ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 326 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (1. นายเดชบุญ มาประเสริฐ ฯลฯ รวม 10 คน) | ทส. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
รวม ๑๐ คน ตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๓ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ ๑. นายเดชบุญ
มาประเสริฐ ประธานกรรมการ
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๒. รองศาสตราจารย์กำลัง
ชุมพลบัญชร กรรมการด้านสัตวแพทย์/เกษตร/สัตวบาล
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๓. นายสมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา กรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๔. รองศาสตราจารย์เจษฎ์ โทณะวณิก กรรมการด้านกฎหมาย ๕. นายภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ๖. นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ กรรมการด้านต่างประเทศ
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ จำรัสจรุงผล กรรมการด้านสถาปัตยกรรม/วิศวกรรม ๘. นายมณเฑียร อินทร์น้อย กรรมการด้านการบริหารจัดการองค์กร/การบริหาร
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ)
ทรัพยากรบุคคล ๙. นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ กรรมการผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๑๐. นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์ กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการรถไฟแห่งประเทศไทย และรายงานผลการให้บริการสาธารณะ ประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2565 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การดำเนินการตามข้อสังเกต (Concluding Observations) ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ต่อรายงานประเทศฉบับที่ 4-8 ของประเทศไทย | ยธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบข้อสังเกต
(Concluding Observations)
ของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
ต่อรายงานประเทศฉบับที่ ๔-๘ ของประเทศไทย
และตารางหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ
และพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการสหประชาชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่เห็นว่าการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สามารถเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันคนในสังคมให้หลีกเลี่ยงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์และโซเซียลมีเดียในทางที่ผิด
หรือนำมาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ Hate Speech และ Hate
Crime ทางเชื้อชาติได้ และในประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)
ประเด็นที่ดิน อาณาเขต และทรัพยากรของกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ๒)
ประเด็นการค้ามนุษย์ และ ๓) ประเด็นย่อหน้าที่มีความสำคัญเป็นการเฉพาะ
พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นแรงงานข้ามชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... | นร.09 | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | แผนปฏิบัติการการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | พน. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างกฎหมายขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวม 2 ฉบับ [ร่างพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ) และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน)] | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ)
มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตในประเทศตามโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๗๐ และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน)
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา
และขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับเงินที่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้บริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Donation)
ของกรมสรรพากรให้แก่กรมป่าไม้
เพื่อสนับสนุนโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้
และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษี
เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ร่วมทั้งรวมติดตามและประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการนี้ เช่น
มูลค่าเงินลงทุนของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ
มูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง
และปริมาณกักเก็บคาร์บอนที่ได้
และนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังเป็นรายปีจนสิ้นสุดมาตรการเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับจากการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เห็นควรครอบคลุมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดรองด้วย
เพื่อให้เกิดการสร้างแรงจูงใจที่ครอบคลุมภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกดังกล่าว
ส่งเสริมให้ตลาดมีสภาพคล่องมากยิ่งขึ้นอันจะผลักดันให้คาร์บอนเครดิตมีมูลค่าสูงขึ้น
และส่งผลให้เกิดการพัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน รายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงดังกล่าว
จนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จตามนัยมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 | อก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
(กอช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ในฐานะรองประธาน กอช. เป็นประธานการประชุม
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติที่ประชุม กอช. ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน
และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี ๒๕๗๐ โดยมีแนวทางดำเนินงาน ๓ มาตรการหลัก
ได้แก่ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิม
กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และสร้างและพัฒนาระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ๒)
(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียนภายใน ๕ ปี
มีแนวทางดำเนินงาน ๔ มาตรการหลัก ได้แก่
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง
ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการตลาด
และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ และ ๓)
การส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
มีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ
๕ ปี (๒๕๖๖-๒๕๗๐)
จัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เข่น ควรคำนึงถึงความยั่งยืนในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจรเพื่อเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในภาคเกษตร
อุตสาหกรรมและบริการ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ และกฎระเบียบอย่างอื่นอย่างเคร่งครัด
ควรติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม กอช. เพื่อเสนอต่อ กอช.
และคณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ การพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ควรให้ความสำคัญกับความต้องการของตลาดเป็นหลักจึงจะสามารถรองรับความผันผวนของราคาได้
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
มีสาระสำคัญเป็นการรายงานสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ที่มีมติอนุมัติร่างแผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ซึ่งเป็นการดำเนินการในกรอบหน้าที่และอำนาจของ กพอ. ตามมาตรา ๑๑ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เป็นหลักในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด่วนที่สุด
ที่ นร ๑๑๑๐/๕๐๙๘ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕) เช่น
ในการชดเชยผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเดิมควรตระหนักถึงหลักเกณฑ์การชดเชยที่มีความเป็นธรรมต่อผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินให้มากที่สุด
ควรเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการฯ
เห็นควรให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๖
โดยดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์) | นร.14 | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒ ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน | กค. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบและรับทราบมาตรการและการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่พ.ศ.
๒๕๖๖ ให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
เห็นชอบ ๓.๑
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ๓.๒
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
พ.ศ. .... ๓.๓
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายห้องชุดเพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
พ.ศ. …. ๓.๔
ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๓.๕
ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ใบอนุญาตขายยาสูบ และใบอนุญาตขายไพ่
ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....รวม ๕ ฉบับ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๔.
การจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี
๒๕๖๖ ให้เป็นไปตามความเห็นสำนักงบประมาณ ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งความโปร่งใสในการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐ
และประชาชนเป็นสำคัญ ควรกำหนดมาตรการที่ชัดเจน เพื่อให้ อปท. มีรายได้เพียงพอสำหรับการจัดบริการสาธารณะและการลงทุนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในระยะต่อไป
นอกเหนือจากการลดอัตราภาษีน้ำมันแล้ว
ภาครัฐควรเร่งดำเนินมาตรการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้กลับมาอยู่ในระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
โดยเร็ว และให้หน่วยงานผู้ดำเนินโครงการให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงต่อไป
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจังหวัดนนบุรีให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย
มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีมีการพัฒนาบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน
และมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการผลิต การค้า การบริการและการลงทุน
ตลอดจนดำรงรักษาพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
โดยมีแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาจังหวัดนนทบุรีให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวม จำแนกออกเป็น ๑๔
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไห้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติกฎหมาย
กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงกฎ ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการตั้งสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
ประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... ฉบับนี้ ลำดับที่ ๓๔ (๒)
ให้พิจารณากำหนดให้ตั้งในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขาพของประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | รายงานประจำปี 2564 ของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ | กห. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี
๒๕๖๔ ของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ประกอบด้วย ผลการดำเนินงาน
รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว เห็นว่า
ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ | พน. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ขยายระยะเวลาโครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย
ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อไปในเดือนมกราคม ๒๕๖๖ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ทั้งนี้
ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี
๒๕๖๕ ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มให้สิทธิ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
พิจารณากำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากราคาพลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปในภาพรวม
รวมถึงเร่งศึกษาการกำหนดมาตรการระยะยาว และพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการราคา LNG ในประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | แผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 (พ.ศ. 2564-2568) | กต. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ (๑)
ผลการเข้าร่วมการรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศตามกลไก Universal
Periodic Review (UPR) รอบที่ ๓
ในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human
Rights Council-UNHCR) สมัยที่ ๔๙ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕
ซึ่งคณะผู้แทนถาวรไทย ณ นครเจนีวา ได้ร่วมรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ และแจ้งตอบรับข้อเสนอแนะภายใต้กลไก
UPR เพิ่มอีก ๒๕ ข้อ
(จากเดิมที่ได้ตอบรับไว้แล้วในที่ประชุมคณะทำงาน UPR สมัยที่
๓๙ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ จำนวน ๑๙๓ ข้อ และขอนำกลับมาพิจารณาเพิ่มเติม ๘๕
ข้อ) รวมเป็น ๒๑๘ ข้อ และรับทราบ (ไม่ตอบรับ) ข้อเสนอแนะ ๖๐ ข้อ รวมทั้งได้ให้คำมั่นโดยสมัครใจรวม
๘ ข้อ และ (๒) ผลการดำเนินการภายหลังการรับรองผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ
ซึ่งรวมถึงการยกร่างแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก
UPR รอบที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๘) และเห็นชอบร่างแผนการปฏิบัติตามฯ
พร้อมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนการปฏิบัติตามดังกล่าวไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาปรับกรอบระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมตามร่างแผนการปฏิบัติตามฯ
ให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริง รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น
การกำหนดให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหน่วยงานรองในการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง
ๆ ในการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-๑๙
(ศบค.) นั้น ปัจจุบันการปฏิบัติภารกิจของ ศบค. ได้ยุติลงแล้ว เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | วาระแห่งชาติ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ | พม. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประสานหน่วยงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นำแผนปฏิบัติการดังกล่าวไปขับเคลื่อนการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของกระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรให้มีการประชาสัมพันธ์ และการจัดโครงการ/กิจกรรมในการเสริมสร้างความรู้
เพื่อให้ปลอดภัยจากความรุนแรงทางเพศ/การข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ ในพื้นที่สาธารณะ
นอกจากนี้มาตรการในการลงโทษผู้กระทำผิดในเรื่องดังกล่าว
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐ ควรมีบทลงโทษที่เด็ดขาด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา
ควรนำเรื่อง หรือวาระฯ ดังกล่าว
ให้เป็นแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรม
โดยวางแผนพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน
ให้มีการสร้างความตระหนักถึงการเคารพและให้เกียรติแก่เพศตรงข้าม
หรือพัฒนา/ปรังปรุงให้มีการเรียนการสอน ในด้านการป้องกันตัวหากเกิดเหตุร้ายแรง
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ควรกำหนดตัวชี้วัดเพิ่มในกลยุทธ์ที่ ๑
เรื่องการวัดค่านิยมทางบวกของประชาชนเพื่อลดความรุนแรงทางเพศ
การใช้เครื่องมือรูปแบบ Soft Power จากสื่อบันเทิงเสริมแรงกระตุ้นการปรับเปลี่ยนมายาคติให้เกิดกระแสและค่าความนิยมที่ดี
การกำหนดเรื่องใดเป็นวาระแห่งชาติหากยังเกิดเหตุขึ้นอีกก็จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาในมิติที่อาจได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย
และในการเสนอให้เพิ่มบทคำนิยามและการเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบโดยคำนึงถึงมาตรการที่มีอยู่แล้วในกฎหมายปัจจุบันเพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่นหรือซ้ำซ้อนกันด้วย
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙
สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๘๐
เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายการดำเนินงานด้าวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
และรับทราบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของประเทศ ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง)
นโยบายการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อเป็นกรอบนโยบายในการจัดสร้างหรือการบริหารจัดการดาวเทียม
และการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมของรัฐ เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานรัฐ และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติที่เหมาะสมที่สุดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยให้รับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางประกอบการพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายและพันธกรณีต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ
จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เช่น
(๑) ให้เร่งรัดดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเกิดผลสำเร็จ
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป (๒) เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว
หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ แล้วแต่กรณี
โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง | คค. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข ๘๒ สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว
สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
โดยโครงการร่วมลงทุน O&M
มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดบนทางหลวงหมายเลข ๓๕
(ถนนพระราม ๒) โดยเฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น
เพิ่มโครงการถนนสายหลักในพื้นที่ตอนล่างของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง
ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวง และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒
รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ กค
๐๘๒๐.๑/๔๗๗๐ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น ให้กรมทางหลวงพิจารณาแนวทางการเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันและกำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
และให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....] | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
(Government Big Data Institute : GBDI)
หน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Big
Data Institute : NBDI) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน วิเคราะห์
และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขชื่อหน่วยงาน ตัดคำว่า
“คลัง” และ “แห่งชาติ” ออก เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
ตลอดจนมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่กำหนดว่า
“ไม่ควรใช้คำว่า “แห่งชาติ”
ในการกำหนดชื่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกรัฐ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำหน้าที่ในฐานะ “แห่งชาติ” อยู่แล้ว” และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เช่น การกู้ยืมเงินของ NDBI ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยจะต้องยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาปรับเปลี่ยนองค์กรรูปแบบใหม่
เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้ง NDBI ครบ ๒ ปี เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการดำเนินโครงการหลวง จำนวน 39 โครงการ | ทส. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรี
เพื่อดำเนินโครงการหลวง จำนวน ๓๙ โครงการ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ดังนี้
๑.๑ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ต้นน้ำชั้นที่
๑
๑.๒ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ และวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๕
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม
(โซนซี)
๑.๓ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๘ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๙
และวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ บี และลุ่มน้ำชั้นที่ ๒ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น (๑)
การดำเนินกิจกรรมของโครงการหลวงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ต้นน้ำและทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์
(๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
๒๐ ปี ด้วย ตัวอย่างเช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศทั้งลุ่มน้ำ
และ (๓) หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ.2564-2570 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570 และ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 | อว. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (แผนด้านการอุดมศึกษาฯ) และ (ร่าง)
แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
เป็นแผนภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ (แผนด้าน ววน.) จัดทำขึ้นเพื่อใช้ทดแทนนโยบายและยุทธศาสตร์เดิม
โดยกำหนดให้มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดในช่วงเวลาเดียวกัน ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
๑.๑ แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ประกอบด้วย ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) พัฒนาศักยภาพคน (Capacity Building) (๒) ส่งเสริมระบบนิเวศวิจัยอุดมศึกษา (Research Ecosystem
Building) (๓) จัดระบบอุดมศึกษาใหม่ (Higher Education
Transformation) และมีการขับเคลื่อนสำคัญกำหนดเป็น ๗ นโยบายหลัก (Flagship
Policies) และ ๓ กลไกหลัก (Flagship Mechanisms) ตามความสำคัญเร่งด่วน เช่น กำลังคนระดับสูงที่มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมและบริการใหม่แห่งอนาคตเพิ่มขึ้น
การรองรับสังคมสูงวัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยสมบูรณ์
การยกระดับฐานข้อมูลระบบอุดมศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ มีเสถียรภาพ
เป็นต้น
๑.๒ (ร่าง) แผนด้าน ววน. พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่
(๑) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (๒)
การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทาย
และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์
การวิจัยและนวัตกรรม (๓) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุคเพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต
และ (๔) การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน
โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ๒. ให้สภานโยบายการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงวัฒนธรรม รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข
เช่น แผนด้านการอุดมศึกษาฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ควรมีความสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ และควรมีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐในการพัฒนานวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินงาน
และติดตามความก้าวหน้าให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามห้วงระยะเวลาที่กำหนดด้วย |