ซึ่งจะช่วยให้ลดเวลารอคอยและลดการติดตามเรื่องกับผู้ปฏิบัติงาน
และผลักดันให้เกิดการขยายผลและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการจัดการเรื่องร้องทุกข์ไปยังระดับภูมิภาคและท้องถิ่น
เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการดูแลแก้ไขอย่างครอบคลุมและเป็นธรรม ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ.ร.
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณหรือรางวัลให้แก่หน่วยงานที่สามารถจัดการเรื่องร้องทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ของหน่วยงานในภาพรวมให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงในหลายช่องทางด้วย
ควรมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติ
โดยมีกลไกในการแจ้งความคืบหน้าให้แก่ผู้ร้อง และควรขยายผลการรับเรื่องผ่านไลน์สร้างสุข
(@psc1111) และ
Traffy Fondue (@traffyfondue) ไปยังส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการเรื่องร้องทุกข์
อีกทั้งยกระดับมาตรฐานการรับเรื่องและบริหารจัดการปัญหาและข้อร้องเรียนของภาครัฐ
ไปพิจารณาดำเนินการให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนแจ้งให้ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง อุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy Industry) ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา | สว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สผ. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สว. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... | กษ. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ
เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตตั้งแต่ระดับฟาร์ม สร้างความมั่นใจถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
สามารถป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่สำคัญในสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สุกรของประเทศไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมีมาตรการในการสนับสนุนเกษตรกรด้านการอบรมให้ความรู้ในการจัดทำมาตรฐาน
การจัดหาปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม เช่น อาหาร พ่อพันธุ์ ยารักษาโรค
เพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อมและไม่ประสบปัญหาด้านต้นทุนการผลิตในการปรับเปลี่ยนมาตรฐานที่เพิ่มขึ้น
สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้คำแนะนำ รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการฟาร์มสุกรทุกขนาดก่อนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) | นร.08 | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | รายงานสรุปผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3 (ปี 2560-2564) และการดำเนินการในระยะต่อไป | กค. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนไทย
ฉบับที่ ๓ (ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔) และร่างหลักการการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ ๔ (ปี
๒๕๖๕-๒๕๗๐) ซึ่งมีผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ ๓ (ปี
๒๕๖๐-๒๕๖๔) ที่แล้วเสร็จ เช่น
การออกหลักเกณฑ์เพื่อพัฒนาเครื่องมือการระดมทุนของกิจการจากบุคคลจำนวนมากสำหรับตราสารหนี้การแก้เกณฑ์เพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย
และการพัฒนาจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน
และแผนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น การจัดทำกลไกคะแนนเครดิตที่สถาบันการเงินใช้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ให้แก่
SMEs และการปรับปรุงเกณฑ์ภาษีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งการดำเนินการในระยะต่อไป คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย
มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
จัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ ๔ (ปี ๒๕๖๕-๒๕๗๐) ซึ่งร่างหลักการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ ๔
มีสาระสำคัญ เช่น การจัดตั้งจัดทำแผนตลาดทุนไทย ฉบับที่ ๔
การศึกษาแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาตลาดทุนของต่างประเทศ และการจัดทำร่างแผนตลาดทุนไทย
ฉบับที่ ๔ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | การกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | กต. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้วันที่ ๑๖-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี
และจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร
อำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษเอเปค
ครั้งที่ ๒๙ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งเพื่อให้การอารักขาและการรักษาความปลอดภัยผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน
ให้ส่วนของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย
และกระทรวงแรงงานพิจารณาความเหมาะสมของการกำหนดเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีไป
นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีภารกิจให้บริการประชาชนหรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันหยุดดังกล่าวโดยได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว
ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหาย
หรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร
โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและการให้บริการประชาชน
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
โดยจะพิจารณาดำเนินการมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและการให้บริการประชาชน
และจะดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
และขอให้พิจารณาถึงผลกระทบของการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชนควบคู่กันไปด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้
ในส่วนของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้เป็นไปตามความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยให้ช่วงวันดังกล่าวเป็นวันทำการปกติ
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
และขอความร่วมมือสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้หน่วยงานที่ไม่ได้ให้บริการประชาชนหรือไม่ใช่ critical function เน้นการทำงาน work
from home ในช่วงวันดังกล่าว เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร
และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้เข้าร่วมประชุม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประจำประเทศไทย (นายอุบัยด์ ซะอีด อุบัยด์ บินฏอริช อัลฎอฮิรี) | กต. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายอุบัยด์ ซะอีด อุบัยด์ บินฏอริช อัลฎอฮิรี (Mr. Obaid Saeed Obaid
Bintaresh Aldhaheri) ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายชัยฟ์ อับดุลลอฮ์ มุฮัมมัด คอลฟาน อัชชามิซย์ (Mr. Saif Abdulla
Mohammed Khalfan Alshamisi) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | รายงานสรุปผลการพิจารณาการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2564 | สม. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๔
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๒๔๗ วรรค ๒
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ซึ่งได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อวันที่ ๒๑
เมษายน ๒๕๖๕ โดยมีผลสรุปในภาพรวมว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นข้อยกเว้น
เพื่อใช้ควบคุมสถานการณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งมีกลไกทางกฎหมายที่จะเข้ามามีการควบคุม ดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม
โดยผ่านกระบวนการพิจารณาและกลั่นกรองตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกขั้นตอนแล้ว
และจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่รัฐบาลจะใช้เพื่อควบคุมสถานการณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น
สำหรับการเร่งรัดจัดทำกฎหมายหรือระเบียบกลางในการช่วยเหลือเยียวยาที่ครอบคลุมทุกกรณี
กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำกฎหมายกลางดังกล่าว
รวมทั้งเห็นควรให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(กรุงเทพมหานคร) ร่วมกันกำหนดแนวทางในการหารือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนและแสวงหาทางออกร่วมกันและลดแรงกดดันต่าง
ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองซานตากรุซเดเตเนริเฟ ราชอาณาจักรสเปน (นายคริสท็อฟ คีสลิง) | กต. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑. ปรับการเรียกชื่อตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ จากกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำหมู่เกาะคานารี
เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองซานตากรุซเดเตเนริเฟ และสถานทำการทางกงสุลจากสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำหมู่เกาะคานารี
เป็นสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองซานตากรุซเดเตเนริเฟ
โดยยังคงสถานะของสถานทำการทางกงสุลเป็นสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ฯ ไว้เช่นเดิม
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และการสมัครเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้กรรมสารเจนีวา ค.ศ. 1999 | พณ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2022) | อว. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | แนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม | นร.08 | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม
โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานการจัดทำแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้อง
เพื่อส่งเสริมสังคมไทยอยู่ร่วมกันโดยเคารพความแตกต่างหลากหลาย
โดยให้ความสำคัญกับหลักการอดทนอดกลั้นและยึดมั่นแนวทางสายกลาง
อันจะเป็นการป้องกันและรับมือกับการบ่มเพาะแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงทุกรูปแบบ
โดยมียุทธศาสตร์หลัก ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การป้องกัน (Pervention)
มุ่งเน้นการเฝ้าระวังความขัดแย้งและการเผยแพร่อุดมการณ์/แนวคิดที่นิยมความรุนแรง
(๒) การยับยั้ง (Deterring) มุ่งเน้นลดปัจจัยทางการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม และขจัดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การมีแนวคิดที่นิยมความรุนแรง และ (๓)
การฟื้นฟูเยียวยา (Rehabilitation)
การนำผู้ที่มีแนวคิดที่นิยมความรุนแรงให้กลับเข้าสู่สังคม ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ปรับแนวทางในส่วนที่มอบหมาย
เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง
การยับยั้งปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง และการฟื้นฟูเยียวยากลุ่มเสี่ยงเพื่อเตรียมพร้อมกลับคืนสู่สังคม
อาทิ จำนวนสถานการณ์การชุมนุมที่มีการใช้ความรุนแรง
จำนวนเยาวชนและบุคคลทั่วไปที่เป็นผู้กระทำความผิดให้กลับคืนสู่สังคม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |