ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 11 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 201 - 220 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
201 | การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 10 ในรูปแบบ face-to-face | ทส. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
202 | การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (นายศักดา เนติพัฒน์ และนายจักร บุญ-หลง) | สธ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายศักดา เนติพัฒน์ เป็นกรรมการผู้แทนชุมชน
และ นายจักร บุญ-หลง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว แทนกรรมการผู้แทนชุมชนเดิมที่ขอลาออก และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
ตามลำดับ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
203 | ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้น้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์ม และน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติ ตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้าและนำผ่าน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | พณ. | 30/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้น้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์ม
และน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติ
ตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้าและนำผ่าน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้น้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้าและนำผ่าน
พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยเพิ่มบทนิยามคำว่า “หนังสือรับรอง”
เพื่อใช้รับรองการนำผ่านสินค้าน้ำมันปาล์ม (น้ำมันปาล์มเพื่อใช้บริโภค)
และแฟรกชันของน้ำมันปาล์ม (การแยกส่วนโดยใช้วิธีให้ความร้อนแก่น้ำมันปาล์ม สามารถนำไปใช้ประกอบการทำอาหาร
หรือสบู่) และกำหนดค่าน้ำมันผ่านน้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์มโดยเริ่มต้นที่ด่านศุลกากรสะเดาและสิ้นสุดที่ด่านศุลกากรหนองคาย
เพื่อนำผ่านไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
204 | รายงานความก้าวหน้าของมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี พ.ศ. 2561 - 2570 | อก. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความก้าวหน้าของมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย
ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๗๐ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ ถึงปัจจุบัน
และสรุปประเด็นปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินงานภายใต้มาตรการฯ
ประกอบด้วย
มาตรการขจัดอุปสรรคการลงทุนและสร้างปัจจัยการสนับสนุนมาตรการเร่งรัดการลงทุนภายในประเทศ
มาตรการกระตุ้นอุปสงค์และมาตรการสร้างเครือข่ายในรูปแบบของศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านชีวภาพ
และ (๒) ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงาน เช่น
การกระตุ้นการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพยังไม่สามารถผลักดันให้เกิดผลในวงกว้างได้มากเท่าที่ควร
การลงทุนของภาคเอกชนไม่เป็นไปตามแผนการเนื่องจากสถานการณ์โควิด-๑๙ ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ที่ไม่เอื้อต่อการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพในประเทศ
และปริมาณเม็ดพลาสติกชีวภาพที่ผลิตทั่วไปทำให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่มีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมชีวภาพ
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
205 | การแก้ไขภาคผนวก 2 (กฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้า) เรื่อง การปรับโอนพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ จากฉบับปี 2002 เป็นฉบับปี 2017 ของกฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) | พณ. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้การแก้ไขภาคผนวก ๒ (กฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้า) เรื่อง
การปรับโอนพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ จากฉบับปี ๒๐๐๒ เป็นฉบับปี ๒๐๑๗ ของกฏถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น
(ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership : AJCEP) เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์สามารถร่วมให้การรับรองการแก้ไขดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมการร่วมภายใต้ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น
(AJCEP-JC) ครั้งที่ ๒๐
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้ภาคผนวก ๒
(กฏถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า) พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ฉบับปี ๒๐๑๗
ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) มีผลใช้บังคับภายในประเทศต่อไป
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ๒.
ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น กรมศุลกากร
ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบควรเร่งแก้ไขระเบียบภายในที่เกี่ยวข้องเพื่อให้กฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายการตามระบบฮาร์โมไนซ์ฉบับปี
๒๐๑๗ ภายใต้ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)
สามารถบังคับใช้ได้ทันท่วงทีภายหลังจากคณะกรรมการร่วมภายใต้ความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น
(AJCEP-JC) ได้ให้ความเห็นชอบการปรับโอนดังกล่าวแล้ว เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
206 | ขอความเห็นชอบชะลอการบริจาคเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านยาเสพติดระหว่างอาเซียนกับจีน (ASEAN and China Cooperative Operations in Response to Dangerous Drugs : ACCORD) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป | ยธ. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบชะลอการบริจาคเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านยาเสพติดระหว่างอาเซียนกับจีน
(ASEAN and China Cooperative Operations in Response to Dangerous
Drugs : ACCORD) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
207 | การอนุมัติชำระเงินค่าบำรุงประจำปีแก่ศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงาน IMT - GT (CIMT) ประจำปี 2566 - 2570 | นร.11 สศช | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติชำระเงินค่าบำรุงประจำปีแก่ศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงาน
IMT-GT (Centre for Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : CIMT)
(ศูนย์ CIMT) ประจำปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ จำนวนเงินปีละ
๑๖๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา รวม ๕ ปี เป็นจำนวนเงิน ๘๒๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ประมาณ ๒๘.๔๙๘ ล้านบาท) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับค่าบำรุงประจำปี
๒๕๖๗-๒๕๗๐ ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
208 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
209 | โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 - 9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ ๘-๙
ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา ๖๐๐ เมกะวัตต์ พร้อมระบบส่งไฟฟ้า
ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔๗,๔๗๐ ล้านบาท ๑.๒ อนุมัติงบประมาณประจำปี ๒๕๖๕ ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่
๘-๙ จำนวนเงินทั้งสิ้น ๓,๗๙๕ ล้านบาท ๒.
ให้กระทรวงพลังงานและ กฟผ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น (๑)
การดำเนินโครงการฯ
ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างแผนพลังงานแห่งชาติซึ่งสนับสนุนให้ไทยสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
(๒) กฟผ. ควรจัดทำรายงานการติดตามและประเมินผลการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เพื่อชี้แจงให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ (๓) กฟผ.
ควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่าตามมาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ และ (๔) กระทรวงพลังงานควรกำกับดูแลให้ กฟผ.
ดำเนินโครงการฯ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้มีการขอปรับเพิ่มเงินลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการในภายหลัง
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
210 | การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร | นร.08 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ๒. เห็นชอบและรับทราบร่างประกาศ ดังนี้ ๒.๑
เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
(คราวที่ ๑๘) และร่างประกาศ เรื่อง
การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ๒.๒
รับทราบร่างประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ รวม ๓ ฉบับ
ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
211 | แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.14 | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ และใช้พิจารณาในการจัดทำงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามนัยมาตรา
๑๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมภิบาลให้ถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้ง พิจารณากลั่นกรองและจัดลำดับความสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกับกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปีต่อไปด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
212 | การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน | นร. | 17/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีพิจารณาเห็นว่า
เพื่อเป็นการยกระดับการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้นและสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐
ที่บัญญัติให้ปรับปรุงการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งพิจารณาทบทวนและปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ
๕ ประการ (๑ ความสามารถในการสื่อสาร ๒. การคิด ๓. การแก้ปัญหา ๔. การใช้ทักษะชีวิต
และ ๕. การใช้เทคโนโลยี) เช่น
การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นกระบวนการ ทักษะ
คุณลักษณะของผู้เรียนด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) การมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข
การพัฒนาสมรรถนะของครูในการถ่ายทอดความรู้และการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย
เหมาะสมกับนักเรียน และบริบทของท้องถิ่น
ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสมและทันสมัยเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
213 | รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกลไกเครดิตร่วม JCM ภายใต้ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น (Joint Crediting Mechanism : JCM) | ทส. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกลไกเครดิตร่วม JCM ภายใต้ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างประเทศไทย
และประเทศญี่ปุ่น (Joint Crediting Mechanism : JCM)
ซึ่งมีผลการดำเนินการ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ (ครั้งที่ ๖) สรุปได้ ดังนี้ (๑)
สนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงการต้นแบบ
ญี่ปุ่นได้ให้เงินทุนสนับสนุนในการพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM จำนวน
๔๐ โครงการ คิดเป็นมูลค่า ๒,๓๙๓ ล้านบาท และบริษัทเอกชนไทย
๓๔ แห่ง เป็นหน่วยงานผู้รับทุน โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ
๒๐๘,๗๗๗ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และ (๒)
สถานภาพการดำเนินโครงการ โครงการต้นแบบ JCM ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว
๘ โครงการ ซึ่งมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ ๔๙,๘๕๙ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
และมีโครงการที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิต ๕ โครงการ
มีปริมาณคาร์บอนเครดิตเท่ากับ ๔,๐๓๒ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
214 | ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
215 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
(กบส.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กบส. ครั้งที่
๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๕ และรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอ กบส. ตามขั้นตอนต่อไป
สรุปได้ ดังนี้ (๑) ความก้าวหน้าระบบโลจิสติกส์ของไทย เช่น การพัฒนาระบบ National Single Window ซึ่งสามารถเชื่อมโยงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์กับสมาชิกอาเซียนได้ทุกประเทศ
(๒) ความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีนและ
สปป.ลาว เช่น การบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
การก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ (๓)
แนวทางการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในการขนส่งสินค้า ซึ่ง กบส.
เห็นชอบในหลักการข้อเสนอการเปิดให้เอกชนดำเนินการขนส่งซึ่งไม่ใช่สินค้าของตนเองทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ
เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรถไฟมากขึ้น (๔) การชะลอการบังคับให้เรือชายฝั่งที่รับตู้สินค้าขาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังดำเนินการบรรทุกตู้สินค้าลงเรือที่ท่าเทียบเรือชายฝั่ง
(ท่าเทียบเรือ A) กบส. มีมติมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ทบทวนการขออนุญาตตามประกาศการท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้มีความชัดเจนและเหมาะสม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศเสนอ
และให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ที่ประชุมร่วมไตรภาคี
ไทย-ลาว-จีน เร่งรัดเจรจาให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม
๒๕๔๒ เรื่อง ผลกระทบจากการก่อสร้างถนนเลียบแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย บริเวณอำเภอเบตง
จังหวัดยะลา และวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เรื่อง
การระงับการก่อสร้างถนนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์
อย่างเคร่งครัด
เร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
รองรับประมาณการนำเข้า ส่งออกสินค้าและการเดินทางจากการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน
และ สปป. ลาว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
216 | การดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย | นร.13 | 10/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
217 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... | มท. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง
เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์
แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนเทพารักษ์ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
218 | รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564) | นร.11 สศช | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา
๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ ๑๔ (เดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๔) สรุปได้ ดังนี้ (๑) ความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม
๒๕๖๔ เช่น รายงานความคืบหน้าของกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งมีความคืบหน้าทั้ง ๑๓ ด้าน
โดยมีสถานะการดำเนินการกิจกรรม Big Rock รวมทั้งสิ้น ๖๒
กิจกรรม ประกอบด้วย ๑) กิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผน รวม ๕๕ กิจกรรม และ ๒)
กิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน รวม ๗ กิจกรรม (๒)
ความคืบหน้ากฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ณ สิ้นเดือนธันวาคม
๒๕๖๔ รวมทั้งสิ้น ๔๕ กิจกรรม ประกอบด้วย กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ๒ ฉบับ
และกฎหมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ๔๓ ฉบับ (๓) ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ
เช่น การจัดทำคู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี แผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี
และแผนปฏิบัติราชการด้านต่าง ๆ
การจัดทำคู่มือโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ และ (๔)
การดำเนินการระยะต่อไป สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการการปฏิรูปประเทศ
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานร่วมดำเนินการกิจกรรม Big Rock เพื่อเร่งรัดขับการเคลื่อนการดำเนินการ การกำกับ
ติดตามการดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรม Big Rock โดยหน่วยรับผิดชอบโครงการต้องนำเข้าข้อมูลแผนงาน/โครงการในระบบ
eMENSCR ให้ครบถ้วน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
219 | ผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การปรับปรุงแบบฟอร์มการจดทะเบียนในหนังสือบริคณห์สนธิ ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง
การปรับปรุงแบบฟอร์มการจดทะเบียนในหนังสือบริคณห์สนธิ
ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร
สรุปผลการพิจารณาได้ว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้จัดทำแบบฟอร์มวัตถุประสงค์สำเร็จรูปในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการที่ขอจดทะเบียนโดยสามารถเลือกใช้แบบฟอร์มที่มีรายละเอียดวัตถุประสงค์ตรงกับกิจการของนิติบุคคล
ผลักดันให้มีการใช้ระบบการจดทะเบียนนิติบุคคลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) เพื่อเป็นการลดใช้กระดาษในการทำนิติกรรมต่าง
ๆ ให้น้อยลง (Paperless) และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๖๑
เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
220 | ขอความเห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565 | กษ. | 03/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๓-๒๕๖๕ ตามความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการประมงทะเลต่อเนื่องจากแผนฉบับเดิม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน
กระทรวงอุตสาหกรรมสำนักงบประมาณ และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เช่น
ควรเพิ่มประเด็นการปรับปรุงห่วงโซ่มูลค่าสู่การประมงพื้นบ้าน
และพิจารณาการแก้ไขปรับปรุงพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ควรมีแผนป้องกันกรณีมีการปนเปื้อนมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
ควรเพิ่มกิจกรรมการตรวจหาสารเสพติดในแรงงานประมงผ่านศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงในแผนการบริหารจัดการฯ
ระยะต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งจัดทำแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของไทยในระยะต่อไปเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันในปี
๒๕๖๖ โดยให้นำข้อสังเกตของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ไปพิจารณาประกอบการจัดทำแผนดังกล่าวด้วย |