ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | กษ. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง
อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง
ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี
อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน
ในการก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบตามโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง
รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | ขออนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน | กษ. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม
โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เพิ่มขึ้นถุงหรือกล่องละ ๐.๓๑ บาท ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๖ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
สำหรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
หากยังมีงบประมาณไม่เพียงพอให้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
การพิจารณาทบทวนการกำหนดราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบให้สอดคล้องกับสถานการณ์
และหากจะมีการปรับเพิ่มหรือลดราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมและคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน)
พิจารณาผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นให้รอบคอบ ครบถ้วน
แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น
ควรมุ่งเน้นการพัฒนายกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
และผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางการปรับราคากลางนมโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
เร่งขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านโคนมและผลิตภัณฑ์โคนม ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐)
ที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งให้พิจารณาเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความต้องการบริโภคนมโรงเรียนที่มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากนักเรียนเข้าใหม่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง
เช่น การทยอยปรับลดกำลังการผลิต นมโรงเรียน การแปรรูปนมโคเป็นผลิตภัณฑ์อื่นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
เป็นต้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | การดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ | กค. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบการขยายกรอบการดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ กรณีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
รูปแบบโครงการเช่าระยะสั้น (Rental) บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่
กท. ๕๐๕๐ และ ส.กท. ๘๒๗ (บางส่วน) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ออกไปอีก ๓
ปี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัดต่อไป ควรติดตามและเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ขยายกรอบในการดำเนินโครงการไว้เพื่อสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนมีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย
และสามารถใช้ประโยชน์บนที่ดินราชพัสดุได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ควรมีกระบวนการคัดกรองลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม
บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด
และติดตามผลการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. เห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินแยกบัญชีโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ
เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (PSA)
และไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs)
ที่เกิดจากการดำเนินโครงการเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธนาคาร
รวมทั้งให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐบวกกับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงานได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | รายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) | ทส. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการติดตามและการประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง
ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting
Mechanism : JCM) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑)
การสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงการต้นแบบโดยญี่ปุ่นได้ให้เงินทุนสนับสนุนในการพัฒนาโครงการฯ
จำนวน ๔๙ โครงการ คิดเป็นมูลค่า ๓,๐๑๘ ล้านบาท
มีผู้รับทุนเป็นบริษัทเอกชนไทย จำนวน ๔๕ แห่ง
โดยมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ ๒๖๒,๓๕๗
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (๒) สถานภาพการดำเนินโครงการ โครงการต้นแบบ
JCM ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน ๑๑ โครงการ
มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ ๕๘,๐๙๖ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
และมีโครงการที่ได้รับการรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิต จำนวน ๕ โครงการ
มีปริมาณคาร์บอนเครดิตเท่ากับ ๔,๐๓๒
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ประจำปี 2563 และประจำปี 2564 | พม. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประจำปี ๒๕๖๓ และประจำปี ๒๕๖๔
ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม
๒๕๖๕ โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย (๑) ผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ ประจำปี ๒๕๖๓
และประจำปี ๒๕๖๔ ของคณะกรรมการ ๓ คณะ ได้แก่
คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เช่น
การปรับปรุงมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน
คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เช่น
รับพิจารณาคำร้องที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
และคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เช่น การจ่ายเงินชดเชย
เยียวยาหรือบรรเทาทุกข์แก่ผู้เสียหายจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศและสนับสนุนโครงการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศให้แก่หน่วยงาน/องค์กรต่าง
ๆ (๒) ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ และ (๓)
ข้อท้าทายและการดำเนินงานในระยะต่อไปเพื่อให้การปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฯ
มีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (1. นายมนตรี เดชาสกุลสม ฯลฯ จำนวน 3 ราย) | คค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนาคม
ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๓ ราย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑. นายมนตรี เดชาสกุลสม ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายสมชาย สุมนัสขจรกุล ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นางสาวรัชนีพร ธิติทรัพย์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | การรับรองปฏิญญา Fez ของการประชุม Global Forum of the United Nations Alliance of Civilizations (UNAOC) ครั้งที่ 9 | กต. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบปฏิญญา Fez ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ที่มีการรับรองแล้วในการประชุม Global Forum
of the United Nations Alliance of Civilizations (UNAOC) ครั้งที่
๙ ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ เมือง Fez ราชอาณาจักรโมร็อกโก
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงความตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างวัฒนธรรมและศาสนาเพื่อส่งเสริมความเคารพซึ่งกันและกัน
ตลอดจนเน้นย้ำการยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565)] | ปสส. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน
ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | สรุปผลการประชุมสหประชาชาติด้านมหาสมุทร ค.ศ. 2022 (2022 United Nations Ocean Conference) | ทส. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมสหประชาชาติด้านมหาสมุทร
ค.ศ. ๒๐๒๒ (2022
United Nations Ocean Conference) ระหว่างวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ
กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย (๑)
รัฐภาคีสมาชิกได้มีมติให้ความเห็นชอบปฏิญญาทางการเมืองเพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร
ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
โดยเรียกร้องให้รัฐสมาชิกร่วมเร่งรัดดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ ๑๔ โดยการให้ความรู้ในการจัดการมหาสมุทรแบบบูรณาการ ฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในระดับที่ผลิตได้
(๒)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมเต็มคณะ
โดยเน้นย้ำความสำคัญในการเร่งดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ ๑๔ แสดงความมุ่งมั่นของไทยในการใช้แนวทางของโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green
Economy (BCG) เพื่อเร่งขับเคลื่อนการจัดการปัญหาหลักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และ (๓) ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุมฯ
เช่น การแสดงท่าทีและจุดยืนของไทยที่ชัดเจนต่อที่ประชุม
การเจรจาเพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) | คค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ ๓ วงเงินลงทุน ๓๖,๘๒๙.๔๙๙ ล้านบาท (รวมสำรองราคาเปลี่ยนแปลงร้อยละ
๑๐ ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗ และดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง ๙๒๑.๖ ล้านบาท) ของบริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กองทัพเรือ และกรมท่าอากาศยานรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๓๙๑๑
ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าในการลงทุน
รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับคนทั้งมวลควบคู่ไปกับการดำเนินการพัฒนา
ควรหาแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการท่าอากาศยาน
การพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ การนำเทคโนโลยีมาช่วยการบริหารจัดการ การบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานต่าง
ๆ
เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นและรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในอนาคต
ควรดำเนินการส่งแผนผังบริเวณ แบบแปลน
และรายการประกอบแบบแปลนที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น
หรือประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒ จำนวน ๒ ชุด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนทำการก่อสร้างไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ในส่วนของการออกแบบท่าอากาศยานดอนเมืองให้กระทรวงคมนาคม [บริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)]
ให้ความสำคัญกับการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติด้านความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อยกระดับท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นท่าอากาศยานชั้นนำของโลก (World
Class Airport) ที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคม [บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)] ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกบูรณาการการใช้ประโยชน์โครงข่ายท่าอากาศยานที่มีอยู่
ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง
และท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่พัฒนาแล้วและที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
เพื่อให้การกระจายตัวของเที่ยวบินและผู้โดยสารเป็นไปตามศักยภาพของแต่ละท่าอากาศยาน
ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมมาตรฐานของระดับการให้บริการ (Level of Service) ของท่าอากาศยานทุกแห่งได้อย่างเหมาะสมด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายสุรโชค ต่างวิวัฒน์ และนายภูวเดช สุระโคตร) | สธ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน
๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑. นายสุรโชค ต่างวิวัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางสาวสุนีย์ ศรีสง่าตระกูลเลิศ) | พม. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางสาวสุนีย์ ศรีสง่าตระกูลเลิศ ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งรองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนกงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET) | ทส. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
(EANET) [Text for the Supplementary Document
(Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET] รวมทั้งเห็นชอบร่างหนังสือให้ความยินยอมอย่างเป็นทางการ
(official consent letter) โดยอนุมัติให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ลงนามในหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว
และให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) เพื่อให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษลงนามในหนังสือให้ความยินยอมอย่างเป็นทางการ (official
consent letter) โดยเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสารที่เป็นมลพิษทางอากาศ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ฝุ่นละออง เป็นต้น ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับการจัดสรร
หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ แล้วแต่กรณี ส่วนในปีต่อ ๆ ไป
ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเท่าที่จำเป็น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. .... | นร.03 | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจในความชำรุดบกพร่องของสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาและความเห็นของสำนักงานศาลยุติธรรม
ที่เห็นว่า
หากคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคได้ทบทวนแล้ว
ควรส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจอาจปฏิเสธที่จะซ่อมแซมสินค้าโดยเปลี่ยนสินค้าใหม่
ซึ่งเป็นประเภทและชนิดเดียวกันให้แก่ผู้บริโภคได้นั้น อาจไม่สอดรับกับข้อ ๔.๖
ที่กำหนดให้เป็นสิทธิของผู้บริโภคในการเลือกว่าจะเรียกร้องให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่
รวมทั้งอาจขัดกับหลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัตินี้ที่มุ่งประสงค์จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรม | กค. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
(Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply
Chain ของโรงแรม
เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium
Enterprises : SMEs) ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมให้มีเงินทุนเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับปรุงระยะเวลาชำระเงินกู้กรณีให้สินเชื่อเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมสถานประกอบกิจการและลงทุนในอุปกรณ์ต่าง
ๆ จากเดิมไม่เกิน ๗ ปี เป็นไม่เกิน ๑๐ ปี
รวมทั้งให้พิจารณาขยายคุณสมบัติของผู้กู้ให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการรายย่อยในแต่ละท้องถิ่นที่ประกอบกิจการอาหารหรือกิจการอื่นที่มีเอกลักษณ์/อัตลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น
ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืนต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น
ควรมีการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินโครงการ
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงมาตรฐานการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ต่อไป ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการและโครงการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลาง
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานการดำเนินงานตามมาตรการและโครงการดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ควรเร่งประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนด
และควรเร่งพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์
เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการฟื้นฟูรายได้ในช่วงที่ภาคการท่องเที่ยวกำลังฟื้นตัว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านการลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีน | อก. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | สรุปผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ 15 | กษ. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่ด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
สมัยที่ ๑๕ (United Nations Convention to Combat
Desertification : UNCCD COP 15) ระหว่างวันที่ ๙-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ
เมืองอาบีจาน สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ ทวีปแอฟริกา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑.
ผลการประชุม UNCCD COP 15 เช่น ๑.๑
การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับ UNCCD
COP 15 ให้มีการพัฒนากระบวนการสื่อสารและสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป้าหมายความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ๑.๒
การพัฒนาการดำเนินงานความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดินและการพัฒนาวิชาการ
นโยบาย และการเผยแพร่ความรู้
ผ่านการส่งเสริมการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนและพัฒนาฐานข้อมูล
และองค์ความรู้ในมิติต่าง ๆ เช่น มิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ๑.๓
แผนการดำเนินงาน UNCCD ระยะ ๔ ปี (๒๕๖๕-๒๕๖๘)
โดยเห็นชอบให้กลไกทางการเงินของ UNCCD สนับสนุนแผนงานที่เกี่ยวกับเป้าหมายความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดินเพื่อการลดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของที่ดินและการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ๒. ประเด็นสำคัญที่จะต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น ๒.๑ ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติของ UNCCD ปี ๒๕๖๔-๒๕๗๓
เพื่อเชื่อมโยงเป้าหมายความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน เช่น
การเพิ่มสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ของประเทศด้วยการปลูกป่าและฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ ๒.๒
สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน
การถือครองที่ดิน ภัยแล้ง และการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม ๒.๓
พัฒนาแผนงานโครงการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่เพื่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นรูปธรรม
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | แนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) | นร.12 | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น
(แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) และแนวทางการขับเคลื่อน ๒. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง
โดยคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (คบจ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ
ดังนี้ ๒.๑
นำแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น)
ไปใช้เป็นเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
และให้ประเมินตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ในการประเมินและให้พิจารณาคัดเลือก อปท. ให้ครอบคลุมทุกประเภท ยกเว้น อปท.
รูปแบบพิเศษ ๒.๒ ในการณีที่ คบจ.
พบประเด็นที่ควรเพิ่มความเข้มแข็ง ปัญหา หรือข้อจำกัดจากการประเมิน
สามารถให้ความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติอย่างเหมาะสมโดยตรงหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งเสนอแนะหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.๓
นำข้อมูลเผยแพร่ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งสาธารณชนภายในจังหวัดได้รับทราบเพื่อร่วมกันส่งเสริมและผลักดันให้ อปท.
มีศักยภาพในการบริหารการเงินและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓. ให้กระทรวงการคลังสรุปและรายงานผลการประเมินในภาพรวม
และแผนการดำเนินการในระยะต่อไปต่อ ก.พ.ร.
เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
และให้ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความเข็มแข็งการให้บริการประชาชนในพื้นที่ โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เห็นควรกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนการดำเนินงานของ
อปท. เพื่อบรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดของผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำหนดไว้
ในปีถัดไปควรทำประเมิน อปท. ให้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ
รวมทั้งควรมีการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในแนวทางประเมินให้กับท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
เพื่อให้การประเมินเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
และแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น ด้านรายได้
ควรที่จะกำหนดตัวชี้วัดให้ครอบคลุมทุกประเภทรายได้ของ อปท. ด้านงบประมาณรายจ่าย
เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายของ อปท.
จะมีความสัมพันธ์กับรายได้ที่เป็นภาษีที่รัฐจัดเก็บและแบ่งให้ อปท.
รวมทั้งเงินอุดหนุนทั่วไปซึ่งเป็นรายได้หลักที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลโดยจัดสรรเป็นงวดและไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนในการจัดสรรทำให้ส่งผลต่อการประเมินประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของ
อปท. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา รายงานผลการดำเนินงาน เรื่อง ติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ห้วงเวลาการดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2564) ของคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา | สว. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
รายงานผลการดำเนินงาน เรื่อง ติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓
และติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ (ห้วงเวลาการดำเนินการ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓-๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔)
ของคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยเห็นชอบกับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว สรุปได้ว่า (๑)
โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก
หนอง นา โมเดล” กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน มีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายและผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ
(๒) โครงการ “๑ ตำบล ๑ กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่”
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ผลักดันโครงการดังกล่าวให้เป็นโครงการสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ
(๓) โครงการ “ยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาด”
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายและวงเงินของโครงการอันเกิดจากอุปสรรคในพื้นที่ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานสำหรับการส่งเสริมคุณภาพสินค้าเพื่อยกระดับมาตรฐานให้กับกลุ่มเกษตรกร
(๔) โครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-๑๙ และโครงการรถ Mobile พาณิชย์...ลดราคา! ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก กระทรวงพาณิชย์ได้ขอปรับแก้ไขรายละเอียดในโครงการดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
โดยโครงการดังกล่าวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศรวม ๙๓.๑๓ ล้านบาท (๕)
โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และ (๖) โครงการกำลังใจ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีการดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดตามโครงการเราเที่ยวด้วยกันที่มีการกระทำการทุจริตฉ้อโกงที่เกิดขึ้นตามแหล่งท่องเที่ยวในภาคต่าง
ๆ ทั่วประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|