ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 12 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 221 - 240 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
221 | ผลการพิจารณาญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับวิธีป้องกัน รักษา และเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่ในโค กระบือ (Lumpy skin disease virus) ของสภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาญัตติด่วน
เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับวิธีป้องกัน รักษา
และเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่ในโค กระบือ (Lumpy skin disease virus) ของสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการในภาพรวม ๔ ประเด็น ได้แก่ (๑)
สถานการณ์และปัญหาการระบาดของโรคลัมปี สกิน ในปัญหาขาดเครื่องมืออุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน
ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้เร่งดำเนินการแก้ปัญหาแล้ว โดยการใช้เงินเพื่อบริหารจัดการระหว่างปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔
ในการจัดหายาฆ่าแมลงสำหรับควบคุมและกำจัดแมลงดูดเลือดที่เป็นพาหะของโรคลัมปี สกิน
รวมทั้งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร
ทั้งงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงสำหรับควบคุมแมลง
พาหะนำโรคเพิ่มเติม (๒) มาตรการป้องกันการเกิดโรคลัมปี สกิน ที่เกิดแก่โค กระบือ
โดยกรมปศุสัตว์ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับโรคลัมปี สกิน
และแนวทางการป้องกันโรค และมีการนำเข้าวัคซีนโรคลัมปี สกิน จากต่างประเทศ และนำไปฉีดให้กับโค
กระบือของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ตลอดจนกำหนดมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน (๓) มาตรการในการรักษาโรค
กระบือที่ป่วยเป็นโรคลัมปี สกิน
เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่ยังไม่มียารักษาที่จำเพาะ
จึงต้องจำเป็นที่จะต้องรักษาตามมาตรการ ซึ่งแบ่งการรักษาตามอาการเป็น ๔ ระยะ
ได้แก่ ระยะที่ ๑
สัตว์ป่วยแสดงอาการมีไข้ให้ทำการรักษาโดยให้ยาลดไข้ร่วมกับวิตามินบำรุงให้สัตว์แข็งแรง
ระยะที่ ๒ ระยะที่มีตุ่มขึ้นตามผิวหนัง โดยให้ยาลดการอักเสบร่วมกับวิตามินบำรุงให้สัตว์แข็งแรง
ระยะที่ ๓ ระยะตุ่มบนผิวหนังมีการแตกหลุดลอกเป็นแผล
ให้รักษาโดยให้ยารักษาแผลที่ผิวหนังร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
รวมทั้งยากันหนอนแมลงวันและวิตามินบำรุงร่างกายให้สัตว์แข็งแรง ระยะที่ ๔
ระยะแผนที่ผิวหนังตกสะเก็ด ทำการรักษาด้วยยารักษาแผลภายนอกจนกวาแผลจะหายเป็นปกติ
(๔) มาตรการในการเยียวยาแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค
กระบือที่ได้รับความเสียหายจากโรคลัมปี สกิน มีการจัดทำโครงการประกันภัยโคเนื้อ
โคนม ร่วมกับ ธ.ก.ส. และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด
(มหาชน) และบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในอัตรา ๔๐๐ บาท/ตัว
สำหรับโคเนื้อ คุ้มครอง ๖ เดือน หรือ ๘๑๐ บาท/ตัว สำหรับโคนม คุ้มครอง ๑๒ เดือน
ให้ความคุ้มครองจากการตาย/เจ็บป่วย ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาทต่อตัว นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ยังมีแผนผลักดันนำร่องประกันคนละครึ่งในแผนปี
๒๕๖๖ ภายใต้โครงการสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (agri map) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
222 | ร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. 2564 - 2580) | กห. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
ในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๘๐) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้ความสามารถในการแข่งขัน
ลดการพึ่งพาหรือนำเข้ายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม
หน่วยงานอื่นของรัฐ และภาคเอกชน โดยใช้นโยบายและเป้าหมายในการขับเคลื่อน รวม ๕
ด้าน เช่น ด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีป้องกันประเทศและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรม การค้นคว้าวิจัย
การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ
และการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศส่งเสริมและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ข้อสังเกต
และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เช่น ให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศดำเนินการปรับปรุงช่วงระยะเวลาของร่างนโยบายฯ
เป็นแผนปฏิบัติการช่วงระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำแผนระดับที่ ๓
และควรพิจารณากำหนดตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงกับการจัดหายุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหม
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการผลักดันผลงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศเข้าสู่กองทัพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
223 | มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 | นร.14 | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน
ปี ๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๕
และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๕ /๒๕๖๖
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการตามมาตรการดังกล่าว
โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ
พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณประจำปีที่ได้รับการจัดสรร
หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี และควรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรเร่งติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ
ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินโครงการฯ
ให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
224 | ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (13th IMT-GT Summit) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
225 | กรอบการเจรจาของประเทศไทยและองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ 15 | กษ. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบท่าทีการเจรจาของประเทศไทยสำหรับเป็นกรอบในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ ๑๕ และรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ ๑๕ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดิน) ได้จัดทำท่าทีตามประเด็นสำคัญของอนุสัญญาฯ เช่น การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯ ในปี ๒๕๖๖-๒๕๖๗ ซึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องจากการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ ๑๔ และได้เพิ่มประเด็นเกี่ยวกับการป้องกันและลดผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยประเทศไทยให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูที่ดินและการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการเกิดโรคระบาดดังกล่าว สำหรับองค์ประกอบผู้แทนเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ ๑๕ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๑๐ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน ๒ คน โดยจะมีการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ ๑๕ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ ๙-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ เมืองอาบีจาน สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ ทวีปแอฟริกา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
226 | (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ โดยร่างแผนพัฒนาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า
เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” และมีเป้าหมาย เช่น
การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
และการเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน โดยได้กำหนดหมุดหมาย จำนวน ๑๓
หมุดหมาย เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน เช่น
หมุดหมายที่ ๑ ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ ๗ ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง
และสามารถแข่งขันได้ เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุข เช่น คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น
ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม และฐานะทางการคลัง
มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมหมุดหมาย
พิจารณากำหนดค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของเป้าหมายหลักและเป้าหมายในระดับหมุดหมายเป็นรายปี
ไปพิจารณาดำเนินการ แล้วให้นำ (ร่าง) แผนแผนพัฒนาฯ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ
ก่อนกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
227 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร กรณีสภาเขตและสมาชิกสภาเขต” ของคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง “การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร กรณีสภาเขตและสมาชิกสภาเขต”
ของคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น
และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยมีข้อเสนอแนะและข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การกำหนดให้มีสภาเขตและสมาชิกสภาเขต
หากจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ควรกำหนดโครงสร้าง ที่มา องค์ประกอบ บทบาท
และอำนาจหน้าที่ของสภาเขตและสมาชิกสภาเขตให้มีความชัดเจน
รวมถึงต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ แผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ
เกี่ยวกับประเด็นปัญหาในเชิงพื้นที่ที่มีความหลากหลาย
เพื่อให้การบริหารราชการกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และกรุงเทพมหานครมีข้อสังเกตว่า ควรยกเลิกสภาเขต เนื่องจากการเลือกตั้งที่ผ่านมามีผู้ไปใช้สิทธิลงคะแนนค่อนข้างน้อย
สมาชิกสภาเขตส่วนใหญ่สังกัดพรรคการเมือง จึงเป็นอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่
ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ไม่รู้จักสมาชิกสภาเขต และเหตุแห่งที่มา อำนาจหน้าที่
และสิทธิประโยชน์ระหว่างผู้แทนประชาคมเขตและสมาชิกสภาเขตมีความแตกต่างกัน
รวมทั้งกรุงเทพมหานครมีสภากรุงเทพมหานครทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารและพิจารณางบประมาณประจำปีอยู่แล้ว
จึงไม่จำเป็นต้องมีสมาชิกสภาเขตเข้ามาทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกันอีก
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
228 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปตามร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา | สว. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง
การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปตามร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว สรุปว่า เห็นด้วยกับการให้มีระบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒ ระดับ คือ
ระดับจังหวัด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และระดับพื้นที่ ได้แก่ เทศบาล
โดยควรเปลี่ยนแปลงองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นเทศบาลทั้งหมด
เพื่อให้มีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้
ในส่วนการรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้คำนึงถึงพื้นที่ในเขตตำบลเป็นลำดับแรก
โดยให้มี ๑ ตำบล ๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การกำหนดเงื่อนไขในการรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรคำนึงถึงจำนวนประชากรและรายได้
และเจตนารมณ์ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ด้วยเช่นเดียวกับกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน
และการแก้ไขปัญหาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กมีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดทำบริการสาธารณะไม่มีประสิทธิภาพ
อาจใช้แนวทางการร่วมมือกันจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยควรแบ่งตามเกณฑ์ประชากรเพื่อให้มีจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นสอดคล้องกับจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่และสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
ควรกำหนดหน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ครอบคลุมเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศและลดความซ้ำซ้อนของอำนาจหน้าที่ที่กำหนดสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่าง
ๆ ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกฎหมายอื่น ควรพัฒนาปรับปรุงหรือกำหนดระเบียบว่าด้วยการคลัง
การเงิน การพัสดุ
และการจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินให้เป็นมาตรฐานและสอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติของภาครัฐ
ควรกำหนดให้มีการส่งเสริมการดำเนินการสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ควรกำหนดให้ประชาคมท้องถิ่นในพื้นที่มีอำนาจหน้าที่ เช่น ให้ข้อคิดเห็น
ข้อเสนอแนะหรือคำปรึกษาในการจัดทำแผนงาน งบประมาณการอนุรักษ์ ฟื้นฟู
หรือส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานและการอื่นใดเพื่อพัฒนา
ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
229 | รายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | กค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานการเงินแผ่นดิน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน
งบกระแสเงินสด และรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
230 | การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี | นร.04 | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
ดังนี้ ๑. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๗๘/๒๕๖๕ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๕ ๒. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๘๖/๒๕๖๕ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ
ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ ๓. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๘๗/๒๕๖๕ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ
และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๖
เมษายน ๒๕๖๕
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
231 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 7/2565 | นร.04 | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019
(โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ เมษายน
๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ (๑)
รายงานสถานการณ์และแนวโน้มการแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ (๒) รับทราบแนวทางการรักษาและการให้ยาแก่ผู้ป่วยโควิด-19
รวมทั้งการจัดการผู้ป่วยในกลุ่มเด็ก (๓) รับทราบความก้าวหน้าการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19
ในประเทศไทย (๔) การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการป้องกันควบคุมโรคแบบบูรณาการ
(๕) การปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร (๖) การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขสำหรับการเปิดภาคเรียนในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๕ (๗) แผนการให้บริการวัคซีนเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ และ (๘) ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
232 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข) | กค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข) มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ ๒
เท่าของจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค
สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร ให้แก่มูลนิธิต่าง ๆ
รวม ๖ แห่ง ได้แก่ (๑) มูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช (๒) มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี
(๓) มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า (๔) มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (๕)
มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ (๖)
มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กองทัพเรือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
และยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า
หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่มูลนิธิดังกล่าวที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานการณ์
ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
ตลอดจนติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการ ๒๗
ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และกฎหมายอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
233 | รายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2564 | นร.12 | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานการถอดบทเรียนการดำเนินการของส่วนราชการและจังหวัดในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ โดยเป็นการสรุปบทเรียนในการบริหารจัดการผลกระทบจากโควิด-๑๙
ในภาพรวมของส่วนราชการและจังหวัด
ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและให้บริการประชาชนได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพหากเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ เช่น
การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลเพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐในการให้บริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มบริการแบบเบ็ดเสร็จ
และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการทำธุรกรรมกับภาครัฐ
การจัดทำและทบทวนแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบ การให้บริการผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ๒.
เห็นชอบข้อเสนอแนะการบริหารงานและการให้บริการประชาชนกรณีเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคต
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้สำนักงาน
ก.พ.ร. ติดตามความคืบหน้าและรายงานต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
234 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา | สว. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง
การขับเคลื่อนเกษตรกรปราดเปรือง (Smart Farmer) ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี ของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยเห็นชอบกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า
ควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart
Farmer) เพื่อให้มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและต่อเนื่อง
ไม่ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของกลุ่มเป้าหมาย
อันเป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมของแต่ละแผนงานหรือโครงการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ควรให้ความสำคัญกับเกษตรกรที่เป็นผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น
จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือสื่อสาร
เพิ่มกิจกรรมศึกษาดูงานนอกพื้นที่ให้เกษตรกร เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการที่จะนำความรู้ปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง
และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายศูนย์บ่มเพาะในแต่ละจังหวัดอย่างต่อเนื่อง
และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์หรือเงินทุนให้กับศูนย์บ่มเพาะของ Young Smart
Farmer รวมทั้งควรหาตลาดเพื่อรองรับสินค้าให้กับเกษตรกร
อันเป็นการเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้า เช่น ตลาดสินค้าออนไลน์
พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำตลาดออนไลน์
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
235 | การขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์และเงื่อนไขในโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษา เพื่อพัฒนาผู้มีอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | รจภ. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมายุ ๖๐ พรรษา
เพื่อพัฒนาผู้มีอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๓ โครงการย่อย
ตามที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เสนอ ดังนี้ ๑.๑ โครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อพัฒนาอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ต่างประเทศ ขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์
เป็นเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ จำนวน
๒ คนต่อปี ให้มีสมรรถนะระดับสูงด้านการวิจัย
และการสร้างนวัตกรรม/เทคโนโลยีเพื่อไปศึกษาหลักสูตรสองปริญญาเอกข้ามสถาบัน (Dual
Degree Program) และสามารถสร้างเครือข่ายการทำวิจัยหลังจากจบการศึกษาเพื่อรักษาระดับคุณภาพงานวิจัยต่อไป
และขอเปลี่ยนแปลงระยะเวลาศึกษา จากตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๗๐
เป็นตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๒ ๑.๒ โครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ
เพื่อส่งเสริมนักวิจัย
และอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการไปทำวิจัยหลังปริญญาเอก
ขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ เป็นเพื่อส่งเสริมการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าให้เข้ามาทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
(Postdoctoral Research) และขอเปลี่ยนแปลงระยะเวลาศึกษา
จากตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๗ เป็นตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๙ ๑.๓
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชดใช้ทุนของโครงการตามข้อ ๑.๑ และ ๑.๒
และโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ
เพื่อผลิตนักวิทยาศาสตร์ผู้มีอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
(หลักสูตรนานาชาติ) โดยตัดเงื่อนไขการชดใช้ทุนออก เพื่อให้มีสถานะเป็นทุนแบบให้เปล่า
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
236 | รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 | มท. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
กรมโยธาธิการและผังเมือง สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ ประกอบด้วย
งบแสดงฐานะการเงิน และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินแล้ว โดยมีความเห็นว่า
ผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของกองทุนดังกล่าวถูกต้องในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังประกาศใช้
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
237 | ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 | พน. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า
(Transmission System Improvement
Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่
ระยะที่ ๓ (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) และอนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ และปี พ.ศ. ๒๕๖๕ สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๒๗/๑๘๙๓๙ ลงวันที่๑๕ กันยายน ๒๕๖๔)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่
สกพ ๕๕๐๑/๐๐๓๖ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔) เช่น
ควรศึกษาและพิจารณาแนวทางการดำเนินการไม่ให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศ
ควรกำหนดมาตรการบริหารจัดการเงินและการลงทุนให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเร็วเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ตามแผนงานที่วางไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงพลังงานกำกับการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า
และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ระยะที่ ๓
ให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของโครงการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อมิให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการเพิ่มเติม
ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนของทั้งสองโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
238 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ของรัฐสภา | สผ. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด
พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ของรัฐสภา โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาและปรับลดอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทน
รวมถึงการยกเลิกการจ่ายเงินค่าตอบแทนในหลายกรณี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่
และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓
โดยยังคงให้มีการจ่ายค่าตอบแทนเฉพาะในส่วนที่มีความจำเป็นเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสืบสวนปราบปรามเท่านั้น
ประกอบกับอัตราการจ่ายและเพดานการจ่ายในปัจจุบันมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
239 | การขอเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) | นร.08 | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอดังนี้ ๑.
รับทราบการเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อดำเนินการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่
๕ (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) ระหว่างบ้านดอนยม ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย
กับ บ้านก้วยอุดม เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งนี้
เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดจะต้องปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวทันที ๒.
มอบให้กระทรวงคมนาคมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำเงื่อนไขข้อกำหนด
และการควบคุมดูแลไม่ให้มีผลกระทบในด้านต่าง ๆ ๓.
การดำเนินการใด ๆ จะต้องระมัดระวังมิให้เกิดความเสียหายและผลกระทบต่อความมั่นคง
โดยต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๒ เรื่อง
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการก่อสร้างถนนหรือกระทำกิจการใด ๆ ตามบริเวณชายแดน
และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เรื่อง การระงับการก่อสร้างถนนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม
จังหวัดสุรินทร์อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและจัดเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขง
เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างสะพาน
และหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากประเทศที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงร่วมกัน
ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 อย่างเคร่งครัด ควรกำหนดช่วงเวลาเปิด-ปิดจุดผ่านแดนชั่วคราว ในแต่ละวัน รวมทั้งกำหนดประเภทของยานพาหนะ เครื่องจักร/อุปกรณ์
บุคคลเข้าออก และจำกัดอาณาเขตพื้นที่การข้ามแดนให้ชัดเจน
และเร่งรัดการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๕ (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)
ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
240 | ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||