ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 13 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 241 - 260 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
241 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ) | กค. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(การขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ) โดยมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากผู้ผลิตออกไปอีกเป็นระยะเวลา
๓ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่ควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่า เพื่อเป็นการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการมีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ควรพิจารณามาตรการอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย ทั้งที่เป็นมาตรการแบบบังคับและแบบสมัครใจ
เช่น การดำเนินมาตรการภาษีภาคบังคับในช่วงเวลาที่เหมาะสม
หรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกเปลี่ยนมาใช้เม็ดพลาสติกชีวภาพเพื่อการผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม
และดำเนินมาตรการตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.
๒๕๖๑ ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ
จัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการที่ได้จัดทำตามวรรคหนึ่งเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกสิ้นปีงบประมาณ
จนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
242 | สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2565 | คค. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
243 | การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล | รง. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา
๑๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
เกี่ยวกับการปรับปรุงค่าห้องและค่าอาหาร กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
สำหรับลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินวันละ ๑,๕๐๐ บาท
และสำหรับบุคคลในครอบครัวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินวันละ ๑,๑๐๐ บาท ซึ่งสิทธิสำหรับบุคคลในครอบครัวจะต้องเป็นสิทธิที่อยู่เดิม
ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐
สิงหาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าในการดำเนินการดังกล่าวแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงิน
ผลการดำเนินงานของกิจการ ขีดความสามารถในการหารายได้
และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น
เพื่อมิให้กระทบต่อการใช้จ่ายเงินทุนสำหรับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
244 | ร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ. 2565 - 2570 | นร.10 | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๗๐ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบและกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการรักษาจริยธรรมและส่งเสริมพัฒนาจริยธรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการจัดทำแผนงาน
มาตรการ เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรักษาจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม ซึ่งร่างยุทธศาสตร์ฯ
ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว
ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
245 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 | สม. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน
งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า
ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
246 | ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2565 | กค. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕
สรุปได้ ดังนี้ (๑) มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ในเรื่องเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (๒)
รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ภาพรวมการเบิกจ่าย ประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๕ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน ๑,๓๐๖,๑๒๓ ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน กระทรวงที่มีการเบิกจ่ายสูงสุด
เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการคลัง
สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๓)
รัฐวิสาหกิจมีกรอบลงทุนปี ๒๕๖๕ จำนวน ๓๑๘,๑๐๓ ล้านบาท
มีผลการเบิกจ่ายสะสม ๑๔,๒๖๓ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๕
ของแผนเบิกจ่ายสะสม (๔) โครงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ มีจำนวน ๑๐๒ โครงการ
มูลค่ารวม ๒.๕๑ ล้านล้านบาท และมีมูลค่าการลงทุนในปี ๒๕๖๕ จำนวน ๑๙๒,๗๗๖ ล้านบาท และ (๕)
การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. ๒๕๖๓
จำนวน ๑,๑๒๖ โครงการ วงเงิน ๙๘๖,๙๖๔
ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น ๙๔๓,๕๕๔ ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ ๙๖ ของวงเงินอนุมัติ
และการเบิกจ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๔๓ โครงการ วงเงิน ๓๔๒,๓๑๗
ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน ๒๒๙,๖๕๓
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๖๗ ของวงเงินอนุมัติ
ตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
247 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (นายสมพร อารยชาติสกุล) | กษ. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายสมพร อารยชาติสกุล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งวิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ
กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านควบคุมการก่อสร้าง)
(วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๖
สิงหาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
248 | ผลการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 | กก. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน
ครั้งที่ ๖ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน
ครั้งที่ ๖ และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่
๓ ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
รวมทั้งทบทวนและประเมินผลโครงการและกิจกรรมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนและองค์กรย่อยตามแผนการดำเนินการด้านกีฬาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แผนงานประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
และสายงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากีฬาอาเซียน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้การรับรองเอกสารต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน
ครั้งที่ ๖ และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่
๓ ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนถ้อยคำในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าคณะรัฐมนตรีสามารถพิจารณารับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ครั้งที่ ๖
และการประชุมที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
และควรให้ความสำคัญกับมาตรการรักษาความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และควรมีกรอบแผนการดำเนินงานในการพัฒนาการกีฬาให้ครอบคลุม
โดยคำนึงถึงบริบทการดำเนินชีวิตตามแนววิถีใหม่ (New Normal)
เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านกีฬาที่ยั่งยืนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
249 | การนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว - อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน | ทส. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึงและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเพิ่มเติม
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้แก่ (๑)
การดำเนินการไม่เป็นการจัดทำสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒)
ควรให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการเสนออุทยานเป็นมรดกโลกแห่งอาเซียน
(๓) ค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
เห็นควรให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
และ (๔) การรวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อาจจะมีผลกระทบต่อแผนการพัฒนาทางหลวงหมายเลข ๑๒ ให้เป็น
๔ ช่องจราจร ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
250 | ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ [ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....] | นร.09 | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบข้อสังเกตและผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ
[ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ]
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เพื่อกำหนดให้ชาย หญิง
หรือบุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันสามารถหมั้นหรือสมรสกันได้ตามกฎหมาย
รวมทั้งแก้ไขถ้อยคำในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกัน เช่น
แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องเงื่อนไขแห่งการสมรส
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาให้มีสิทธิและหน้าที่และความคุ้มครองตามกฎหมาย
แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา การจัดการสินสมรสและหนี้สินร่วมกัน
แก้ไขเพิ่มเติมให้คู่สมรสซึ่งเป็นเพศเดียวกันสามารถรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมร่วมกันได้
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๒. ให้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
ที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการไปยังสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลา
พร้อมแจ้งข้อสังเกตดังกล่าวไปเพื่อประกอบการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๓.
ให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต
พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และอยู่ระหว่างการทบทวนตามข้อสังเกตของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
แล้วเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
251 | การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ | ศธ. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแต่งตั้ง นายวีระ แข็งกสิการ
รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
252 | ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 | สธ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
253 | การกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนให้มีขนาดที่เหมาะสม | นร.12 | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
254 | ร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. .... | ทส. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ
วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ
ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ
วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงาน หรือการอนุรักษ์ บำรุงรักษา
และฟื้นฟูอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน
สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาทบทวนอัตราการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้
ภายหลังที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับไปแล้ว ๓ ปี ควรทบทวนหลักเกณฑ์
วิธีการแบ่งเงินให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
โดยพิจารณาแหล่งกำเนิดของรายได้ว่าควรจัดสรรให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตามสัดส่วน
และพื้นที่ที่เกิดรายได้ขึ้นจริงแทนวิธีการแบ่งให้แห่งละเท่า ๆ กัน ควรมีกลไกความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ในการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่แบ่งให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความเหมาะสม
มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควร ควรพิจารณาทบทวนอัตราการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้
ภายหลังที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับไปแล้ว ๓ ปี
ควรกำหนดระยะเวลาในการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้ตามมาตรา ๒๙
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ แก่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล
คำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นที่สนับสนุนภารกิจของอุทยานในลักษณะทั่วไป ควรมีกลไกความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ในการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่แบ่งให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความเหมาะสม
มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
255 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
256 | รายงานผลการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 และการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2564 | กค. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
257 | โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง | กษ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
โดยให้เกษตรกรฯ
ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิมโดยพักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ ๕๐)
และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน และให้เกษตรกรฯ ทำสัญญาผ่อนชำระหนี้เงินต้นครึ่งหนึ่ง
(ร้อยละ ๕๐) ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่ไม่เกิน ๑๕ ปี สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ
๕๐ ในส่วนที่เกษตรกรฯ ไม่ต้องรับภาระ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๕๐,๖๒๑ ราย รัฐจะรับภาระในการจัดสรรเมื่อเกษตรกรฯ
ได้ชำระหนี้คืนงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร)
ร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดรายละเอียดและแนวทางดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น
รวมถึงกำหนดกรอบวงเงินสำหรับดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสม
และดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ในส่วนของการขอยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระของธนาคารรัฐ ๔ แห่ง
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร)
เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์
และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการดำเนินการให้ได้ข้อยุติที่เหมาะสมแล้วเสนคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ๓. รับทราบการยกเลิกหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ยั่งยืน
(ลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒
ตุลาคม ๒๕๖๑ [เรื่อง
โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ยั่งยืน
(ลูกหนี้ ธ.ก.ส.)] ๔. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร) ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย
คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกษตรกร จำนวน ๕๐,๖๒๑ ราย ดังกล่าวข้างต้น
ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของคนในกรอบการแก้ไขปัญหาความยกจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือนของ
คจพ. ด้วย ๕. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง
เช่น ประเมินผลการดำเนินการของกองทุนฯ ทบทวนและปรับปรุงรูปแบบการดำเนินโครงการ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างยั่งยืน
ควรให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลและการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ประกาศหลักเกณฑ์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ตลอดจนเงื่อนไขและวิธีดำเนินโครงการฯ อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
258 | การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร | นร.08 | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ๒. เห็นชอบและรับทราบร่างประกาศ ดังนี้ ๒.๑ เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่
๑๗) และร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ๒.๒ รับทราบร่างประกาศ เรื่อง
การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งนายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ รวม ๓ ฉบับ
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
259 | มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับสินเชื่อภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 | กค. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
260 | ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย (ฉบับปรับปรุง) | พณ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||