ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | มาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจจากสถานการณ์ราคาพลังงาน | นร.11 สศช | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างศักยภาพเชิงสถาบันและเชิงเทคนิคเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใสภายใต้ความตกลงปารีส | ทส. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พ.ศ. .... | นร.09 | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กระทรวงการคลัง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ
โดยเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานจากสำนัก เป็นกอง
และปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้สอดคล้องกับภารกิจของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่เพิ่มมากขึ้น
เช่น ให้กองนโยบายการคลังมีหน้าที่เสนอแนะนโยบาย แผน
และมาตรการเกี่ยวกับการคลังภาครัฐโดยพิจารณาข้อมูลที่จะต้องดำเนินการของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
ทุนหมุนเวียน และหน่วยงานอื่นของรัฐ
และปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของกองนโยบายเศรษฐกิจมหาภาคในการจัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหาภาค
เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การบริหารจัดการเกิดประโยชน์สูงสุดในการเสนอนโยบายต่อกระทรวงการคลัง
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ และเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ๒.
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายสันติ พร้อมพัฒน์) รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑) ขอให้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา
กรณีการตรวจสอบพบแนวเขตที่ดินในความรับผิดชอบมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ภายหลังจากมติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
แล้ว รวมทั้งให้กรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนำไปปฏิรูปที่ดิน
เพื่อกันคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้ และ (๒) ให้หน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย
กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตรการส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) และแก้ไขปัญหา
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากแม่น้ำเทพา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ของกรมเจ้าท่า | คค. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากแม่น้ำเทพา
ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา วงเงิน ๙๐ ล้านบาท
และผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕-พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามนัยมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
การดำเนินการใด ๆ ในพื้นที่ป่า ให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในพื้นที่สำหรับการจัดทำแผนป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพาแล้วเสร็จ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
และปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนและผู้อยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพา
ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ให้ถูกต้อง ทั่วถึง
และต่อเนื่องด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | ร่างบันทึกความเข้าใจด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กับ The Cyberspace Administration of the People's Republic of China สาธารณรัฐประชาชนจีน | สกมช. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons - TPNW) ครั้งที่ 1 (First Meeting of States Parties – 1MSP) | นร.08 | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์
(Treaty on the
Prohibition of Nuclear Weapons-TPNW) ครั้งที่
๑ (First Meeting of States Parties-1MSP) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๑-๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ กรุงเวียนนา
สาธารณรัฐออสเตรีย
และเห็นชอบให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศในหัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมฯ
หรือผู้แทน ร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ โดยร่างปฏิญญาฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐภาคี
TPNW ในการร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการตามพันธกรณีของสนธิสัญญาฯ
แสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการทำให้สนธิสัญญาฯ บรรลุเป้าหมาย ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์
(Treaty on the Prohibition of Nuclear
Weapons-TPNW) ครั้งที่ ๑ (First
Meeting of States Parties-1MSP)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้คณะผู้แทนไทยดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | (ร่าง) ข้อเสนอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) ต่อที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) | กษ. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำปี 2564-2565 | นร.51 | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕
มีสาระสำคัญเพื่อป้องกัน ควบคุม แก้ไข
และฟื้นฟูสถานการณ์ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคลที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข
ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ
เสริมสร้างความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นกับประเทศ ให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข
มีความมั่นคง ปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน
เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่มีอยู่ปัจจุบันอย่างจริงจังให้หมดสิ้นไป
เป็นต้น ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเสนอ
และให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรรับข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงาน
ป.ป.ส. รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณากำหนดโครงการสำคัญในประเด็นที่สำคัญเร่งด่วน ควรกำหนดจุดมุ่งเน้นของแผนและบูรณาการการแก้ปัญหาในห้วงปี
๒๕๖๕ ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดภายใต้แผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประจำปี
๒๕๖๔-๒๕๖๕ ให้มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับแผนอื่น ๆ ที่กฎหมาย
ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย (เช่น
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ) โดยอาจพิจารณาปรับในส่วนของค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดที่เป็นโครงการสำคัญ
(Flagship Project) และเร่งด่วนเป็นลำดับแรก
ทั้งนี้
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
และวัดผลการดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกันต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 | กค. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | รายงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 | สม. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
ปี ๒๕๖๔ และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค
และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (๑)
ด้านสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์เฉพาะ (๒) ด้านสิทธิพลเมืองและด้านสิทธิทางการเมือง
(๓) ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (๔) ด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคล ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฏในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ฯ
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด
และนำข้อเสนอแนะในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติมากขึ้น
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป ๒. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม
และสำนักงานอัยการสูงสุดไปเพื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่) | กษ. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่
จำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดปราจีนบุรี จากเดิม ๑๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๕ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๗) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๙,๐๗๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา
จังหวัดเชียงใหม่ จากเดิม ๑๑ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๖ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๗๐) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐
บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
เร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดระยะเวลา ตามนัยข้อ ๗ (๒)
ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรพิจารณาผลกระทบสุขภาพที่เกิดขึ้นกับชุมชนที่เป็นผลมาจากการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ
ควรรายงานความคืบหน้าในการก่อสร้างเสนอคณะลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองและเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อทราบทุก
๖ เดือน ต่อไป ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างการรับรู้
และการมีส่วนร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. มอหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ประสานงานกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(องค์การมหาชน)
ศึกษาและพัฒนาเทคนิควิธีการสำรวจพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการชลประทานต่าง ๆ
ให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการให้ครบถ้วนรอบด้านในทุกมิติ
เพื่อมิให้เกิดปัญหาการดำเนินงานล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ของกรมทางหลวง | คค. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข
๗ ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ในวงเงินรวมทั้งสิ้น ๔,๕๐๘ ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ
และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ วงเงิน ๑๐๘ ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการดำเนินโครงการในกรอบวงเงิน รวม ๔,๕๐๘ ล้านบาท ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง)
ดำเนินการตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๒๐/๓๕๖๔ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕) และให้กระทรวงคมนาคม
(กรมทางหลวง) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรใช้เงินกู้ต่างประเทศในการดำเนินโครงการ
ให้กรมทางหลวงเร่งรัดการดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
และให้กรมทางหลวงเร่งแก้ไขรายงาน EIA เพื่อเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา/จัดทำ
ร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินฯ
ของที่ดินเอกชน/ดำเนินการขอใช้ที่ดินของรัฐ/สรรหาเอกชนไปพลางระหว่างรอผลการพิจารณารายงาน
EIA ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | การต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ | ดศ. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างหนังสือเห็นชอบการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างหนังสือเห็นชอบการต่ออายุบันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าว
โดยบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างไทย-ฟินแลนด์ในการพัฒนาด้านโทรคมนาคม.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุน
การพัฒนาด้านเทคนิค การขยายการตลาด
และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานของความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน (ร่าง) หนังสือเห็นชอบการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และเทคโนโลยีดิจิทัล
ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | รายงานความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) | อก. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่
๑ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๗๐) ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๗๐)
ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
และแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป สรุปได้ ดังนี้
(๑) ความคืบหน้าการดำเนินงานที่สำคัญในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ได้แก่ มาตรการที่ ๑ :
สร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ มาตรการที่ ๒ : สร้างมาตรการอาหารอนาคต มาตรการที่ ๓ : สร้างโอกาสทางธุรกิจ
มาตรการที่ ๔ :
สร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม (๒)
ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เช่น
รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคตยังเป็นสินค้าแปรรูปขั้นต้นซึ่งมีมูลค่าเพิ่มต่ำและมีสินค้าออกสู่ตลาดไม่มาก
รวมทั้งผู้ประกอบการยังขาดความเข้าใจถึงความสำคัญของการได้รับการรับรองมาตรฐานสากลต่าง
ๆ และ (๓) การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตาสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป
จะใช้กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา เช่น
พัฒนาผู้ประกอบการโดยมุ่งเน้นเรื่องระบบการตรวจสอบย้อนถึงแหล่งที่มาเพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับบริโภค
และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | การพิจารณาเพิ่มราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรไม่เกิน 30 วัน (ผ.30) | กต. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการเพิ่มราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรไม่เกิน
๓๐ วัน (ผ.๓๐)
โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกระทรวงมหาดไทย
ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประกาศหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าหน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องควรมีการตรวจสอบข้อมูลและติดตามอย่างใกล้ชิดต่อนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีอาระเบียที่มีพฤติกรรมต่อความมั่นคงที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศด้วย
ควรดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีอาระเบียเข้ามาในประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการกระจายรายได้ไปยังภูมิภาคต่าง
ๆ ควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย
ทั้งในมิติของความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการตลาดและมติการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวให้สอดรับกับพฤติกรรมการท่องเที่ยว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) | นร.08 | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ (ร่าง)
นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข
หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ
โดยให้หน่วยงานของรัฐนำไปถ่ายทอดและจัดทำแผนระดับที่ ๓
ที่จะเริ่มดำเนินการพร้อมกันในห้วงที่ ๒ ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ระหว่าง
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗๐ ได้อย่างสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในการจัดทำ
(ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ได้ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประชุม
การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ทางเว็บไซต์ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสาธารณสุข
เช่น
ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาที่แต่ละหน่วยงานยังคงจัดทำแผนงานตามภารกิจและบริหารงบประมาณและทรัพยากรของแต่ละหน่วยงานเอง
ควรมีการปรับถ้อยคำตัวชี้ววัดในบางรายการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการปรับปรุงในส่วนของนโยบายและแผนความมั่นคงที่
๖ การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง และนโยบายและแผนความมั่นคงที่ ๑๓
การบริหารจัดการความเสี่ยงโรคติดต่ออุบัติใหม่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | ร่างเอกสารผลลัพธ์การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | กต. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | ร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อก. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
โดยยกเว้นการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อย
(๓) และ (๔) ของข้อ ๘ แห่งระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ให้แก่สหกรณ์ที่มีฐานะเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยอยู่เดิมออกไปจนกว่าจะถึงฤดูการผลิตปี
๒๕๖๖/๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าขนย้าย (ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี | กษ. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้มีการจ่ายค่าขนย้าย
(ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ)
เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายกุมภวาปี
จังหวัดอุดรธานี ที่ยังไม่ได้รับเงินค่าขนย้าย จำนวน ๒๒๒ แปลง เนื้อที่ ๔,๔๘๓-๒-๙๗ ไร่
ตามหลักการของมติคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินเพื่อการชลประทานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ โครงการฝายกุมภวาปี
ที่กำหนดให้จ่ายเงินค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่ได้รับผลกระทบในเขตพื้นที่อ่างเก็บน้ำในอัตราราคาสูงสุดไร่ละ
๕๐,๐๐๐ บาท และราคาต่ำสุดไร่ละ ๑๐,๐๐๐
บาท สำหรับการช่วยเหลือในส่วนเพิ่มเพื่อให้เหมาะสมตามสถานะและสภาพของที่ดินนั้น
ให้ใช้แนวทางการพิจารณากำหนดจำนวนเงินตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณหรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรเป็นรายปีงบประมาณ
ตามความเหมาะสมเท่าที่จำเป็นแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าขนย้ายตามข้อ
๑ ให้รอบคอบ ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม
๒๕๖๔ (เรื่อง
แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล)
ที่เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยไม่ควรกำหนดให้คณะกรรมการที่จัดตั้งตามคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นทำงานปกติประจำ
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดวิธีการจ่ายเงินค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรตามหลักเกณฑ์และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าขนย้ายที่ถูกต้อง
ครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้รอบคอบและครบถ้วน
เพื่อให้การจ่ายเงินค่าขนย้ายทำได้ในครั้งเดียว และไม่เกิดปัญหาเช่นในโครงการอื่น
ๆ ที่ผ่านมา ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |