ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานประจำปี 2565 ของกองทุนการออมแห่งชาติ | กค. | 23/08/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของกองทุนการออมแห่งชาติ
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
ของ กอช. พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เพิ่มจำนวนสมาชิกอย่างทั่วถึงและส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ที่ ๒
มุ่งบริหารเงินลงทุนและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ ยุทธศาสตร์ที่ ๓
ถ่ายทอดค่านิยมสังคมการออมด้วยภาพลักษณ์ที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล และยุทธศาสตร์ที่ ๔
มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง (๒)
แผนการดำเนินงานในปี ๒๕๖๖ จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของ กอช. ระยะ ๕ ปี (พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐) ภายใต้กรอบวงเงินคำของบประมาณที่เสนอขอรับการจัดสรรจำนวน ๑,๒๑๒.๘๙๕๑ ล้านบาท และเป้าหมายสมาชิกสะสมเป็น ๒.๕๔ ล้านคน (๓)
รายงานการกำกับดูแลกิจการ ประจำปี ๒๕๖๕ โดยคณะกรรมการ กอช.
ได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการของ กอช. เช่น
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของ กอช. (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และแผนปฏิบัติการประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายขององค์กร การดำเนินการตามหลักในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล
๘ ประการ ดำเนินการตามนโยบายการลงทุน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุน (Investment
Policy and Guideline) ที่คณะกรรมการอนุมัติ ทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน
และคู่มือการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน เป็นต้น และ (๔)
รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินปี ๒๕๖๕ สิ้นสุด ณวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ โดยภาพรวมมีสินทรัพย์และรายได้รวมเพิ่มขึ้น
จากค่าธรรมเนียมในการรับสมัครสมาชิกและการส่งเงินออมของสมาชิก
มีหนี้สินรวมและค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น
จากค่าใช้จ่ายของบุคลากรและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ รายงานประจำปี ๒๕๖๕
ของกองทุนการออมแห่งชาติ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจแล้ว
อันเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||
2 | แผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 | ทส. | 14/03/2566 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน
ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกต่อไป
โดยร่างแผนจัดการระดับชาติฯ ฉบับที่ ๒
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแผนหลักของประเทศในการจัดการสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการจัดการสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานให้ครอบคลุมสาร
POPs (ชนิดเดิม ๑๒ รายการ
และชนิดใหม่ ๑๙ รายการ รวม ๓๑ รายการ) ประเภทสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (POPs
Pesticides) ประเภทสารเคมีอุตสาหกรรม (POPs Industrial
Chemicals) และประเภทสารเคมีที่ปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (Unintentional
Production POPs) (เช่น สารเคมีที่เกิดจากการเผาขยะ การเผาในที่โล่ง
กระบวนการผลิตโลหะ เป็นต้น)
ให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ และมีเป้าหมายที่จะลด
และ/หรือ เลิกการผลิต การใช้ และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน
เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนปฏิบัติการ (Action
Plans) ประกอบด้วย ๑๖ แผนกิจกรรม ที่จะดำเนินการในช่วงปี พ.ศ.
๒๕๖๖-๒๕๗๐ รวมทั้งได้กำหนดเป้าหมาย กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยงานดำเนินการ
ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณและแหล่งเงิน ซึ่งมีหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุน
จำนวน ๓๗ หน่วยงานร่วมดำเนินการ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ขอให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำเข้าสาระของแผนจัดการระดับชาติฯ ฉบับที่
๒ ในระบบ eMENSCR ต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |