ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 15 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 281 - 300 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
281 | การยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 39/2559 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พุทธศักราช 2559 แก่สถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง | อว. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๓๙/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ แก่สถาบันอุดมศึกษา ๓ แห่ง
ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยบูรพา
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งคำสั่ง คสช ดังกล่าวเป็นการแก้ไขสถานการณ์ความไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของการดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและสร้างความมั่นใจให้สังคมโดยรวม
และมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้มีการแก้ไขปัญหาอันเป็นเหตุในการบังคับใช้คำสั่งนี้แล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการเสนอร่างประกาศกำหนดการยกเลิกการใช้บังคับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๓๙/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ต่อคณะรัฐมนตรี
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
282 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ประเภทต่าง ๆ
รวม ๒๗ ประเภท และรถจักรยานยนต์ประเภทต่าง ๆ รวม ๔ ประเภท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รวมพิจารณาร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้กับร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
รวม ๒ ฉบับ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรมีมาตรการรองรับให้รัดกุมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ควรเพิ่มหลักการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศให้ครอบคลุมชนิดอื่นด้วย
เนื่องจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการปล่อยมลพิษทางอากาศของประเทศไทย
ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
และมาตรการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บรายได้เพื่อมาชดเชยกับรายได้ที่คาดว่าจะสูญหายไป
และให้ดำเนินการตามนัยของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.
๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
283 | ร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... | ทส. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยกำหนดพื้นที่ในการบังคับใช้กฎหมาย กำหนดให้มีแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทุก
๕ ปี เพื่อใช้บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศ
กำหนดให้มีคณะกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ กำหนดให้มีการสร้างสมรรถนะและแรงจูงใจในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
กำหนดวิธีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ กำหนดกลไกในการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น
กำหนดกลไกการกำกับดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Organisms : LMOs) กำหนดโทษทางแพ่ง
โทษทางปกครอง โทษทางอาญา และกำหนดบทเฉพาะกาล ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด
และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เช่น ควรพิจารณาความครอบคลุมของกฎหมาย
ในประเด็นการปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศจากการใช้ประโยชน์ในรูปแบบของการเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากต่างชาติ
กำหนดเพิ่มเติมในอนุบัญญัติให้บุคคลที่ไม่ได้ขออนุญาตก่อนการเข้าถึงทรัพยากรทางชีวภาพตั้งแต่แรกสามารถยื่นคำขออนุญาตก่อนการเข้าถึงและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในภายหลังได้
ควรมีความนิยามเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการด้านเทคนิค อาทิ
รายงานการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา ๔๔) บัญชีปลดปล่อยต่อสิ่งแวดล้อม
(มาตรา ๔๖) แนวทางการระมัดระวังล่วงหน้า (มาตรา ๕๑) และสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม
(มาตรา ๕๓) เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมีระบบความเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ได้มาจากการพัฒนาขึ้นทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลเกิดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
284 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 | นร.11 สศช | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
285 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2565 | นร.11 สศช | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ดังนี้ (๑) เห็นชอบให้สถาบันวิทยาลัยชุมชน
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเสริมศักยภาพสมาชิกสหกรณ์ผู้ทำนาเกลือทะเล
(เกษตรกรนาเกลือ) โดยขยายเวลาดำเนินโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ (๒) เห็นชอบให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการแปลงใหญ่กระบือชลบุรีครบวงจร
โดยขยายเวลาดำเนินโครงการเป็นสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ (๓) เห็นชอบให้จังหวัดกระบี่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดลำพูน และจังหวัดตาก เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ/ยกเลิกโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ (๔) มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดของโครงการโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการฯ
ให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้.ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้กระทรวงต้นสังกัดกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
และติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
286 | ผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับนางเอลิซาเบท ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ | กต. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(นายดอน ปรมัตถ์วินัย) กับนางเอลิซาเบท ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร
ในโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องติดตามและเร่งรัดการดำเนินการตามผลการหารือฯ
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป โดยมีประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น
การเข้าร่วมหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-สหราชอาณาจักร การทำ MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ
การจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า ไทย-สหราชอาณาจักร
การปรับมาตรการการเดินทางและให้การรับรองวัคซีนโควิด-๑๙ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างกัน
การเข้าร่วม CPTPP กระบวนการ UPR สถานการณ์ในเมียนมา
และประเด็นบบาทของจีนและอินเดีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เช่น ควรพิจารณาให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน
ทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักในการประสานงานความร่วมมือระหว่างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของไทยและสหราชอาณาจักร
พิจารณาให้มีการใช้ประโยชน์จากการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านการค้า
การลงทุน และการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ BCG
ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
287 | มติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 และครั้งที่ 1/2565 | พน. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๔
มกราคม ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงพลังงาน
ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปให้ถูกต้อง
เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ดำเนินการในเรื่องต่าง
ๆ เพื่อสนับสนุนแนวทางดังกล่าวด้วย เช่น
การกำหนดกลไกการกำกับดูแลและตรวจสอบติดตามการดำเนินงานตามมาตรการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของกิจการยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง
การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดเพื่อนำมาใช้กับยานยนต์ไฟฟ้า
การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน
และการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาเพื่อให้มีบุคลากรที่เหมาะสมและเพียงพอรองรับอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนตามนโยบาย
30@30 เป็นต้น ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น ให้กรมสรรพาสมิต กระทรวงการคลัง
ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒
พิจารณาเสนอแนะแนวทางการจัดหาแหล่งงบประมาณที่เหมาะสม
รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศในแต่ละปี
รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปรับตัวทางธุรกิจ การพัฒนาทักษะ
และการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการและแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย ๓.
ในส่วนของกรอบวงเงินในการดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ขอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ให้กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สำหรับการจัดหาแหล่งงบประมาณในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๘ ในวงเงิน ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้กระทรวงการคลังร่วมกับสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งเงินและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
288 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... | ทส. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่
เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่
เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อประโยชน์
หรือสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงพลังงาน โดยเพิ่มข้อความ
“ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่การดำเนินการเพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือ”
เพื่อยกเว้นกับการใช้บังคับกับกองทัพเรือในกรณีที่มีการจำเป็นต้องดำเนินการใด ๆ
เกี่ยวกับกิจการด้านความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ
และกิจกรรมด้านพลังงานใดที่ต้องห้ามตามประกาศนี้
ถ้าได้รับอนุญาตก่อนวันประกาศนี้ให้ใช้บังคับในการดำเนินการต่อไป และการต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
โดยให้อนุญาตตามที่พื้นที่ที่ได้อนุญาตไว้เดิม ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ควรมีกระบวนการหารือกับภาคธุรกิจและภาคประชาชนในพื้นที่
เพื่อสร้างความเข้าใจและการรับรู้ร่วมกัน ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซักซ้อมความเข้าใจกับหน่วยงานในสังกัด
ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนถึงอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ
กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
และสร้างการรับรู้ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงทั้งประชาชน ชุมชน และภาคเอกชนที่ประกอบการด้านท่องเที่ยวและประมงในพื้นที่ให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
289 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร พ.ศ. .... | กษ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต
ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ
และผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก
หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับเฉพาะกรณีบุคคลธรรมดาให้แก่ผู้ประกอบกิจการดังกล่าว
รวมทั้งกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับประกอบกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร
เพื่อให้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และลดภาระของผู้ประกอบกิจการสินค้าเกษตร
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นว่า หากไม่ประสงค์จะจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตตามมาตรา
๒๐ และค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาตตามมาตรา ๓๓ อีกต่อไป
ควรพิจารณายกเลิกค่าธรรมเนียมดังกล่าวในพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
ในโอกาสต่อไป ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
290 | ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง | นร.04 | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการและให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ควรปรับถ้อยคำและตัวสะกดของชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง
ในร่างประกาศฯ ในบางรายการ เพื่อให้การกำหนดชื่อมีความถูกต้องตามข้อเท็จจริงตามสภาพการณ์ปัจจุบัน ไปประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้
ราชบัณฑิตยสภาควรปรับปรุงข้อความที่กล่าวถึงเหตุผลในการออกประกาศครั้งนี้ให้ชัดเจนว่ามุ่งหมายให้นำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างใด
และควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
291 | ร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง แยกเป็นรายจังหวัด 23 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 24 ฉบับ | กษ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการ ๑.๑ ร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๖๐ กฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ และกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓
เพื่อบังคับใช้กับกฎกระทรวงฉบับใหม่ ๑.๒ ร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง แยกเป็นรายจังหวัด ๒๓ จังหวัด
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดที่มีแนวเขตติดทะเลชายฝั่ง รวม ๒๓ จังหวัด โดยกำหนด
“เป็นเส้นตรงลากผ่านจุดพิกัด” เพื่อให้ทราบถึงเขตทะเลชายฝั่งที่ชัดเจน
เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้อยู่ในภาวะที่สมดุลและเหมาะสม รวม ๒๔
ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรแก้ไขข้อความในข้อ
๒ ของร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตทะเลชายฝั่ง แยกเป็นรายจังหวัด ๒๓ จังหวัด เป็นดังนี้
“ในกรณีที่เขตทะเลชายฝั่งทับซ้อนกับเขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
เขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหรือเขตอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามกฎหมายอื่นใด
ตามนัยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
พ.ศ. ๒๕๕๘ การทำประมงหรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตทะเลชายฝั่ง
หรือการดำเนินการใด ๆ
ที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ด้วย”
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
ตรวจสอบรายละเอียดความถูกต้องของค่าพิกัดและแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนดแนบท้ายกฎกระทรวงของจังหวัดดังกล่าวกับกรมอุทกศาสตร์
กองทัพเรือด้วย หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ
ทะเล หรือบนชายหาดของทะเล
กรมประมงและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ประชาสัมพันธ์ให้ชาวประมงในพื้นที่ทราบด้วยว่า แม้พื้นที่ดังกล่าวจะถูกกำหนดเป็นเขตทะเลชายฝั่ง
แต่ในการจะเข้าทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
และการกำหนดทะเลชายฝั่งของจังหวัดที่มีพื้นที่ทางทะเลติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ควรดำเนินการอย่างรอบคอบ
โดยคำนึงถึงมิติด้านความมั่นคงและมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
292 | ร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 รวม 3 ฉบับ | ยธ. | 15/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ๑.๑ ร่างกฎกระทรวงการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ
การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ
การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน
เพื่อประโยชน์ในการใช้อ้างอิงและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอยู่ในฉบับเดียวกันอย่างเป็นระบบ ๑.๒
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการกับบุคคลผู้มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากระทำความผิดฐานเสพ
หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ และกำหนดตำแหน่งหรือระดับของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส.
หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่จะมีหน้าที่และอำนาจดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ๑.๓
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการการขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงาน การแจ้งข้อหาในความผิดฐานสมคบ
และสนับสนุนช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๖๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุมัติ
การอนุมัติ และการรายงาน ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม
๓ ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น กรณีร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๒ การตรวจสอบหรือทดสอบ
หรือเก็บปัสสาวะ ในร่างข้อ ๘ (๑) ควรเพิ่มความว่า กรณีมีความเร่งด่วน
ให้ดำเนินการเท่าที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ควรแก้ไขข้อความในร่างข้อ
๓ ของร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๓
เพื่อมิให้ขัดกับแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ
สำหรับร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๑ กรณีร่างข้อ ๓๕
เกี่ยวกับการอายัดสิทธิเรียกร้องซึ่งบุคคลภายนอกต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย
ควรกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดยร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๑ เห็นว่า การตรวจสอบทรัพย์สินตามกฎกระทรวงนี้
ขอให้หน่วยงานที่รับคำขอความร่วมมือจากเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้น
ๆ และร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๓ เห็นว่า
หากศาลใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้ออกหมายจับในมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แล้ว
ไม่ควรจะต้องขออนุมัติทางเลขาธิการ ป.ป.ส. อีก
เนื่องจากการออกหมายจับดังกล่าวเป็นการใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาแล้ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
293 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 | รง. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว เห็นว่ารายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบต่อไป และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
294 | การขอขยายระยะเวลาการดำเนินการศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว (The Temporary Data Collection Centre : TDCC) ของทางการเมียนมา และการได้มาซึ่งเอกสารประจำตัวของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 | รง. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินการศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว
(The Temporary Data
Collection Centre : TDCC) ของทางการเมียนมา ณ จังหวัดสมุทรสาคร
ออกไปอีก ๑ ปี และการดำเนินการให้ได้มาซึ่งหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
๓ สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการจัดหางาน
และกรมการกงสุล หารือร่วมกันในโอกาสแรก
ในการมอบอำนาจการตรวจลงตราให้สอดคล้องกับขอบเขตการดำเนินการของศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล
(Certificate of identity
: CI) ของทางการเมียนมา และควรมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสมุทรสาครและหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่เพื่อกำกับติดตาม
และตรวจสอบการดำเนินการของศูนย์ TDCC ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งและเงื่อนไขที่ทางการไทยกำหนด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
295 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา | อก. | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมถอนเรื่อง ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่
๑ เอ เพื่อทำเหมืองแร่ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา คืนไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
296 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 1 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 08/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบการเพิ่มเติม “วนอุทยาน” “สวนพฤกษศาสตร์” “สวนรุกขชาติ”
ในหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙
ธันวาคม ๒๕๕๘ (เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ) ๒.
เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน ๑ :
๔๐๐๐ (One Map)
และรับรองเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐ กลุ่มจังหวัดที่ ๑ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีที่ดินของรัฐอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) โดยใช้แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วแทนแผนที่แนบท้ายกฎหมาย
และใช้เป็นแนวเขตที่ดินของรัฐตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน
โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผล ความจำเป็น
แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ รวมทั้งให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้อง
หรือให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้รวดเร็ว เหมาะสมตามแต่กรณี
โดยดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ การคุ้มครองและรับรองการดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
297 | ร่างกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. .... | รง. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ
พ.ศ. .... ของกระทรวงแรงงาน ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขสำหรับนายจ้างในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร
หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ
โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นกลไกในการกำกับ ดูแล
และบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงาน ที่เห็นว่ากำหนดให้นายจ้างแต่งตั้งผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคชั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ
จำนวนหนึ่งคน แล้วแต่กรณี เป็นกรรมการความปลอดภัยและเลขานุการนั้น
อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ และการกำหนดให้มีการทบทวนคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานอย่างน้อยทุกหกเดือนเป็นช่วงเวลาที่ถี่เกินไป
และการกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารความปลอดภัยและต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
เป็นผู้บริหารหน่วยความปลอดภัยนี้
อาจส่งผลกระทบต่อสถานประกอบกิจการปิโตรเลียมที่มีจำนวนพนักงานน้อย ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับมติที่ประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่
๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย
และสภาสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามมติที่ประชุมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับข้อคัดค้านร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้
เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ ตามข้อ ๓
และการควบคุมคุณภาพของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามร่างข้อ ๒๑ (๓)
ต้องเป็นอย่างเข้มงวด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีคุณภาพ
และเกิดประโยชน์สูงสุดตามเป้าประสงค์ของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
พ.ศ. ๒๕๕๔ ต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
298 | ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 12 (The 12th ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | มท. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนครั้งที่
๑๒ (The 12th ASEAN Ministers Meeting on
Rural Development and Poverty Eradication : การประชุม AMRDPE
ครั้งที่ ๑๒) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
ประกอบด้วย (๑)
รายงานของประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนเสนอต่อการประชุม
AMRDPE ครั้งที่ ๑๒ และ (๒) แถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุม AMRDPE ครั้งที่ ๑๒ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติเพื่อติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ๒.
ในการดำเนินการจัดทำเอกสารใด ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในครั้งต่อไปที่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป
ให้กระทรวงมหาดไทยถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ (เรื่อง
การทำความตกลงกับต่างประเทศ การทำอนุสัญญา และสนธิสัญญาต่าง ๆ) และวันที่ ๓๐
มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
อย่างเคร่งครัด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
299 | ขอความเห็นชอบกู้ยืมเงินเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย | กษ. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องทางการเงินขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกันจำนวน ๒๕๐ ล้านบาท ระยะเวลา ๑ ปี
นับตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๖๐๓
ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๔) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ นร ๑๑๒๔/๖๗๗๒ ลงวันที่ ๑๗
พฤศจิกายน ๒๕๖๔) ที่จะต้องกระทำด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความคุ้มค่า
ความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะโดยเคร่งครัด
เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
300 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นางศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ และนางบุษกร ปราบณศักดิ์) | กค. | 01/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ ราย ตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นางศุกร์ศิริ
บุญญเศรษฐ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์
|