ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 14 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 261 - 280 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
261 | ขออนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพื่อเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ | พศ. | 22/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
ตามนัยมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่อเป็นค่าเช่ารถโดยสาร ๑๒ ที่นั่ง (ดีเชล) ขนาดปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า ๒,๔๐๐ ซีซี จำนวน ๖ คัน อัตราค่าเช่า ๒๔,๗๕๐ บาทต่อคันต่อเดือน ระยะเวลา ๖๐
เดือน (ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ ถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๗๐) ภายในวงเงิน ๘,๙๑๐,๐๐๐ บาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาพศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ งบดำเนินงาน
ผลผลิตพระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริม จำนวน ๓๙๖,๐๐๐ บาท
และผลผลิตพระพุทธศาสนาได้รับการส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรม จำนวน ๑๙๘,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
๕๙๔,๐๐๐ บาท
ส่วนที่เหลือจำนวน ๘,๓๑๖,๐๐๐ บาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-พ.ศ. ๒๕๗๐
โดยให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สอดคล้องกับวงเงินตามสัญญาตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ ขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน โดยคำนึงถึงความจำเป็น
และประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับเป็นสำคัญด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
262 | การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2565 | รง. | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
263 | ผลการประชุมคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม ครั้งที่ 1/2564 | นร.11 สศช | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
264 | การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน [Financial Action Task Force (FATF)] | ปปง. | 15/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force : FATF) และให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ซึ่งกำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก
FATF
ตามร่างหนังสือแสดงเจตจำนง ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงบประมาณ
ที่ควรพิจารณาปรับแก้หน้า ๒ วรรคแรก บรรทัดที่ ๗ จาก “ including development of UN Sanctions 1373 ASEAN Guidelines” เป็น “including
development of ASEAN guidelines to implement the United Nations Security
Council (UNSC) Resolution 1373 (2001)”
และจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความจำเป็นเร่งด่วน ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
รวมทั้งผลสัมฤทธิ์จากการใช้จ่ายงบประมาณเป็นสำคัญ ไปดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
265 | โครงการอาชีวะ ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้ | ศธ. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการอาชีวะ
ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าว
เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อมาดำเนินการเป็นลำดับแรก
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-พ.ศ. ๒๕๖๘
เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการ
(สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ควรมีการควบคุม กำกับ ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
และควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อแนวทางการดำเนินโครงการอาชีวะฯ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
266 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. .... | คค. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพระบาท
และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒๗ สายทางเลี่ยงเมืองลำปาง ตอนทางเลี่ยงเมืองลำปางด้านทิศตะวันออก จังหวัดลำปาง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการก่อสร้างทางหลวงกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
ให้กรมทางหลวงดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนและได้รับความเห็นชอบรายงานฯ ก่อนลงนามในสัญญาก่อสร้าง
และให้กรมทางหลวงถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
(เรื่อง
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อก่อสร้างหรือขยายถนน)
อย่างเคร่งครัดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
267 | การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (นายพิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ) | สธ. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายพิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว
แทนประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากลาออก
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๘
มีนาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
268 | ขอถอนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... (การปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2554) | กค. | 08/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการคลังถอนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. ....
(การปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. ๒๕๕๔) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
269 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ | ศร. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
โดยรายงานดังกล่าวประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินการทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า
รายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
270 | ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 | นร.11 สศช | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี
๒๕๖๔ ทั้งปี ๒๕๖๕ และแนวโน้มปี ๒๕๖๔ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สรุปได้
ดังนี้ ๑. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่
๔ ขยายตัวร้อยละ ๑.๙ และภาพรวมทั้งปี ๒๕๖๔ ขยายตัวร้อยละ ๑.๖ ปรับตัวดีขึ้นจากปี
๒๕๖๓ ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ ๖.๒ ๒.ด้านค่าใช้จ่าย เช่น การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
ขยายตัวร้อยละ ๐.๓ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ ๘.๑
และการลงทุนรวมลดลงร้อยละ ๐.๒ ด้านการต่างประเทศ
การส่งสินค้าออกขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ ๒๑.๓ และการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
๒๐.๖ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ ๑.๖๔
ต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้าซึ่งมีจำนวนร้อยละ ๒.๒๕ ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ
๒.๔ และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๖ ของ GDP ๓. เศรษฐกิจไทยปี
๒๕๖๔ ขยายตัวร้อยละ ๑.๖ และภาพรวมทั้งปี ๒๕๖๔ GDP อยู่ที่ ๑๖.๒
ล้านล้านบาท และ GDP ต่อหัวของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ ๒๓๒,๑๗๖ บาทต่อคนต่อปี ๔.
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี ๒๕๖๕ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ ๓.๕-๔.๕
โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ประกอบด้วย (๑) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ
(๒) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (๓) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า
และ (๔) แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ ๕.
ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี ๒๕๖๕
ควรให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ เช่น (๑) การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
(๒) การสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจ (๓) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ
และ (๔) การติดตาม
เฝ้าระวังและเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
271 | การโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คู่สัญญาในการขายที่ราชพัสดุที่ตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาล | กค. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คู่สัญญาในการขายที่ราชพัสดุที่ได้มาโดยคำพิพากษาของศาลให้ตกเป็นของแผ่นดินจำนวน
๘๖ ราย ๙๔ รายการ (๑๓๑ แปลง)
ตามกฎกระทรวงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๙
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม และประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับเป็นสำคัญ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
272 | ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร) | ศย. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากรและให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าว
โดยอนุโลมกำหนดให้การออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาในส่วนคดีอาญาต้องไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีอาญาของจำเลยลดน้อยลงกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
แก้ไขเพิ่มเติมการรับทราบกำหนดนัดของศาลในคดีศาลเพ่ง
และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ ฎีกา คำพิพากษา
หรือคำสั่งศาลในคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากร
รวมถึงให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวในศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษและศาลฎีกาโดยอนุโลม
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
เช่น แก้ไขกฎหมายให้มีความครอบคลุม ชัดเจน
และสอดคล้องกับหลักการของกฎหมายภาษีอากรที่ดีมากยิ่งขึ้น เพิ่มเติมถ้อยคำว่า
“เจ้าหน้าที่” ไว้ในมาตรา ๗ (๑) ด้วย หากมีการแก้ไขถ้อยคำในมาตรา ๗ (๑)
ดังกล่าวจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งในคดีภาษีอากรและคดีอาญาควบคู่กันด้วย
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง
กรอบระยเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ๓. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เช่น ควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๘ โดยตัดข้อความ
“เกี่ยวกับภาษีอากร” ออก
ก็จะส่งผลให้คดีคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวกับภาษีอากรในเรื่องอื่น ๆ
ที่มิใช่การประเมินภาษีอากรนั้นจะต้องผ่านการอุทธรณ์โดยถูกต้องตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองก่อน
จึงจะฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ การเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจของศาลตามที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้จะไม่กระทบต่อการดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม
ควรพิจารณาดำเนินการปรับปรุงอาคารศาลเดิมเป็นสถานที่ทำการแทนการลงทุนก่อสร้างอาคารที่ทำการแห่งใหม่
อันเป็นการคำนึงถึงความคุ้มค่าและต้นทุนที่อาจลดลงได้ พิจารณากรอบอัตรากำลังข้าราชการตุลาการและข้าราชการศาลยุติธรรมเพื่อให้สอดรับกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
พิจารณาเกลี่ยอัตรากำลังที่ปฏิบัติงานในส่วนคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรจากศาลยุติธรรมอื่นก่อนเป็นลำดับแรก
พิจารณานำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี และการบริหารจัดการคดีของศาลภาษีอากร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการ
และมอบหมายให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม และคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
ร่วมกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
273 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2564 เรื่อง การให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ | สกพอ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๔
ซึ่งได้พิจารณาและมีมติเกี่ยวกับเรื่องการให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒. เห็นชอบหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขในการกำหนดสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
และเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
เพื่อกิจการพิเศษ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
เพื่อกิจการพิเศษ รวม ๖ แห่ง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้กำหนดผู้เจรจาและทำความตกลงเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในร่างประกาศนี้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่เห็นว่า (๑)
การให้สิทธิประโยชน์สำหรับโครงการสนามบินอู่ตะเภาไม่อาจดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายศุลกากรปัจจุบัน
(๒) ควรให้เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นอีกหนึ่งโครงการนำร่องด้วย
และ (๓)
ผู้เจรจาและทำความตกลงเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในร่างประกาศนี้ควรใช้รูปแบบขององค์คณะ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
274 | ขออนุมัติในหลักการจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก | สธ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อดำเนินโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต
สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
โดยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๒๓/๑๖๐ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔)
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลังกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA)
เพื่อประกอบการพิจารณา
ควรศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาคเอกชนและจัดทำแผนรองรับความเสี่ยง
ควรพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์ที่ทันสมัย เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
275 | ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | สธ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการ ๑.๑
ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ
องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ
หรือการตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ
องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ
หรือการตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา ๑.๒
ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา
รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าของรายได้จากการดำเนินการภายหลังขึ้นบัญชีดังกล่าว
โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานในกำกับของรัฐ
เพื่อความเหมาะสมในการพิจารณากำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชี
และควรแก้ไขถ้อยคำในบทอาศัยอำนาจให้ตรงตามบทอาศัยอำนาจที่แท้จริง ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม
รวมทั้งรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการกำหนดรายการและอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดต้องไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการเกินสมควร
โดยกระทรวงสาธารณสุขควรพิจารณากำหนดอัตราค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจริงให้มีความเหมาะสมและไม่เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการ
โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
276 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน | สผผ. | 01/03/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
โดยรายงานดังกล่าวประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินการทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า
รายงานการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
277 | ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 11 | กต. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา
ครั้งที่ ๑๑ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งกัมพูชา
(นายปรัก สุคน) เป็นประธานร่วมกัน โดยที่ประชุมฯ ได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ
ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็วจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
การรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนและการส่งเสริมมิตรภาพอันใกล้ชิดระหว่างประชาชนไทยและกัมพูชา
ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในประเด็นอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน และมอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ
ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด และให้ความสำคัญในการหารือด้านเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
ปรับปรุงถ้อยคำในบันทึกการประชุมฯ
ฉบับภาษาไทยและประเด็นการดำเนินการตามตารางติดตามผลการประชุมฯ
เพื่อให้เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
278 | แนวทางการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของไทย | กต. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน
(High-Level Political Forum on Sustainable
Development : HLPF) ประจำปี ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๖-๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔
ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งในการประชุมฯ
มีการนำเสนอ ดังนี้ (๑) รายงานการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.
๒๐๓๐ ระดับชาติ โดยสมัครใจ (๒)
รายงานความคืบหน้าของไทยในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ และ (๓)
รับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุม HLPF โดยมีประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
Development Goals : SDGs) หลังจากสถานการณ์โรคโควิด-๑๙
และแนวทางการขับเคลื่อน SDGs กับภาคีเพื่อการพัฒนา ทั้งนี้
ไทยได้นำแนวทางจากการประชุมดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อน SDGs ของไทยด้วย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
279 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา (วุฒิสภา) | สว. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหอการค้า
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านพาณิชย์เพื่อเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้แก่ผู้ประกอบการ
SMEs ไทยขยายสู่ตลาดต่างประเทศ
มีการจัดคณะผู้แทนการค้าระดับสูง (goodwill mission)
เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนกับประเทศเป้าหมาย
ซึ่งมีผู้แทนหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยร่วมเป็นองค์ประกอบ
การกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่ผู้บริจาคเงินช่วยเหลือโครงการและกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะของหอการค้า
กระทรวงการคลังเห็นว่าอาจจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับการบริจาคกรณีอื่น ๆ
และการวางแผนและการจัดสรรงบประมาณ
หอการค้าจังหวัดสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผน ผ่านกลไกคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
และคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง
ๆ กับหอการค้าจังหวัด โดยการตั้งงบประมาณงบเงินอุดหนุนแก่หอการค้าจังหวัด
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
280 | ขออนุมัติดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564 - 2565 | พณ. | 22/02/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันปี
๒๕๖๔-๒๕๖๕ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ ๗,๖๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระงบประมาณให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามผลการดำเนินงานจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายบริหารจัดการโครงการประกันรายได้ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕
เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ หรือโอนงบประมาณรายจ่าย หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้
การดำเนินโครงการดังกล่าวมีผลทำให้รัฐต้องชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐ
ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ เช่น
ควรตรวจสอบเกษตรกรผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการให้ได้รับเงินชดเชยตรงตามข้อเท็จจริงในพื้นที่
ควรกำหนดราคาประกันรายได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
ควรกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในการปลูกปาล์มน้ำมัน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|